วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSคณะราษฎร 2475 ถึง วีรชน 14 ตุลา 16
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คณะราษฎร 2475 ถึง วีรชน 14 ตุลา 16

กลุ่มคณะราษฎร นัดชุมนุมถือฤกษ์วันที่ 14 ตุลาฯ จัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมประกาศจะ ชูสามนิ้วหากขบวนเสด็จฯ เคลื่อนผ่าน

ย้อนเวลากลับไปก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กลุ่มนักศึกษาและปัญญาชนปลุกกระแสชาตินิยม โดยต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเมื่อปี 2515 จากนั้นจึงหันไปเรียกร้องรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งและนำพาประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตยซึ่งสูญสิ้นไปตั้งแต่การรัฐประหาร 2490

คนไทยทนอยู่กับเผด็จการมานาน ประชาชนถูกกดขี่และเศรษฐกิจก็เสื่อมทราม ประชาชนจึงเห็นด้วยและช่วยถือหางข้างนักศึกษา

กระทั่งเกิด เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ทหารตกที่ทุ่งใหญ่นเรศวร เนื่องจากบรรทุกซากสัตว์ป่าที่ล่าได้ จนเครื่องรับน้ำหนักไม่ไหว จึงตกกระแทกพื้นที่นครปฐม กลายเป็นข่าวใหญ่

ทำให้เงื่อนไขการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเคลื่อนเข้าสู่จุดสุกงอม เพียงพอต่อการลุกฮือเพื่อ ขับไล่รัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาส

นักศึกษาพร้อมประชาชนนับแสน ในมือประคองพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงและพระราชินี เดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จากธรรมศาสตร์ไปยังราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้า แต่บางส่วนเคลื่อนไปยังถนนพระราม 5 หน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ทิศตะวันตก

อันที่จริงรัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาส ยอมร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเรียกร้องแล้ว ผู้นำนักศึกษาจึงประกาศให้มวลชนสลายตัว ปรากฏว่า มวลชนที่อยู่บนถนนพระราม 5 ถูกด่านตำรวจบริเวณแยกวัดเบญจมบพิตรไม่ยอมให้ผ่านและเกิดข่าวลือว่าผู้นำนักศึกษาถูกฆ่าตาย จึงเกิดการปะทะลุกลามกลายเป็นจลาจลทั่วกรุงเทพฯ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงรับสั่งให้เปิดประตูวังให้นักศึกษา 2,000 กว่าคนเข้ามาหลบภัย และในช่วงค่ำวันเดียวกันได้พระราชทานพระราชดำรัสผ่านโทรทัศน์ขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ เหตุการณ์จึงคลี่คลาย ส่วนถนอม-ประภาส ผู้นำรัฐบาลเผด็จการได้ประกาศลาออกและหนีไปอยู่ต่างประเทศ

เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 มีเท่านี้ ไม่มีใครไปชู 3 นิ้ว เรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่สำคัญ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นหัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ไม่เคยคิดล้มสถาบันฯ ในทางตรงกันข้ามยังเจรจาต่อรองกับสมาชิกคณะราษฎรสายทหารบางคน ให้เลิกล้มความคิดเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ

ทั้งคณะราษฎร 2475 และวีรชน 14 ตุลา 16 มีความเห็นที่ตรงกันก็คือ การยกสถาบันฯ ขึ้นอยู่เหนือการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรประโยชน์ให้กับทุกชนชั้น จึงมีทั้งการแย่งชิง ต่อรองและขัดแย้ง ตลอดเวลา  

ต่างจาก คณะราษฎร 2563 ที่พยายามดึงสถาบันฯ ให้เข้ามาเกี่ยวกับการเมือง ด้วยการสร้างเงื่อนไขเพื่อยั่วให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมทนไม่ได้ โดยไม่คำนึงถึง “ระบบนิเวศน์ทางการเมือง” ซึ่งเกิดจากการสั่งสมความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ จนลงตัวและอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

หากใครทะลึ่งไปเปลี่ยนกลไกโดยไม่คิดให้รอบคอบ อาจทำให้ระบบนิเวศน์ทางการเมืองล่มสลาย เกิดความขัดแย้งไม่รู้จบ.

……….

#ดินสอโดม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img