วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“ปัญหาภัยแล้ง” มหันตภัยลูกใหม่!!! รับมือไม่ทัน“เศรษฐกิจไทย”จบเห่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปัญหาภัยแล้ง” มหันตภัยลูกใหม่!!! รับมือไม่ทัน“เศรษฐกิจไทย”จบเห่

ปัญหาภัยแล้ง!! อันสืบเนื่องมาจากปรากฎการณ์ “เอลนีโญ” กำลังกลายเป็นพายุลูกใหม่ที่ประชาชนคนไทย กำลังกังวลและอาจกลายเป็นมหันตภัยร้ายที่ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย

ทั้งๆ ที่สารพัดปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ยังไม่มีวี่แววอ่อนตัว โดยเฉพาะ…การส่งออก ที่หลายฝ่ายต่างคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า อาจไม่ขยายตัว แถมติดลบอย่างน้อยอีก 1% ด้วยซ้ำไป

แม้เวลานี้ ยังดีที่ “โชค” ยังเข้าข้าง ที่สถานการณ์ การท่องเที่ยวของไทย เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นบ้าง แต่อย่าลืมว่า… “ความไม่แน่นอน” ในโลกใบนี้ยังมีสูง แถมปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยยังไม่เรียบร้อย และยังไม่รู้ว่าจะไปทางไหน?

หากเศรษฐกิจไทยถูกขย่มด้วยปัญหาภัยแล้งเข้าไปอีก ยิ่งซ้ำเติมให้ประชาชนคนไทย “เดือดร้อน” เพิ่มหนักขึ้นไปอีก

ด้วยเหตุนี้…บรรดาภาคเอกชน จึงออกมาเรียกร้องหนักมากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบและให้ยั่งยืน

เพราะ…เรื่องของภัยแล้ง รวมถึงภัยน้ำท่วม กลายเป็นความเสี่ยงหลักที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าเสียโอกาสของประเทศ มีการคาดการณ์กันว่าปั ญหาภัยแล้งในระลอกนี้ อาจทำให้เศรษฐกิจเสียหายมากถึง 36,000 ล้านบาท

บรรดากูรู ประเมินกันว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญ มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้ แถมลากยาวไปจนถึงเดือนก.พ. ปีหน้า ที่สำคัญ จะยาวนานต่อเนื่องไปอีกหลายปี และถือเป็นครั้งแรกที่ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นแบบยาวนานติดต่อกันหลายปี

ต่อให้ในช่วงนี้ อาจเห็น “ฝน” กันบ้าง เพราะกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝนกันแล้วก็ตาม แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า อาจเกิด “ฝนทิ้งช่วง” ในช่วงอีกไม่นานจากนี้นัก ก่อนเปลี่ยนเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ

รศ.เสรี ศุภราทิตย์

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาสะกิดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า อย่าชะล่าใจ!! ว่าน้ำในเขื่อน 4 เขื่อนหลักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ยังมีอยู่ 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แล้วก็คาดหวังว่า ฝนจะตกแล้วทำให้มีน้ำเพียงพอ เพราะภาวะแล้วจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายปี

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือ “กกร.” ได้ทำหนังสือถึง “บิ๊กตู่” นายกรัฐมนตรี ณ เวลานี้ เพื่อให้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำแผนรับมือระยะเร่งด่วน 3 ปีและระยะยาว

เพราะในเดือนก.ค.นี้ หากเกิดเอลนีโญ่ ตามที่บรรดากูรูแจ้งเตือนไว้ ย่อมส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในภาคตะวันออก ที่เป็นแหล่งสำคัญในเรื่องของอุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่อาจลดลงจนส่งผลกระทบต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร หรือภาคการท่องเที่ยว

ซ้ำร้ายกว่านั้น!! หากทุกอย่างรับมือไม่ทัน ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ราคาอาหาร ราคาสินค้าเกษตร ก็ต้องปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

นั่นหมายความว่า…เมื่อราคาสินค้าและราคาอาหารแพงขึ้น ย่อมมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อเข้าให้อีก ทั้งที่ปัญหาเงินเฟ้อสูงราคาคาพลังงานแพง เพิ่งเริ่มทะยอยความร้อนแรงลดลงมาไม่เท่าไหร่นี้เอง

ในแง่ของภาคเอกชน ใช่ว่า…จะร้องแรกแหกกระเฌอ แล้วขอให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาอุ้มชูแต่เพียงอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือดูแลตัวเองไปแล้ว

โดยเฉพาะการใช้น้ำอย่างประมีสิทธิภาพ ผ่านโครงการรีไซเคิลน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งภาคอุตสาหกรรม การอุปโภค บริโภคและเกษตรกรรม รวมถึงการสนับสนุนภาคเกษตรอัจฉริยะที่เน้นนำนวัตกรรมมาดูแลระบบน้ำ เพื่อการประหยัดมากขึ้น

แต่!! ในหลายเรื่อง…ก็ต้องอาศัยภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อน อย่างการเตรียมพร้อมในระบบสูบและผันน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ มาสะสมไว้เป็นน้ำต้นทุนให้มากขึ้น รวมไปถึงการทบทวนโครงการภายใต้แผนบริหารจัดการน้ำระยะยาว 20 ปี เพื่อเร่งรัดการรับมือภัยแล้งให้เร็วขึ้นในช่วง 1-3 ปีนี้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แม้ที่ผ่านมา “บิ๊กตู่” จะออกมาตอกย้ำ 10 มาตรการ เพื่อดูแลปัญหาภัยแล้ง ทั้งเร่งกักเก็บน้ำ เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งสำรองน้ำ การเร่งเติมน้ำ กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน เป็นต้น

ทั้งหลายทั้งปวง จะแน่ใจได้อย่างไร? ว่าจะ “เอาอยู่” เพราะอย่าลืมว่าในช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงสุญญากาศ การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในช่วง “เกียร์ว่าง” ยิ่งทำให้การวางแผน การบริหารจัดการ การบูรณาการร่วมกันทำได้ยากไปอีก

ด้วยเหตุนี้… “ความเสี่ยง” จากภัยแล้ง จึงเป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้!!

……………………..

คอลัมน์ : EC Focus by Virgo

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img