ดาวอังคารมาแล้ว.. 6 ต.ค.ใกล้โลกที่สุดและ 14 ต.ค.อยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ เริ่มเวลา 18:00 – 22:00 น.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ( NARIT ) ชวนทุกคนมาส่องพื้นผิวและน้ำแข็งขั้วใต้สีขาวบนดาวเคราะห์แดง ดาวอังคารจะโคจรมาใกล้โลกทุกๆประมาณ 2 ปี 2 เดือน โดยในช่วงเดือนต.ค.63 นี้ ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารมากที่สุด เนื่องจากในวันที่ 6 ต.ค. 63 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุด ที่ระยะทางประมาณ 62 ล้านกิโลเมตร
จากนั้นจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ในวันที่ 14 ต.ค. 63 ที่ระยะห่างประมาณ 62.7 ล้านกิโลเมตร (ช่วงปกติห่างจากโลกเฉลี่ย 78,270,000 กิโลเมตร) พอเข้าช่วงตุลาคม เราจะสังเกตดาวอังคารได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันออก สุกสว่างสีส้มแดง บริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) เห็นด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน แต่หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป ความพิเศษในช่วงดาวอังคารใกล้โลก เราจะมีโอกาสได้เห็นรายละเอียดพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งของดาวอังคารได้อีกด้วย
6 และ 14 ต.ค. นี้ ชวนมาส่องกล้องดูดาวอังคารกับ NARIT! 6 และ 14 ตุลาคมนี้ ชวนมาส่องกล้องดู #ดาวอังคาร กับ NARIT!? วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2563 #ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด? วันพุธที่ 14 ตุลาคม 2563 #ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์? เริ่มเวลา 18:00 – 22:00 น. ? พบกันที่ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก 1) #เชียงใหม่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353 2) #นครราชสีมาหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา โทร. 086-4291489 3) #ฉะเชิงเทราหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา โทร. 038-5893954) #สงขลาหอดูดาว เฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา โทร. 095-1450411 และเครือข่ายดาราศาสตร์ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์ ในโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์อีก 460 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะนำกล้องโทรทรรศน์มาจัดกิจกรรมสังเกตการณ์แก่นักเรียนและประชาชนในชุมชนใกล้เคียงที่สนใจมาร่วมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในครั้งนี้ด้วย ตรวจสอบรายละเอียดได้ทาง http://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2020 พิเศษ! พบกับ Night At The Museum ทั้ง 4 แหล่งการเรียนรู้ เปิดให้เข้าชมนิทรรศการดาราศาสตร์และท้องฟ้าจำลองช่วงกลางคืน ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย (ยกเว้นการเข้าชมท้องฟ้าจำลอง มีค่าธรรมเนียม : เด็ก 30 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท) และชมถ่ายทอดสดดาวอังคารใกล้โลกผ่าน LIVE ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARITสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนล่วงหน้าได้เลยที่http://bit.ly/MarsCloseApproach2020ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย (ลงทะเบียนเข้าร่วมที่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รับสิทธิ์ลุ้น "เข็มกลัดดาวอังคาร" จำนวนจำกัด)#MarsCloseApproach2020#MarsOpposition2020
Posted by NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ on Sunday, October 4, 2020
นอกจากนั้นเดือนต.ค.ยังมีปรากฎการณ์ดาราศาตร์อีกหลายครั้ง เช่น 21 ต.ค. 63 ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ 22 ต.ค. 63 ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ 30 ต.ค. 63 ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ และ31 ต.ค. 63 MicroBlueMoon ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี และดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ในคืนฮาโลวีนและลอยกระทง