วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSเครือข่ายโรงไฟฟ้าแบบกระจาย Virtual Power Plant Network : VPP
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เครือข่ายโรงไฟฟ้าแบบกระจาย Virtual Power Plant Network : VPP

เครือข่ายของหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดกลาง และขนาดเล็กแบบกระจาย รูปแบบใหม่ธุรกิจพลังงาน สู่ชุมชน และท้องถิ่น

‘ประเด็นการผูกขาดระบบสายส่ง กำลังจะกลายเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงกันจากนี้ไป เพราะมันอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมกระจายการควบคุม การกระจายการปฏิบัติ และการวางเครือข่าย VPP โดยบริษัทเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแม้แต่นิติบุคคลใด ๆ เช่นส่วนราชการขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ดังนั้นการผูกขาดรวมศูนย์ระบบสายส่ง อาจต้องถูกปลดล็อคไปในที่สุด .. ’

เทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีราคาต้นทุนลดลง ไม่ว่าจะเป็น โซล่าเซลล์ ระบบจัดเก็บพลังงาน การจัดการดิจิตอล ทำให้เกิดรูปแบบการผลิตไฟฟ้าแบบใหม่

อย่างไรก็ตาม รูปแบบธุรกิจแบบใหม่นี้ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากรูปแบบในปัจจุบัน ทำให้เกิดความท้าทาย และอาจจำเป็นต้องมีการปรับตัวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ และเอกชน และเพราะว่ามันยังมีทางเลือกอื่นอีกมากมายที่ยังไม่ได้ทำในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า ผ่าน Micro Transmission Network ซึ่งกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ของไทย และโครงสร้างภาครัฐ มิได้เอื้อให้ดำเนินการ หรือมิได้รองรับการพัฒนาไว้ .. การเปิดเสรีให้เอกชนทำธุรกิจพลังงานร่วมกับภาครัฐ มุ่งกระจายสู่ชุมชน เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน จึงมิได้เป็นเรื่องง่าย

โรงไฟฟ้าเสมือนจริง (VPP) .. คือ หน่วยผลิตพลังงานไฟฟ้าหลาย ๆ หน่วย หรือโรงไฟฟ้าแบบกระจายบนคลาวด์ ที่รวบรวมความสามารถของแหล่งทรัพยากรพลังงานแบบกระจาย ที่มีรูปแบบแตกต่างกัน (DER : Distributed Energy Resources) ไว้ด้วยกันเป็นเครือข่าย และทำตัวเป็นเสมือนโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่โรงงานเดียว และหมายถึงการบริหารจัดการ การผลิต และจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยระบบอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันบนกริด ระบบสายส่ง หรือระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าจาก ‘แหล่งทรัพยากรพลังงานแบบกระจาย : DER’

ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า และการให้บริการแก่ผู้บริโภค ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนเป็นระบบเครือข่ายอัจฉริยะที่ใช้เป็นเครื่องมือการให้บริการ การซื้อขายพลังงานในตลาดพลังงานไฟฟ้า ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าเสมือนจริง มีอยู่มากมายในสหรัฐฯ ยุโรป และออสเตรเลีย

เครือข่ายแหล่งพลังงานแบบกระจาย ระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant Network เป็น เครือข่ายของหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดกลาง และขนาดเล็กแบบกระจายอำนาจ เช่น ฟาร์มกังหันลม พลังงานแสงอาทิตย์ และหน่วยพลังงานความร้อน และพลังงานร่วม (CHP: Combined Heat & Power Plants) รวมถึงผู้ใช้พลังงาน และระบบจัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นอ่อนตัว .. แต่ละหน่วยที่เชื่อมต่อข้อมูลสารสนเทศระหว่างกันไว้ ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการจะถูกส่งผ่านระบบควบคุมกลางของระบบโรงไฟฟ้าเสมือนจริง แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยผลิตไฟฟ้าแต่ละหน่วย ยังคงเป็นอิสระในการดำเนินงาน และความเป็นเจ้าของ

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของ โรงไฟฟ้าเสมือนจริง คือเพื่อลดภาระบนกริด Grid หรือระบบสายส่งหลัก โดยการกระจายแหล่งผลิตพลังงานที่สร้างขึ้น โดยแต่ละหน่วยผลิตย่อย ๆ มีการควบคุมบริหารจัดการอย่างชาญฉลาดในช่วงที่มีภาระงานสูงสุด บนระบบสายส่งย่อย ๆ Micro Grid หลายระบบเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้ารวม และการใช้พลังงานของหน่วยเครือข่ายใน Virtual Power Plant จะถูกแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างกันอย่างไม่มีรอยต่อ

เครือข่าย Virtual Power Plant ทำงานอย่างไร

หน่วยผลิตไฟฟ้า และหน่วยจัดเก็บพลังงานที่เข้าร่วมในระบบเครือข่าย Virtual Power Plant (VPP) .. จะเชื่อมต่อข้อมูลหน่วยผลิตย่อย ๆ กับระบบควบคุมส่วนกลางของ VPP ผ่านระบบควบคุมระยะไกล ด้วยวิธีนี้สินทรัพย์ทั้งหมด สามารถตรวจสอบประสานงาน และควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบควบคุมส่วนกลาง คำสั่งควบคุม และข้อมูล จะถูกส่งผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลที่ปลอดภัยซึ่งได้รับการป้องกันจากการรับส่งข้อมูลอื่น ๆ เนื่องจากโปรโตคอลการเข้ารหัส

นอกเหนือจากการดำเนินงานทุกสินทรัพย์ในระบบโรงไฟฟ้าเสมือนจริงตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมแล้ว ระบบควบคุมส่วนกลางยังใช้อัลกอริทึมพิเศษ เพื่อปรับสมดุลคำสั่งสำรองจากผู้ควบคุมระบบสายส่ง เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าทั่วไปที่มีขนาดใหญ่กว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบสองทิศทางระหว่างโรงงานแต่ละแห่ง และ VPP ไม่เพียงแต่ทำให้การบริหารจัดการนั้นเป็นไปได้แล้ว ระบบยังให้ข้อมูลตามเวลาจริงเกี่ยวกับการใช้กำลังการผลิตของหน่วยในเครือข่าย ตัวอย่างเช่น การป้อนเข้าของพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนข้อมูลการใช้พลังงาน และระดับการเก็บค่าไฟฟ้า สามารถใช้เพื่อสร้างการคาดการณ์ที่แม่นยำสำหรับการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า และควบคุมการตั้งเวลาของโรงไฟฟ้าที่กระจายอยู่ในพื้นที่ได้ทั้งหมด

วัตถุประสงค์ของเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง คืออะไร?

วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่าย VPP ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของตลาดที่ดำเนินการ โดยทั่วไปจุดมุ่งหมายคือ การเป็นเครือข่ายทรัพยากรแหล่งพลังงานทางเลือกแบบกระจาย (มักหมายถึง แหล่งพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไฟฟ้าพลังน้ำและหน่วยผลิตพลังงานชีวมวลขนาดเล็ก) รวมถึง ผู้ใช้พลังงานที่ยืดหยุ่น (เรียกอีกอย่างว่า การตอบสนองความต้องการ หรือการจัดการด้านอุปสงค์) และ ระบบจัดเก็บ ควบคุม ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ คาดการณ์เพิ่มประสิทธิภาพ และจัดส่งข้อมูลการบริโภคของพวกเขาในเครือข่าย

การรวมตัวกันใน VPP ทำให้สามารถคาดการณ์ปรับแต่ง และซื้อขายสินทรัพย์ได้เหมือนโรงไฟฟ้าเดียว ด้วยวิธีนี้ความผันผวนในกำลังผลิตของหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแต่ละหน่วย สามารถปรับสมดุลได้โดยการเพิ่มขึ้น และลดการผลิตไฟฟ้า และการทำธุรกิจซื้อขายพลังงานที่ควบคุมได้ การรวมแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ากับตลาดที่มีอยู่ ถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญของระบบ

โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าขนาดเล็กแต่ละแห่ง จะไม่สามารถให้บริการ ปรับสมดุล หรือให้ความยืดหยุ่นในการแลกเปลี่ยนพลังงานได้ เนื่องจากโปรไฟล์ และระบบรุ่นของพวกเขาแตกต่างกันมากเกินไป หรือไม่ตรงตามขนาดการเสนอราคาขั้นต่ำของตลาด นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับความพร้อมใช้งาน และความน่าเชื่อถือของความยืดหยุ่นที่นำเสนอในตลาด ดังนั้น ด้วยการรวมกันของหลายหน่วยผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นเครือข่ายของระบบ VPP จึงสามารถทำให้การให้บริการ เป็นไปได้ ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในตลาดเดียวกันกับโรงไฟฟ้าส่วนกลางขนาดใหญ่ หรือผู้บริโภคในภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน

บทบาทของเครือข่ายแหล่งพลังงานแบบกระจาย ระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง VPP : Virtual Power Plants ในระบบสายส่งแบบกระจาย The Decentralized Power Grid

VPP คือเครือข่ายของหน่วยผลิตไฟฟ้าแบบกระจายอำนาจ เช่น ฟาร์มกังหันลม พลังงานแสงอาทิตย์ และหน่วยความร้อนและพลังงานร่วม (CHP) ตลอดจนผู้ใช้พลังงานที่ยืดหยุ่น และระบบจัดเก็บข้อมูล หน่วยที่เชื่อมต่อระหว่างกันจะถูกส่งผ่านห้องควบคุมกลางของ VPP แต่ยังคงเป็นอิสระในการทำงาน และความเป็นเจ้าของ วัตถุประสงค์ของ VPP คือ เพื่อลดภาระบนกริด และ/หรือ เสริมศักยภาพบนกริด โดยการกระจายแหล่งผลิตพลังงานทางเลือกในชุมชน และท้องถิ่น บนระบบเครือข่ายอย่างชาญฉลาด

นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้ารวม และการใช้พลังงานของหน่วยเครือข่ายใน VPP สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล แลกเปลี่ยนพลังงาน ทำให้การวางแผนทางธุรกิจในการซื้อขายพลังงานมีความเป็นไปได้ คุ้มค่า และสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชน ท้องถิ่น ได้เป็นอย่างดีทั้งในแง่ของเศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งความมั่นคงทางพลังงาน

การปรากฎตัว และการผงาดขึ้นของระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plants ..

ไม่มีข้อไขหนึ่งเดียวสำหรับความท้าทายนี้ มีทางเลือกมากมายความจุของโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าจำเป็นต้องเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เครือข่ายแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมในท้องถิ่น และภูมิภาค จำเป็นต้องมีการส่งเสริม การผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย และการใช้ไฟฟ้าในท้องถิ่น ชุมชน ผ่านระบบโรงไฟฟ้าเสมือนขนาดกลางและขนาดเล็ก และระบบจัดเก็บพลังงานย่อย ๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ สามารถสร้างความสมดุลระหว่างการผลิต และการบริโภคที่หมุนเวียนได้ รวมทั้ง ระบบประมวลผลส่วนกลางปัจจุบันนั้น จะสามารถคาดการณ์ คำนวณ ควบคุมพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด ผู้ผลิต และผู้บริโภค ได้อย่างเที่ยงตรง เชื่อถือได้

การเพิ่ม และขยายแหล่งพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ในระบบสายส่งย่อย Micro Grid เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ..

การใช้ VPP ยังสามารถเพิ่มหน่วยผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนหมุนหลายๆ แหล่ง ภายในไมโครกริด Micro Grid ในขณะที่การบริหารจัดการจะสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน และลดการปล่อยมลพิษ โดยมุ่งเน้นที่ความเสถียรของกริด ตัวอย่างเช่น ระบบ VPP บนเกาะอารูบาแคริบเบียน เกาะนี้มีประชากร 103,000 คน และมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เฟื่องฟูถึง 1.5 ล้านคนต่อปี WEB Aruba เป็นสาธารณูปโภคที่รับผิดชอบในบริหารจัดการเกาะด้วยพลังงานหมุนเวียนที่เชื่อถือได้ กับน้ำดื่มที่สะอาดสำหรับชุมชนทั้งหมด

อีกตัวอย่างเช่น หากโรงไฟฟ้าชีวมวล 200 โรง แต่ละแห่งที่มีกำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ กระจายอยู่ในท้องถิ่น เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย VPP นั้น จะสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าทำงานได้เสมือนเช่นมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ขนาด 4-GW .. ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ .. และมันยังฉลาดกว่ามากด้วย ความสามารถในการควบคุมกริดในระดับท้องถิ่น และการรวมบริหารจัดการสินทรัพย์รุ่นที่แตกต่างกันหลายร้อยรายการของระบบ จะเปิดโอกาสใหม่ ๆ และอำนวยความสะดวกในการย้ายไปยังสมาร์ทกริด ที่สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้า

ความต้องการลดคาร์บอนของสังคม บนความต้องการที่ผันผวนตามเวลาจริง ด้วยความเชื่อถือระดับสูง และหากผนวกระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage System ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ จนถึงขนาดตู้คอนเทนเนอร์ หรือเท่าตึก 10 ชั้น .. ระบบ VPP กับเครือข่าย Energy Storage ที่ฉลาดรูปแบบนี้ กำลังจะกลายเป็นสิ่งคาดหวังในอนาคตของมนุษยชาติ ที่จะนำไปสู่ยุคของการเลิกใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลักได้สำเร็จในที่สุด

สรุปส่งท้าย ..

ปัจจุบัน การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศ ถือว่ายากเย็นแสนเข็ญ ประเทศไทยพึ่งพาพลังงานต่างชาติมากเกินไป มีต้นทุนในการ Upgrade Grid/Transmission สูงอย่างยิ่ง ความสูญเสียพลังงานในระบบสายส่งไฟฟ้าที่ยาวไกลน่าเสียดาย ระบบการจัดเก็บพลังงานอ่อนแอ ความจำกัดและผูกขาดในระบบสายส่ง รวมทั้ง ราคาค่าไฟฟ้าในอนาคตที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่ลดลงเรื่อย ๆ และกำลังจะหมดลง

ดังนั้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล กับแหล่งพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก และแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่กำลังจะพัฒนาขึ้น จะทำให้ศักยภาพการใช้ Self – Electricity Generation เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant System .. ซึ่งมันคือเป็นคำตอบของปัญหาข้างต้นทั้งหมด และทำให้การปรับตัวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน การปรับปรุงโครงสร้าง กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อรองรับ ‘ระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant System’ กลายเป็นความจำเป็น

นักวิชาการด้านพลังงานทั่วโลกเชื่อว่า ระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง VPP กำลังกลายเป็นตัวขับเคลื่อนในภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้า บทความนี้ผู้เขียนพยายามอธิบายถึงวิธีที่จะช่วยให้ระบบสาธารณูปโภค และการหลอมรวมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าย่อย ๆ หลายแห่ง และแหล่งที่มาแบบกระจาย ในชุมชน และท้องถิ่น รวมถึง การบรรลุสู่ความยืดหยุ่น และขนาดที่จำเป็น ในการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจในตลาดพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

ภูมิสังคมด้านพลังงานกำลังเปลี่ยนไป .. สถานการณ์ด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมมีการปรับตัว การขยายตัวของเมืองยังมีอย่างต่อเนื่อง กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ส่งแรงผลักให้เกิดการลดคาร์บอนในสังคม กับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ทรงอานุภาพในยุคดิจิทัล มันกำลังเปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้า และบริการ เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนบริโภคพลังงาน วิธีผลิตพลังงานไฟฟ้า และเสนอการพึงพาพลังงานในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ สังคมโลก มีแนวโน้มลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างชัดเจน

ในทางกลับกัน สิ่งนี้กำลังผลักดันการเปลี่ยนแปลงระบบสายส่ง Power Grid เปลี่ยนแปลงวิธีการสร้างระบบขนส่งพลังงาน การจ่าย และกระจายพลังงานไฟฟ้า ย้ายจากระบบกริดแบบเดิม ๆ ไปสู่ระบบกริดแบบกระจายอำนาจรูปแบบใหม่ที่ชาญฉลาดกว่า ด้วยการแลกเปลี่ยนพลังงานแบบสองทิศทาง รวมทั้งการลื่นไหลของข้อมูลข่าวสารยุคใหม่ได้พัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การผูกขาดระบบสายส่งของภาครัฐ กำลังจะสิ้นสุดลง เนื่องจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การลดต้นทุนในรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และการสนับสนุนการดำเนินการจากนโยบายภาครัฐ ซึ่งเกือบจะเหมือนกันทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การก้าวไปสู่การผลิตไฟฟ้าแบบหมุนเวียน และแบบกระจาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภูมิสังคมด้านพลังงานอย่างรุนแรง โดยเฉพาะระบบสายส่ง Power Grid แบบดั้งเดิม ที่อาจไม่ถูกแผนแบบรองรับรูปแบบการกระจายโรงไฟฟ้าเล็ก ๆ หลายหน่วยผลิต ด้วยข้อจำกัดของตัวระบบเอง กับด้วยกฎระเบียบที่ไม่เอื้อและผูกขาด

ในขณะที่โลกก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงพลังงานสีเขียวบนเส้นทางสู่อนาคตสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Society (LCS) .. ดังนั้นเครือข่ายหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ขนาดกลาง จากแหล่งพลังงานทดแทน และกระจายการบริหารจัดการ แต่รวมการควบคุมไว้ในรูปแบบ ‘Virtual Power Plant : VPP’ กำลังจะเข้ามาครอบงำตลาดพลังงานในที่สุด และเพราะมันคือคำตอบทางธุรกิจในการให้บริการในอนาคต

ดังนั้น การผูกขาดระบบสายส่ง เช่นในปัจจุบันของไทย จึงอาจไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกของไทย ระบบสายส่งย่อย ๆ ที่ฉลาด Smart Micro Grid ในชุมชน ท้องถิ่น กลายเป็นความจำเป็นที่เอกชน หรือท้องถิ่น จะต้องเข้ามาบริหารจัดการกันเอง กฎหมายของไทยเกี่ยวกับการผูกขาดระบบสายส่ง จึงจะต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นเสรีมากกว่าในเร็ววันนี้

ผู้เขียนเชื่อว่า จากนี้เป็นต้นไป ประเด็นการผูกขาดระบบสายส่ง จะกลายเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงกัน เพื่อให้ได้ข้อไขที่เหมาะสมที่สุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งระบบ มิฉะนั้นมันอาจเป็นอุปสรรคต่อการกระจายหน่วยผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกหลาย ๆ แหล่ง และการวางเครือข่าย VPP โดยบริษัทเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแม้แต่ส่วนราชการที่มีศักยภาพ โดยรวมการควบคุมเป็นเครือข่ายไว้เสมือนเช่นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งเดียว

ดังนั้นการผูกขาดระบบสายส่ง อาจต้องถูกปลดล็อคไปในที่สุด รูปแบบโครงสร้างการกระจายการปฏิบัติ ไม่ว่าจะรวมการควบคุม หรือกระจายการควบคุม จำต้องได้รับการทบทวนทั้งในมติทางกฎหมาย และมิติทางเทคนิค ซึ่งมิใช่ใครคนใด บริษัทใดจะได้ประโยชน์แต่อย่างใด แต่มันเป็นทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศเพื่อประโยชน์ของคนไทยทุกคน ลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างชาติ และรักโลกของเรามากขึ้นอีกนั่นเอง .

……………………………

คอลัมน์ : Energy Key

โดย… “โลกสีฟ้า”

สนับสนุนคอลัมน์โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง ..

Virtual Power Plant Communication System Architecture :-

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780128121542000110

Aggregation of Front – and Behind – the – Meter | The Evolving VPP Business Model :-

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780128199510000104

Virtual Power Plant for Distributed Energy Resources :-

https://www.energymeteo.com/products/virtual_power_plant/technology.php

What Is a Virtual Power Plant & Why Does It Matter for Solar? :-

Impact of Distributed Energy Resource Penetrations on Smart Grid Adaptive Energy Conservation and Optimization Solutions

Towards a Concept of Cooperating Power Network for Energy Management and Control of Microgrids

An Overview of Control Techniques and Technical Challenge for Inverters in Micro Grid

Communications and Internet of Things for Microgrids, Smart Buildings, and Homes

Virtual Power Plants (VPP) & the Decentralization of the Energy Industry

Virtual Power Plants : Distributed generation is not a threat, it’s an opportunity

The Caribbean Island Of Aruba To Run Solely On Sustainable Energy By 2020

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img