วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSกระทรวงพลังงานพร้อมเข้าพื้นที่ เร่ง“กต.”เจรจา OCA ไทย-กัมพูชา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กระทรวงพลังงานพร้อมเข้าพื้นที่ เร่ง“กต.”เจรจา OCA ไทย-กัมพูชา

สถานการณ์ราคาพลังงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมัน ราคาก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ขณะที่ซัพพลายพลังงานในตลาดไม่เพียงพอ หลังจากได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ในขณะที่ประเทศไทยก็เริ่มมีการพูดถึงทางออกในการแก้ไขปัญหาระยะยาวรองรับวิกฤตพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการเร่งเจรจาพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area-OCA) เพื่อหาแนวทางร่วมกันพัฒนา และใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา

อย่างไรก็ตาม การเจรจาพื้นที่ทับซ้อน OCA นั้นเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงการต่างประเทศ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ประจำปี พ.ศ.2565 (ค.ศ.2022) ที่จะจัดขึ้นอย่างเป็นทางการช่วงวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ในประเทศไทย จะไม่มีวาระการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน OCA ถ้าจะมีการเจรจาก็จะเป็นการเจรจาแบบทวิภาคีกันทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งก็ต้องถามกระทรวงการต่างประเทศ เพราะบทบาทนำในการเจรจาเรื่อง OCA ไทย-กัมพูชานั้น อยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ ไม่ใช่กระทรวงพลังงาน

ในส่วนของกระทรวงพลังงานนั้น ได้เตรียมข้อมูลความพร้อมไว้อยู่แล้ว ทั้งด้านเทคนิค เรื่องการสำรวจ กระทรวงพลังงานมีคณะทำงานแล้ว ส่วนเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศก็ต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาเจรจา ซึ่งกระทรวงต่างประเทศต้องเร่งเจรจาเรื่องเขตแดนให้จบ เมื่อได้ข้อสรุปกระทรวงพลังงานก็สามารถเดินหน้าทำงานได้ทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านั้นรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา เคยได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจในเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 โดยมีสาระสำคัญ คือให้ทั้ง 2 ฝ่ายเร่งเจรจาเพื่อบรรลุความตกลงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อน โดยแบ่งพื้นที่ เป็น 2 ส่วน คือ

1) พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป ให้แบ่งเขตทางทะเลอย่างชัดเจนตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับ

2)พื้นที่ทับซ้อนใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา ให้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันโดยให้ดำเนินการทั้ง 2 ส่วนไปพร้อมกันโดยไม่อาจแบ่งแยกได้และให้ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย -กัมพูชา เป็นกรรมการเจรจาเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์

ทั้งนี้หากมีการเจรจากันใหม่ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่ระหว่างรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งหากเจรจาตกลงกันได้ภายในรัฐบาลนี้อีก 10 ปี จึงจะนำเชื้องเพลิงก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันจากพื้นที่ทับซ้อน OCA ขึ้นมาใช้ได้

…………

รายงานพิเศษ : ไรวินทร์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img