วันอังคาร, มีนาคม 19, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS‘ค่าไฟฟ้า’ กับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่คาดการณ์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ค่าไฟฟ้า’ กับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่คาดการณ์

Projected Costs of Generating Electricity  

วิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่แตกต่างกัน อาจมีต้นทุนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และต้นทุนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงเงินทุนเริ่มต้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อเชื่อมกับระบบสายส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง และการบำรุงรักษา ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการจ้าง และการแก้ไขความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมใด ๆ ..

การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนเหล่านี้ เป็นที่มาในการกำหนดราคาค่าไฟฟ้า .. มันสามารถคำนวณได้ ณ จุดเชื่อมต่อกับโหลด หรือกริดไฟฟ้า เพื่อที่ว่าอาจรวมต้นทุนที่เกี่ยวเนื่องบางรายการ หรือไม่รวมไว้ ทำให้การนำมาเปรียบเทียบด้วยมาตรฐานเดียวกันกันนั้น ยากเย็นอย่างยิ่ง แต่ก็ใช่ว่าจะกระทำไม่ได้  ..

การเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยพลังงาน ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เกณฑ์ กิโลวัตต์-ชั่วโมง KW/hr หรือเมกะวัตต์-ชั่วโมง MW/hr .. การคำนวณลักษณะนี้ ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย ผู้บริหาร และนักลงทุน สามารถนำราคาต้นทุนต่อหน่วยไปใช้เป็นแนวทางตัดสินใจตกลงใจในการกำหนดค่าไฟฟ้า การลงทุน หรือการวาง แผนงานต่าง ๆ ได้

ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว นิยมใช้ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับโลกของ IEA Report เป็นเกณฑ์อ้างอิงพื้นฐาน .. อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ล่าสุด คือ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เป็นแหล่งพลังงานสะอาด สำหรับการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในปัจจุบัน ..

รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ IEA และสำนักงานพลังงานนิวเคลียร์ OECD เป็นฉบับที่ 9 เมื่อปีที่ผ่านมา ชุดการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงพื้นฐาน เพื่อให้แน่ใจว่ามีแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า และจะสามารถวางแผนดำเนินงานจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ ราคาไม่แพง และมีคาร์บอนต่ำมากขึ้นเรื่อย ๆ

จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้กำหนดนโยบาย นักสร้างแบบจำลอง และผู้เชี่ยวชาญ ต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ ผู้เขียนได้แนบเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายข้อเขียนนี้ให้แล้ว เพื่อผู้สนใจสามารถศึกษาในรายละเอียดได้ต่อไป ..

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ ประกอบด้วยข้อมูลต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์ และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย ถือเป็นครั้งแรกที่มีการรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของเทคโนโลยี การจัดเก็บ การดำเนินงานในระยะยาวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเซลล์เชื้อเพลิงอีกด้วย ..

ข้อมูลต้นทุนระดับโรงงานโดยละเอียดสำหรับโรงไฟฟ้า 243 แห่งใน 24 ประเทศ ทั้ง OECD และนอก OECD จะขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของรัฐบาลที่เข้าร่วม และได้รับการปฏิบัติตามวิธีการทั่วไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่โปร่งใส และสามารถเปรียบเทียบได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ..

NREL/NWTC Infrastructure for Renewable Energy Systems Grid Integration Testing | Illustration by Josh Bauer | NREL

ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้เมื่อปี 2020 จะถูกนำมาใช้ในบริบทหลักสำหรับการคำนวณต้นทุนระดับโรงงาน .. ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานที่ปรับระดับ LCOE : Levelized Cost of Energy ผลกระทบของระบบ และต้นทุนของระบบโดยรวม จะถูกระบุด้วยเมตริกของ LCOE ที่ปรับมูลค่าที่ครอบคลุมมากขึ้น หรือ VALCOE : Value-Adjusted Levelized Costs of Electricity ..

การวิเคราะห์ในทุก ๆ ปัจจัยในกรอบกว้าง และบทความเกี่ยวกับประเด็นรายละเอียดที่มากขึ้น ซึ่งมันมีความสำคัญในตลาดพลังงานไฟฟ้า โดยสรุปข้อมูลเสริมที่จำเป็นในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ความเข้าใจที่สำคัญ คือ ความสำคัญของบทบาทของภาคการไฟฟ้าในการแยกส่วนพลังงานในภาพรวม ผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อจะทำให้ข้อมูลที่ใช้ในการกำหนดราคาค่าไฟฟ้านั้น มีความเชื่อถือเพียงพอ รายได้จากการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าคุ้มค่าการลงทุน และค่าไฟฟ้าเป็นธรรมกับประชาชนผู้บริโภคอีกด้วย ..

ข้อมูลเชิงลึกสำคัญของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้เมื่อปี 2020 ได้แก่ ต้นทุนกำลังผลิตไฟฟ้าของเทคโนโลยีการผลิตคาร์บอนต่ำด้วยแหล่งพลังงานหมุนเวียนนั้น กำลังลดลง และต่ำกว่าต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ หมายถึง ต้นทุนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และขณะนี้ ต้นทุนของพวกมันกำลังจะสามารถแข่งขันได้ในแง่ LCOE ในอีกไม่นาน ..

ด้วยการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาถูกในหลายประเทศ กับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ ๆ จะยังคงมีเสถียรภาพต่อไป รวมทั้งในข้อเท็จจริงแล้ว การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการดำเนินงานในระยะยาวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ถือเป็นตัวเลือกที่มีต้นทุนน้อยที่สุด .. สำหรับแหล่งพลังงานจากการดักจับ CO2 ก็เช่นกัน มูลค่าที่คำนวณไว้ที่ 30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันของ CO2 และอยู่ระหว่างการพัฒนาในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน .. การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินกำลังหลุดออกจากช่วงการแข่งขัน มันราคาถูกมากก็จริง แต่มันปล่อย CO2 สู่บรรยากาศจำนวนมาก และเพราะมันกำลังมีราคาสูงขึ้น ..

ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติลดลงเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงจาก  Shale Gas และเป็นการยืนยันถึงบทบาทของการเปลี่ยนแปลงต้นทุนในภายหลัง ผู้อ่านจะได้พบกับรายละเอียด และการวิเคราะห์มากมายซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตัวเลข และตารางกว่า 100 รายการจาก IEA Report ปี 2020

ล่าสุด ซึ่งกำหนดมูลค่าต่อเนื่องของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมันยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือชี้ขาดได้สำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ในการระบุเป้าหมาย และเปรียบเทียบต้นทุนของตัวเลือกกำลังการผลิตไฟฟ้าที่แตกต่างกันในภาคการผลิตไฟฟ้าปัจจุบัน ทำให้การนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงนั้น ยังคงจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ๆ ไป ..

ราคาค่าไฟฟ้ามาจาก ต้นทุนการผลิต ผนวกกับค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และ Integration Cost ..

แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน บางประเภท เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม มีต้นทุนกำลังผลิตไฟฟ้าถูกกว่าแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และยังคงมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ แต่ในโลกปัจจุบัน ก็ยังคงใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าในระบบสายส่งอยู่ต่อไป

จึงเกิดคำถามสำคัญขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้น คือ ยิ่งสัดส่วนกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในระบบสายส่งหลักเพิ่มขึ้น แต่ทำไมค่าไฟฟ้าต่อหน่วยเฉลี่ย จึงไม่ลดลง และกลับมีแนวโน้มแพงขึ้นอีก รวมทั้งคำถามสำคัญที่ว่า หากเป็นเช่นนั้น เมื่อไร หรือจะต้องดำเนินการอย่างไร ราคาค่าไฟฟ้าจะลดลงต่ำกว่า หรือใกล้เคียงอัตราค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งประเด็นปัญหาสำคัญของคำตอบในคำถามสำคัญนี้ ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก ระบบสายส่ง Electrical Grid รูปแบบเดิม กับราคาตุ้นทุนจาก Integration Cost ..

Example of The Different Cost Components of a Typical Customer Bill | Chart Credit: Ausgrid Analysis

สำหรับการเชื่อมต่อกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่ระบบสายส่งนั้น มันมิใช่ปัญหาทางเทคนิค แต่มันคือปัญหาเรื่องราคาค่าดำเนินการ .. ดังนั้น การคิดใหม่ ค้นหาแนวทาง และรูปแบบใหม่ ๆ ทั่วทั้งระบบ ตั้งแต่ ระบบการผลิตแบบกระจาย กำลังการผลิต การกระจาย ระบบการควบคุม ระบบสารสนเทศ ระบบจัดเก็บพลังงาน หรือระบบ Grid Energy Storage รวมถึง ระบบ Smart Grid & Smart Micro Grid ไปจนถึงระบบการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการซ่อมบำรุงทั่วทั้งระบบที่ชาญฉลาดกว่า ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สร้างปัญหาเรื่องราคาค่าไฟฟ้า กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับการกำกับดูแลภาครัฐ ..

ต้นทุนเฉลี่ยตลอดอายุโครงการโรงไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปเรียกว่า Levelized Cost of Electricity : LCOE คือ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุของโรงไฟฟ้าหารด้วยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ ดังนั้น การคำนวณ LCOE ของโครงการโรงไฟฟ้าทั่วไป ต้องพิจารณาทุกปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุนของการผลิตไฟฟ้า เช่น ต้นทุนค่าที่ดิน ต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนค่าการเดินเครื่อง ต้นทุนราคาเชื้อเพลิงตลอดอายุของโรงไฟฟ้า โดยต้นทุนที่เกิดขึ้นตลอดอายุของโรงไฟฟ้า จะถูกปรับมูลค่าตามหลักการคิดมูลค่าเงินตามเวลา Time Value of Money เพื่อสะท้อนถึงต้นทุนเฉลี่ยตลอดอายุโครงการโรงไฟฟ้า ..

ดังนั้น โรงไฟฟ้าต่างชนิดไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใด ๆ ก็ตาม เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมัน หรือนิวเคลียร์ หรือพลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรืออื่น ๆ ต่างก็จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้า หรือ LCOE ที่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าว่าจะถูกหรือแพง จึงมักจะคิดแบบง่าย ๆ โดยดูจากต้นทุน LCOE ของการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ นั่นเอง ..

อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนประเภท แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ที่ยังไม่เสถียร จะคิดต้นทุนแบบง่าย ๆ เช่นนั้นไม่ได้ เนื่องจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน จะต้องรวมเอาต้นทุนของการที่จะทำให้ระบบการผลิตไฟฟ้ารวมในระบบสายส่ง Grid รูปแบบดั้งเดิม สามารถทำงานเพื่อให้เกิดความเสถียรด้วย ซึ่งมันมีต้นทุนสูงมาก ในอดีตการคิดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน หรือ LCOE ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะสูงกว่า LCOE ของโรงไฟฟ้าหลัก หรือโรงไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ ..

ทั้งนี้ การคาดการณ์ ปัจจุบันว่า LCOE ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลง เนื่องจากแผงโซลาเซลล์ และกังหันลม รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง มีราคาถูกลงเรื่อย ๆ จนอาจถึงจุดที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า หรือ LCOE จากพลังงานหมุนเวียนลดต่ำลงมาเท่ากับ LCOE ของโรงไฟฟ้าหลักก็จะถึงจุดที่เรียกว่า “Grid Parity” ซึ่งเป็นความเข้าใจของคนส่วนใหญ่นั้น จึงยังไม่ถูกต้องนัก ..

Integration Cost เปรียบเสมือน “ต้นทุนแฝง” ที่ฝ่ายผู้ติดตั้งเทคโนโลยีผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนไม่ได้นำมาคิดเป็นต้นทุนของฝ่ายตน เพราะฝ่ายผู้ให้บริการไฟฟ้าลักษณะผูกขาดในระบบ Grid ประเทศไทย คือ กฟผ.จะเป็นผู้รับภาระต้นทุนส่วนนี้ทั้งหมดแทน เนื่องจากในประเทศไทยโดยภาครัฐ ยังคงผูกขาดการลงทุน และให้บริการระบบสายส่ง Electrical Grid อยู่ในปัจจุบัน

ทำให้การพัฒนา และการลงทุนวางระบบเครือข่ายในรูปแบบ Smart Grid และ Virtual Power Plant Network : VPP กับระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ของภาคเอกชนนั้น เป็นไปไม่ได้ ราคาค่าไฟฟ้าจึงอาจไม่ลดลง และจะแพงขึ้นอีก เมื่อกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุน เวียน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 % ของกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ตามแผนงานของไทยในปี 2579 เนื่องจากจากต้นทุน Integration Cost ในระบบสายส่งเดิมของ กฟผ.ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ..

มันหมายถึง หากต้นทุน LCOE ของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ลดลง เนื่องจากอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าราคาถูกลง คนทั่วไปจึงมักเข้าใจผิดว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าถูกลงเพราะไม่ได้คิดรวมเอา Integration Cost ที่ กฟผ.จะต้องรับภาระนี้แทนนั่นเอง ..

ปกติ Integration Cost จะน้อยเมื่อพลังงานหมุนเวียนที่จะนำเข้ามาในระบบสายส่งหลักมีสัดส่วนที่ไม่มากนัก เพราะกำลังไฟฟ้าสำรองที่เรียกว่า Spinning Reserve ของระบบผลิตไฟฟ้าในระบบสายส่งที่เป็น Grid หลักของ กฟผ.จะสามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ไม่ยากนัก แต่ต้นทุน Integration Cost จะเพิ่มสูงมากขึ้น เมื่อสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบ Grid สูงขึ้น .. ในกลุ่มประเทศยุโรป แต่ละประเทศ พบประสบการณ์สถานการณ์ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นเมื่อสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในระบบสายส่งเพิ่มขึ้นมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้ในยุโรปเองปัจจุบัน ค่า Integration Cost ในการเชื่อมต่อกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแปรผัน เข้าสู่ระบบสายส่ง กำลังมีค่า Integration Cost ลดลงเรื่อย ๆ แล้ว ซึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบควบคุมที่รวดเร็ว และรุดหน้าล่าสุด โดยหากค่าไฟฟ้า และต้นทุนจาก Integration Cost ไม่ลดลง มันจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ในอนาคตอย่างแน่นอน

สุดท้ายด้วยการบริหารจัดการภาครัฐ และรวมถึงประเทศไทยด้วย อาจส่งผลให้ต้องมีการพิจารณายกเลิกระบบสายส่งรูปแบบดั้งเดิม หรือการปรับปรุงระบบสายส่งเดิมให้มันฉลาดขึ้น การเปิดกว้างให้เอกชนร่วมลงทุนในระบบสายส่ง และการวางระบบ VPP กับ Utility Scale Energy Storage on Grid ให้สามารถรองรับแหล่งพลังงานทางเลือกผันแปรรูปแบบกระจาย พร้อมระบบจัดเก็บพลังงาน ด้วยต้นทุนรวมทั้งหมดที่ลดลง ราคาค่าไฟฟ้าลดลง ได้สำเร็จในที่สุดนั้น เป็นความจำเป็น ..

ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ประเด็นการผูกขาดระบบสายส่งในประเทศไทย กำลังจะกลายเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงกันจากนี้ไป เพราะมันอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการกระจายการควบคุม การกระจายการปฏิบัติ และการวางเครือข่าย VPP โดยบริษัทเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแม้แต่นิติบุคคลใด ๆ เช่น ส่วนราชการขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ดังนั้น การผูกขาดรวมศูนย์ระบบสายส่งของภาครัฐ อาจต้องถูกปลดล็อคไปในที่สุด ..

ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่ผันแปร เช่น Solar PV หรือพลังงานลม และเครือข่ายของหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดกลาง และขนาดเล็กแบบกระจาย พร้อมระบบจัดเก็บพลังงาน รวมถึงการวางระบบสายส่งที่ชาญฉลาดกว่า จะมีต้นทุนที่ลดลง ราคาค่าไฟฟ้าก็จะไม่เพิ่มขึ้น รวมถึงในระยะยาวคาดได้ว่าราคาค่าไฟฟ้าจะลดลงได้ในที่สุด และมันกำลังจะกลายรูปแบบใหม่ธุรกิจพลังงาน สู่ชุมชน และท้องถิ่น ที่ดึงดูดนักลงทุนภาคเอกชนอย่างยิ่ง ..

ค่าไฟฟ้าไทย เทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน ..

ปัจจุบัน เมื่อเทียบในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน โดยเฉพาะในประเทศที่ค่อนข้างมีบทบาททางเศรษฐกิจเชิงรุก อัตราค่าไฟฟ้าในประเทศไทย จัดอยู่ในระดับกลาง ๆ แต่ที่น่าสนใจก็คือ หากดูรายชื่อประเทศที่มีค่าไฟฟ้าต่ำกว่าไทยแล้ว จะพบว่ายังพึ่งพาถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนต่ำสุดเมื่อเทียบกับแหล่งเชื้อเพลิงประเภทอื่น ..

ขณะที่ ภาคการผลิตพลังงานของประเทศไทยนั้น ส่งสัญญาณชัดเจนในการมุ่งสู่พลังงานสะอาด จากแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ ได้แก่ พลังแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ หรือพลังงานชีวมวล ..

เปรียบเทียบค่าไฟฟ้า ไทยกับเพื่อนบ้าน และค่าไฟฟ้าประเทศพัฒนาแล้ว | Source : กรุงเทพธุรกิจ / Globalpetrolprices / Statista 2021

ข้อมูล Retail Energy Price Data จากเว็บไซต์ GlobalPetrolPrices ของประเทศต่าง ๆ ณ เดือนมีนาคม 2562 โดยในส่วนของภูมิภาคอาเซียน มาเลเซีย มีค่าไฟต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง KW/hr อยู่ที่ 1.8 บาท ตามมาด้วย เวียดนาม 2.4 บาท อินโดนีเซีย 3 บาท ประเทศไทย 3.9 บาท ฟิลิปปินส์ 5.7 บาท และสิงคโปร์ 5.7 บาท โดยเว็บไซต์นี้ระบุสถานะที่น่าสนใจของประเทศไทยด้วยว่า สามารถสร้างรายได้จากค่าไฟฟ้าควบคู่กับการคงอัตราค่าไฟฟ้าไว้ในระดับต่ำได้ ..

ขณะที่ เวียดนามและอินโดนีเซีย ยังคงมีแหล่งถ่านหินสำรองอย่างเหลือเฟือ และใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงอันดับ 1 สำหรับการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีความต้องการใช้พลังงานในระดับสูงเพื่อตอบรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ..

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยตัวเลขค่าไฟฟ้าของประเทศอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ญี่ปุ่น 8.4 บาท ขยับเพิ่มขึ้นจาก 6.6 บาทที่เว็บไซต์สตาติสตา Statista เคยประมาณการณ์ไว้ ออสเตรเลีย 7.5 บาท และเกาหลีใต้ 3.3 บาท โดยส่วนหนึ่งมาจากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลที่จะประคองอัตราค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจ .. ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจทั่วโลก จัดเก็บอยู่ โดยสหรัฐอเมริกา ค่าไฟต่อกิโลวัตต์/ชั่วโมง อยู่ที่ 3.9 บาท แต่ปีนี้ขยับมาเป็น 4.2 บาท อังกฤษ อยู่ที่ 6.6 บาท ขณะที่ มีตัวเลขล่าสุดของปีนี้ขยับขึ้นมาเป็น 7.5 บาท ..

Household Electricity Prices Worldwide in 2020 By Select Country | Source by Statista 2021

อย่างไรก็ตาม ยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน และแม้แต่ในประเทศเดียวกัน ส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพทางภูมิศาสตร์ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ปัจจุบัน สวีเดน เป็นประเทศที่ประชาชนจ่ายค่าไฟฟ้าต่ำสุดในโลกกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คือ 6 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ขณะที่ เยอรมนี กลับรั้งตำแหน่งประเทศที่มีค่าไฟแพงสุดในโลก ด้วยอัตรา 9.9 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ..

ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของ IEA คาดการณ์ว่า กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN กำลังจะกลายเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนแนวโน้มตลาดพลังงานโลกในช่วง 20 ปีข้างหน้า จากความต้องการใช้พลังงานที่มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่าตัว ตามการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ก็มีความท้าทายเพิ่มขึ้นสำหรับผู้กำหนดนโยบายด้วยเช่นกัน ..

ปัจจุบัน แหล่งเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ยังคงใช้น้ำมัน และถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งเป็นตัวก่อปัญหามลภาวะทางอากาศร้ายแรง อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นแนวโน้มการลงทุนในพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ขยับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยประมาณการณ์ไว้ว่าจะขึ้นมาครองสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของการผลิตพลังงานในภาพรวมในอีก 5 ปีข้างหน้า แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ที่มาแรง ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV และไฟฟ้าพลังน้ำ Hydropower แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องมีนโยบายภาครัฐสนับสนุน ด้วยการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการสนับสนุนการใช้แหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ เหล่านี้เพิ่มเติมอีกด้วย ..

เมื่อพิจารณาบนฐานนโยบายพลังงานฉบับปัจจุบันของภูมิภาคนี้ จะมีความต้องการพลังงานเติบโตขึ้น 60% ภายในปี 2583 .. ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มจาก 6.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นสูงกว่า 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนถ่านหิน ยังรักษาระดับเติบโตค่อนข้างคงที่ ซึ่งเชื้อเพลิง 2 แหล่งหลักนี้ เป็นตัวการสำคัญในการก่อมลพิษทางอากาศ และเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ และการเสียชีวิตจากมลภาวะ ..

ดังนั้น การกระตุ้นจากนโยบายภาครัฐ ให้มีการเพิ่มการลงทุนกับการพัฒนาแหล่งพลังงานแหล่งสะอาด และแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถทำให้แผนงานต่าง ๆ เกิดได้เร็วขึ้นผ่านกลไกการดึงภาคเอกชน หรือนิติบุคคลที่มีศักยภาพ เช่น ส่วนราชการ หรือองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมลงทุนพร้อมไปกับภาครัฐด้วยแผนงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกัน กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..

สรุปส่งท้าย ..

ราคาค่าไฟฟ้า เป็นต้นทุนสำคัญยิ่งในชีวิตประจำวัน และยังเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจของประเทศที่สะท้อนขีดความสามารถการแข่งขันของชาติในเวทีการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย .. การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย เชื่อหรือไม่ว่า ผู้บริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นคนไทยในประเทศ ใช้น้ำมันเติมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของตนในราคาแพงกว่าราคาขายปลีกในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ..

ปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย มีราคาขายปลีกสูงกว่าสหรัฐฯ ถึงประมาณ 3 เท่า (Note : ราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณลิตรละ 8 บาทเศษ หรือประมาณ 2.5$/Gallon) ซึ่งทำต้นทุนทางเศรษฐกิจของไทยสูงเกิน ไม่เป็นผลดีต่อขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของชาติ รวมทั้งต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากเกินไป ..

อย่างไรก็ตาม คนไทยใช้พลังงานไฟฟ้าในราคาเท่ากับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเพราะว่าแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทยคือก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โดยประเทศของเราจะเผาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งราคาสูงกว่ามากเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น .. มีคำถามหนึ่งที่ถามกันอยู่เสมอว่า แล้วทำไมมาเลเซียเพื่อนบ้านจึงมีค่าไฟฟ้าถูกกว่าเรามาก คำตอบง่าย ๆ ก็คือ พวกเขาใช้ถ่านหินเป็นหลักในการผลิตพลังงานไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งผู้เขียนจะยังไม่นำมาเป็นประเด็นอภิปรายในข้อเขียนนี้ ..

ทั้งนี้ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กำลังหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งทำให้อาจต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากนอกประเทศมาผลิตไฟฟ้าในประเทศ หมายถึงราคาค่าไฟฟ้าอาจเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไปแน่นอนในไม่ช้า

จินตนาการได้เลยว่า ค่าเดินทางด้วยรถไฟขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟฟ้าจะสูงลิ่ว ส่งผลให้ ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนการเดินทาง ต้นทุนทางเศรษฐกิจ จะสูงขึ้นอย่างมาก ..

ราคาค่าไฟฟ้าโดยทั่วไป สะท้อนถึง ต้นทุนในการสร้าง บำรุงรักษา และดำเนินงานโรงไฟฟ้า และโครงข่ายไฟฟ้าในระบบสายส่ง Electrical Grid ที่ซับซ้อน และยาวไกล ..

ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ในฐานะแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าหลักของไทย ตลาดก๊าซธรรมชาติมีอิทธิพลอย่างมากต่อราคาไฟฟ้า ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติมีมากมาย และต้นทุนต่ำ .. การเพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแบบผสม NGCC : Natural Gas Combined Cycle เนื่องจากต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ และการก่อสร้างที่รวดเร็ว ส่งผลให้อัตราการผลิตที่แข่งขันได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับถ่านหิน นิวเคลียร์ และพลังน้ำ การใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาในตลาดค้าส่งไฟฟ้าอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง โรงไฟฟ้าอาจจำเป็นต้องเปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาส่วนเพิ่มนั้นสูงขึ้นด้วย ..

ทั้งนี้ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กำลังจะหมดลง การนำเข้าก๊าซธรรมชาติของไทย อาจทำให้ค่าไฟฟ้าของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในอีกไม่นาน .. ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก เป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทย ด้วยราคาค่าไฟฟ้าที่ไม่เพิ่มขึ้น หรือลดลง กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ .. ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงาน และขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยแน่นอน ..

ระบบสายส่ง Transmission & Distribution Systems ทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าระยะทางไกล และการกระจายไปสู่พื้นที่ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นสายส่งเหนือศีรษะ หรือสายใต้ดิน ระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่เป็นกระดูกสันหลังของโครงข่ายไฟฟ้า .. ซึ่งมันได้กลายเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าของเรา เนื่องจาก มันเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และต้องการความน่าเชื่อถือการให้บริการอย่างมาก ต้นทุนในโครงข่ายระบบสายส่งที่เริ่มต้นขึ้น การปรับปรุงเพื่อเพิ่มศักยภาพ และจะดำเนินซ่อมบำรุงต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต้องให้ผู้รับบริการแบกรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้ ผ่านอัตราค่าไฟฟ้าของพวกเขานั่นเอง ..

อย่างไรก็ตาม อัตราการจัดจำหน่าย และราคาค่าไฟฟ้า ยังคงถูกควบคุมโดยนโยบายภาครัฐด้วย ซึ่งหมายความว่า ระบบสาธารณูปโภค ต้องยื่นขออนุมัติเรื่องอัตราการเรียกเก็บเงินในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนบริโภคพลังงานในราคาที่เป็นธรรม ด้วยการใช้อัตราค่าไฟฟ้าที่สะท้อนต้นทุนที่ถูกต้อง และเพื่อให้ผู้ประกอบการมีรายได้หมุนเวียนที่นำไปสู่งบลงทุนอย่างเพียงพอในการปรับปรุงระบบสายส่ง Transmission & Distribution รูปแบบดั้งเดิม และโครงสร้างพื้นฐานการกระจาย ให้ฉลาดขึ้น สามารถรองรับกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ที่แปรผัน ในรูปแบบกระจาย กับการผนวกระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง เอาไว้ด้วย ซึ่งมันจะแพงมากเกินไปนั้นไม่ได้ ..

ประเทศไทยปัจจุบัน ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเข้าถึงโครงข่ายไฟฟ้า และระบบสายส่ง รวมทั้งตุ้นทุน Integration Cost ของการผลิตไฟฟ้ารูปแบบกระจายจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในความพยายามภาครัฐเพื่อลดต้นทุนกำลังผลิตไฟฟ้าลง เพื่อมิให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไปต้องแบกภาระค่าไฟฟ้ามากเกินไป ..

ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐจะต้องพิจารณาดำเนินการโดยเร็ว มิฉะนั้นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ อาจได้รับผลกระทบ และไม่ได้รับการประกัน นั้น ได้แก่ การลดต้นทุน Integration Cost ในโครงข่ายระบบสายส่งแบบดั้งเดิม ด้วยการปลดล็อคการผูกขาดระบบสายส่งของภาครัฐ การส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาระบบจัดเก็บพลังงานในประเทศ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมทั่วทั้งระบบลดลงได้

ระบบจัดเก็บพลังงานและเครือข่ายที่ชาญฉลาด จะสามารถแก้ปัญหาการกระจายของแหล่งพลังงาน และกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแปรผันที่นำเข้าระบบสายส่งเข้ามาเก็บไว้ก่อนได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงข่ายระบบสายส่ง และระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง VPP กับ Utility Scale Energy Storage on Grid .. ซึ่งด้วยแนวทางที่ผู้เขียนกล่าวถึงเหล่านี้ คาดหมายได้ว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกโดยรวมที่ลดลง จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าของไทยลดลงได้สำเร็จนั้น เป็นไปได้

………………………………..

คอลัมน์ Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Retail Energy Price Data | GlobalPetrolPrices

‘พลังงานทดแทน’ กำลังถูกเลือกให้แสดงบทบาทนำในภาคผลิตไฟฟ้าโลก :-

ทำไมนิวเคลียร์? จึงยังคงเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบด้านพลังงาน :-

เครือข่ายโรงไฟฟ้าแบบกระจาย Virtual Power Plant Network : VPP :-

Cost of Electricity by Source | Wikipedia

Projected Costs of Generating Electricity 2020 | IEA :-

Levelized Costs of New Generation Resources in the Annual Energy Outlook 2021 | EIA

Household Electricity Prices Worldwide in 2020 | by Select Country

Solar Power Is Cheaper, but the World Is Still Running on Fossil Fuels

Solar power got cheap | So why aren’t we using it more? | Popular Science :-

Energy Price Forecasting – AleaSoft Energy Forecasting :-

Electricity Price Forecasting – MathWorks :-

Upgrading the Grid to Accommodate Renewable Energy

Grid – Connected Renewable Energy Systems | US Department of Energy

Updating the Electric Grid | Department of Energy

Grid .. Renewable Energy Integration in Power Grids | IEA – ETSAP and IRENA :-

What Influences Electricity Pricing? | Energy Watch :-

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img