วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS'ยุบสภาฯ-ปฎิวัติ' แค่ 2 ทางออก ปิดทางม็อบราษฎรรุก 'ปฎิรูปสถาบัน'
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ยุบสภาฯ-ปฎิวัติ’ แค่ 2 ทางออก ปิดทางม็อบราษฎรรุก ‘ปฎิรูปสถาบัน’

คาดเดายากจริงๆ ไม่รู้ว่ามรสุมรุมเร้า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะจบลงอย่างไร หลัง “ม็อบร้อยชื่อ” ที่ปรับตัวเป็น “คณะราษฎร” พยายามกดดันให้ผู้นำรัฐบาลลาออกจากตำแหน่ง พ่วงรวมกับ 2 ข้อเรียกร้อง “ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ” และ “ปฎิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์”

ยิ่งการผลักดันเด็กและเยาวชน ให้เป็นแนวหน้าในการเคื่อนไหว ทั้งเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศ และการกำหนดอำนาจของสถาบันใหม่ สร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองได้มากเลยทีเดียว แม้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “สถาบัน” ยากที่จะเป็นเป็นไปได้ แต่ แกนนำกลุ่ม 3 นิ้ว ยังเดินหน้าที่จะผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรู้ดีว่า หน่วยงานด้านความมั่นคง ต้องระมัดระวังกับการดำเนินคดีมวลชนที่เคลื่อนไหว

cr / FB เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH

​แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้คุมอำนาจฝ่ายบริหารจะงอมืองอเท้า คอยตั้งรับเพียงอย่างเดียว ยิ่งพฤติกรรมผู้ร่วมชุมนุมใน “คณะราษฎร” แสดงท่าทีไม่เหมาะสม จนนำมาสู่การถูกแจ้งความดำเนินคดี ในประเด็นที่กระทบสถาบันเบื้องสูง หลายกรรม-หลายวาระ อาทิ ขัดขวางขบวนเสด็จ แล้วยังด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย ปราศรัยโจมตีใส่ร้าย “ในหลวง รัชกาลที่ 10” บริเวณหน้าสถานทูตเยอรมัน

การจัดเดินแฟชั่นเสียดสีสถาบันระหว่างทำกิจกรรมที่ถนนสีลม การข่มขู่งานพระราชทานปริญญาบัตรที่ธรรมศาสตร์ (มธ.) รวมถึงการพูดจาด่าทอสถาบันทุกวันทุกเวที ด้วยชุดความคิดเดียวกัน ทั้งถ้อยคำ ภาพถ่าย คลิปภาพ ลักษณะแบ่งงานกันทำ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน จนทำให้หลายคนเชื่อว่า ภารกิจครั้งนี้มี “มาสเตอร์มายด์” อยู่เบื้องหลัง เพราะระหว่างการสื่อสารเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน บรรดาผู้ร่วมกิจกรรม “ม็อบร้อยชื่อ” จะก้มดูโทรศัพท์มือถือทุกครั้ง

cr / FB เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH

ขณะที่การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อหาทางออกให้วิกฤติความขัดแย้งประเทศ เมื่อวันที่ 26-27 ต.ค.ที่ผ่านมา แม้ “นายกฯลุงตู่” จะส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า จะสนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อรับฟังข้อเรียกร้อง และข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤติการเมือง ซึ่งบางฝ่ายเรียกกันว่าคณะกรรมการ 7 ฝ่าย แต่ดูเหมือน…ไม่ได้รับการสนองตอบจากฝ่ายค้าน และบรรดานักเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้าม

ที่ต่างออกมาปฎิเสธที่จะร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤติของบ้านเมือง อ้างว่าเป็นการซื้อเวลา ไม่เป็นตามข้อเรียกร้องผู้ชุมนุม ซึ่งฝ่ายค้านคงประเมินว่า ถ้ารับเงื่อนไขงผู้มีอำนาจ ก็เท่ากับช่วยต่ออายุรัฐบาล ให้ได้ไปต่ออย่างน้อยอีก 1 ปี จึงยืนยันให้ทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อ



“นายประเสริฐ จันทรรวงทอง” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ เพื่อซื้อเวลา จึงเหลือแค่การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์เท่านั้นที่จะเป็นทางออกให้กับประเทศ

เช่นเดียวกับ “นายชัยธวัช ตุลาธน” ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคก้าวไกล (กก.) อ้างว่า การตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ชุดนี้ ต้องไม่ใช่การตั้งเพื่อยืดอายุและซื้อเวลาให้กับรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แต่ต้องเป็นไปเพื่อปลดล็อกความขัดแย้งในสังคม ขั้นตอนแรกจำเป็นต้องปลดล็อก พล.อ.ประยุทธ์ออกจากการเป็นนายกฯ 

ขณะที่รัฐบาลก็แก้พยายามผลักดัน ให้การตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังปัญหาทุกฝ่าย เป็นเรื่องของกระบวนการรัฐสภา ไม่ให้ถูกมองว่า ฝ่ายบริหารสามารถครอบงำ และแทรกแซงการทำงานของกระบวการสร้างความสมานฉันท์ได้

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

ด้าน “นายวิษณุ เครืองาม” รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์เพื่อหาทางออกร่วมกันผ่านกลไกรัฐสภาว่า ไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องของนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ส่วนการเสนอให้สถาบันพระปกเกล้าเข้ามาเป็นตัวกลาง และจะให้ตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าร่วมด้วยหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ อยู่ที่นายชวนกำหนดรายละเอียด ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องมาจากข้อเสนอแนะของ ส.ส.และ ส.ว. รวมถึงต้องเห็นพ้องกันทุกฝ่าย

“ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการโยนให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ดำเนินการ แต่เป็นอำนาจของประธานรัฐสภาดำเนินการ ซึ่งเคยทำมาแล้วสมัยที่นายชัย ชิดชอบ เป็นประธานรัฐสภา ซึ่งแต่งตั้งนายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการ” รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นมือกฎหมายออกมาแจกแจง หลังมีข่าวว่า ฝ่ายค้านไม่ต้องการเข้าร่วมคณะกรรมการสร้างความสมานฉันท์

​ส่วน “นายชวน หลีกภัย” ประธานรัฐสภาระบุว่า ได้ประสานไปยังเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าแล้ว เพื่อให้ไปศึกษาและกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการสมานฉันท์

​สำหรับข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อช่วยคลี่คลายความขัดแย้งของบ้านเมือง เกิดจากแนวความคิด “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้นำเสนอระหว่างการเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง เสนอว่า…

ให้มีการตั้งกรรมการขึ้นมา 1 ชุดชื่อว่า คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปและรัฐธรรมนูญ มอบให้ประธานรัฐสภา ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานระดับชาติ มีตัวแทนจาก 7 ฝ่าย เช่น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน วุฒิสมาชิก ผู้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ผู้เห็นต่าง และผู้ทรงคุณวุฒิ มีหน้าที่แสดวงหาทางออกที่เป็นรูปธรรมทางออกให้ประเทศ และอะไรที่เห็นพ้องให้รับข้อสรุปไปทำทันที



​ส่วน “นายวุฒิสาร ตันไชย” เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างคิดค้นโครงสร้างที่เหมาะสม โดยเฉพาะโครงสร้างกรรมการปรองดองในอดีต และข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากการอภิปรายหาทางออกร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 26-27 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่ามีอะไรบ้าง ก่อนจะรวบรวมเสนอต่อประธานรัฐสภาอย่างเร็วสุดในวันที่ 2 พ.ย.นี้  

​อย่างไรก็ตาม ท่าทีของแกนนำม็อบราษฎร นอกจากจะเรียกร้องให้ “พล.อ.ประยุทธ์” ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ พร้อมทั้งยังยืนยันที่ผลักดันให้เกิดกระบวนการปฎิรูปสถาบัน ให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกัน ซึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว มองว่ายากจะเป็นไปได้ และยังช่วยปลุกเร้ากลุ่มปกป้องสถาบัน ใส่เสื้อเหลืองออกมาเคลื่อนไหว เพื่อแสดงพลังให้สังคมเห็น ยังมีกลุ่มคนที่เห็นต่างกับม็อบชูสามนิ้ว

​ดังนั้นเมื่อแต่ละฝ่ายยังเดินหน้าจุดยืนตนเอง ไม่มีการลดราวาศอก เพราะมี “แบ็คผู้ทรงพลัง” ให้การสนันสนุนด้วยกันทั้งคู่ เลยทำให้คนติดการเมืองก็เริ่มทั้งคำถาม หรือประเทศไทยจะถึงทางตันอีกครั้ง เมื่อย้อนไปคิดถึงเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งต้องใช้ วิธีนอกระบบ มายุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันเอง

ภาพ / www.thaigov.go.th

​ยิ่งคำให้สัมภาษณ์หัวหน้ารัฐบาล เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ในประเด็นการปฎิวัติรัฐประหาร สวนทางกับอดีตที่ผ่านมา ซึ่ง “นายกฯลุงตู่” มักย้อนถามว่าสื่อว่า ใครจะเป็นคนทำ และเป็นเรื่องไร้สาระ โดย “พล.อ.ประยุทธ์” ตอบคำถามผู้สื่อข่าว กรณี “นายสนธิ ลิ้มทองกุล” อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เสนอให้ทำการปฏิวัติ แล้วตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า ต้องไปถามคนพูด เราไม่เคยคิดเรื่องเหล่านี้ ต้องระมัดระวังสถานการณ์ไม่ให้บานปลายไปเรื่อยๆ

“ผมไม่ได้หมายความว่าจะมีการปฏิวัติหรือไม่มี เพียงแต่ไม่มีใครอยากทำ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ก็ตอบไปแล้วว่า…ไม่ทำปฏิวัติ

นั่นหมายความว่า หัวหน้ารัฐบาลและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเคยเป็นผู้นำการปฎิวัติเมื่อปี 57 และเคยมีส่วนร่วมในการล้มล้างรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตรเมื่อปี 49 ก็ยังไม่สามารถรับประกันได้ ว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ด้วยวิธีการนอกระบบ

ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ “บิ๊กบี้” พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. จะให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก (นขต.ทบ.) วาระพิเศษระดับผู้บัญชาการกองพล หรือเทียบเท่า ครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 ต.ค.

หลังผู้สื่อข่าวตั้งคำถามว่า ในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. 3 ปี จะให้ความมั่นใจหรือให้สัญญากับประชาชน รัฐบาลหรือนักลงทุนอย่างไร ว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นว่า คำถามนี้…ถามมาทุก ผบ.ทบ. และทุกคนก็ตอบไปหมดแล้ว คือ โอกาสของการทำเรื่องพวกนี้ ทุกอย่างเป็นศูนย์หมด บนพื้นฐานที่อย่าให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสร้างเงื่อนไข ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรง และกระทบต่อความเดือดร้อน

ตนถือว่า “พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์” ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ได้ตอบไปแล้วภายหลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา อยากให้ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ด้วยการขจัดเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไปจากประเทศไทยและติดลบ เพราะศูนย์ก็ไม่พอ แต่การจะติดลบได้ทุกคนต้องช่วยกัน

ขณะที่บุคคลที่ถูกจับตามองว่า คอยเดินเกมให้ผู้มีอำนาจรัฐ อย่าง “นายศรีสุวรรณ จรรยา” เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า การที่นักการเมืองรอไม่ได้และทำให้เกิดการขยายความขัดแย้ง ดันมวลชนของตัวเองออกมาทั้งฝ่ายเยาวชน และฝ่ายปกป้องสถาบันฯ ซึ่งจะเป็นการปูทางให้นำไปสู่อำนาจพิเศษ

คือ การออกมาทำรัฐประหารของทหารได้ง่ายขึ้น เพราะทุกครั้งที่มีการทำรัฐประหารที่ผ่านมา จะสังเกตได้ว่ามีเหตุผล 3 ข้อ คือ

1.เกิดความขัดแย้งในสังคมจนระงับไม่ได้

2.สถาบันฯถูกก้าวล่วง จาบจ้วง

3.สภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ เป็นปัญหาของสังคม

ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญของการทำรัฐประหารในตลอดเวลาที่ผ่านมา หลายสิบปีก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้น ยิ่งเราทำอย่างนี้โดยผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายมาปะทะกัน โอกาสที่จะเชื้อเชิญให้อำนาจพิเศษเข้ามาได้ง่ายขึ้น

cr / FB อ.ชนม์ทรรศน์ ฤทัยผ่อง

ส่วน “นายชนม์ทรรศน์ ฤทัยผ่อง” (ซินแส่เข่ง) ระบุว่า หากปล่อยให้สถานการณ์ความขัดแย้งลุกลามไปจนถึงเดือนธ.ค. รัฐบาลจะเดือดร้อน เพราะทุกคนทั้งรัฐบาล กลุ่มประท้วงปลดแอก ดวงตกม้าตายหมู่พร้อมกันถึงเวลานั้นต้องชี้ชะตาแล้วว่า ใครจะอยูหรือใครจะไป

ทั้งฝ่ายกลุ่มก้าวหน้า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, นายปิยบุตร แสงกนกุล  และ “ช่อ-น.ส.พรรณิการ์ วานิช” กลุ่มปลดแอก รวมถึง คณะราษฎร หรือจะเป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้ขาดชัดเจน และหากล้มใครไม่ได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือรัฐประหารแน่นอน หนีไม่พ้น

​หรืออาจเป็น ยุทธศาสตร์ผู้คุมอำนาจรัฐ ต้องการปล่อยข่าว “รัฐประหาร” เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าอยู่กระบวนการเจรจา ผ่านเวทีคณะกรรมการสร้างความสมานฉันท์ฯ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม ดูเหมือนข้อเสนอให้ นายกฯลุงตู่ลาออก จะถูกปัดอย่างสิ้นเชิง เอาเป็นว่า…หนทางการยึดอำนาจ มีโอกาสมากกว่าด้วยซ้ำ

​เพราะ “ผู้มากบารมี” คิดว่า ก็ในเมื่อพวกมันกดดันให้ “พล.อ.ประยุทธ์” ลาออกได้ ก้าวต่อไป คงบีบให้…..

………………………………..

​​​​​​​​​​​คอลัมน์ : ล้วง-ลับ-ลึก

โดย “แมวสีขาว”



- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img