วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSเฮแน่! ดีเซลไม่ถึง 30 บาท หวังลด“ความทุกข์”คนไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เฮแน่! ดีเซลไม่ถึง 30 บาท หวังลด“ความทุกข์”คนไทย

เคราะห์ซ้ำ กรรมชัด!! กันไม่หยุดหย่อน กับประชาชนคนไทยในเวลานี้ ที่ไหนต้องเผชิญไวรัสร้ายโควิด-19 ไหนต้องเผชิญกับภาวะข้าวยากหมากแพง ไหนจะตกงาน ไหนต้องมาพบเจอกับน้ำท่วม ไหนยังต้องมาเผชิญกับราคา “น้ำมันแพง” เข้าให้อีก


เรียกได้ว่า…เวลานี้คนไทยทั้งประเทศต้องจมอยู่กับ “ความทุกข์” เพราะสารพัดปัจจัยที่เกิดขึ้นเวลานี้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่กันอย่างหนักหน่วง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของราคาน้ำมันแพง แม้ว่าจะเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยเพราะ…ต้องขึ้นอยู่กับ “ตลาดโลก” และกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือ “กลุ่มโอเปก” ที่เป็นหลักในการกำหนดราคาน้ำมัน
แล้วก็เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ที่ช่วงปลายปีตรงกับฤดูหนาว ตรงกับช่วงไฮซีซั่น ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลจะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การจำกัดปริมาณการผลิตจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันยังคงมีอยู่ เพื่อพยุงไม่ให้ราคาตกต่ำ

โรงกลั่นน้้ำมัน / cr : @ERSFellowship

ไม่เพียงเท่านี้!! ยังมีเรื่องของการปิดซ่อมบำรุง แหล่งผลิตพลังงานเข้าให้อีก จึงทำให้ปริมาณน้ำมันที่ออกมาสู่ตลาดโลกไม่เพียงพอกับความต้องการใช้

ดังนั้น… จึงขึ้นอยู่กับว่าประเทศผู้ใช้น้ำมันจะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไร? เพื่อให้ประชาชนของตัวเองแบกรับภาระจากภาวะน้ำมันแพง น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่ใช่ว่าจะไม่เคยพบ เคยเจอ กับปัญหาราคาน้ำมันแพงนี้มาก่อนซะเมื่อไหร่

หากจำกันได้ นโยบาย ดีเซลไม่เกินราคาลิตรละ 30 บาท จึงกลายเป็นนโยบายหลักของประเทศ เพื่อดูแลไม่ให้คนไทยเดือดร้อนแบบแสนสาหัส เพราะหากปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวเมื่อไหร่ นั่น!!ก็หมายความว่า “ฐานเสียง” ก็ต้องลดน้อยถอยลงไปเช่นกัน

พลังงาน /cr ; สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

การใช้กลไกจาก “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” เข้ามาดูแลระดับราคาขายปลีกน้ำมัน กลายเป็น “กลไกหลัก” ของทุกรัฐบาลเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องแบกรับภาระมากเกินไป

สถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ วันที่ 26 ก.ย. 64 มีสินทรัพย์รวม 46,496 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุนฯ รวม 35,055 ล้านบาท มีเงินเหลือสุทธิ 11,441 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 28,872 ล้านบาท และบัญชีก๊าซแอลพีจี ติดลบ 17,431 ล้านบาท

หากดูฐานะของกองทุนน้ำมันฯ ที่เหลืออยู่แล้ว ถือว่า “ปริ่มน้ำ” ไม่น้อยทีเดียว เพราะไม่ใช่เพียงแค่ราคาน้ำมันดีเซล เท่านั้นที่ต้องดูแล ยังมีเรื่องของก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี  อีกเดือนละ 1,400 ล้านบาท และยังมีเรื่องของเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่ต้องดูแลด้วยเช่นกัน

นั่น!!จึงหนีไม่พ้นที่กระทรวงพลังงานเอง ต้องเปิดทางขอกู้เงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท มาเยียวยาแอลพีจีเพิ่มเติมไว้ก่อน ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าไร อย่างไร ก็ต้องอิงราคาในตลาดโลกด้วยเช่นกัน

เมื่อมาดูโครงสร้างราคาน้ำมันในไทยแล้ว อาจทำให้ไม่สามารถนำราคาน้ำมันในบ้านเรา ไปเทียบกับที่อื่นได้ เหมือนอย่างที่มีการหยิบฉวยโอกาสนี้ขึ้นมาเป็นวาทะทางการเมือง

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. ระบุไว้ชัดเจนว่า โครงสร้างราคาน้ำมันในไทย มีทั้งต้นทุนเนื้อน้ำมันประมาณ 40-60% ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมกันแล้ว30-40%
นอกจากนี้ยังมีเงินส่งกองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์พลังงานอีก 5-20% และยังมีค่าการตลาดอีก 10-18%  ซึ่งโครงสร้างราคานี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกลไก ที่สามารถปรับลดปรับเพิ่ม เพื่อดูแลราคาน้ำมันไม่ให้แพงจนประชาชนรับไม่ได้

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก…ที่บรรดาภาคเอกชนต่างจะออกมาเรียกร้องให้รัฐเร่งดูแลราคาน้ำมันไม่ให้แพงไปกว่านี้ เพราะสุดท้ายแล้วก็จะสะท้อนกลับไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายกำลังดำเนินการกันอยู่

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานเอง ได้ออกมาประกาศนโยบายไว้ชัดเจนแล้วว่า จะดูแลราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท เริ่มกันตั้งแต่วันที่ 11ต.ค.นี้

เอาเป็นว่า ณ เวลานี้ ประชาชนคนไทย ก็ต้องเกาะติดสถานการณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงแล้วเดินออกจาก “ความทุกข์” ให้ได้ก็เท่านั้น!!

………………………..

คอลัมน์ : EC Focus by Virgo

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img