Blue Carbon : Major Role in the Global Carbon Cycle
“….รัฐบาลไทย มุ่งมั่นที่จะเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกจาก 30% เป็น 40% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติ และจะพยายามอย่างเต็มที่ต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวของความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2568 …”
การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal : CDR หมายถึง กิจกรรมของมนุษย์ที่กระชากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ออกไปจากชั้นบรรยากาศ และกักเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า Carbon Sink เช่น ในอ่างเก็บน้ำ ระบบทางธรณีวิทยา ใต้ชั้นหิน บนบก หรือในมหาสมุทร เช่น การขุนบำรุงเลี้ยงมหาสมุทร Ocean Fertilization และการปลูกป่าใต้ทะเลตามแนวชายฝั่ง หรือบลูคาร์บอน Blue Carbon : Planting Undersea Seaweed & Forests along the Coast เป็นต้น หรือจัดเก็บไว้ในผลิตภัณฑ์อย่างถาวร เช่น วัสดุก่อสร้างที่เป็นคอนกรีต Concrete ซึ่งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรการที่มีอยู่เดิม และการเพิ่มศักยภาพของอ่างกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางชีวภาพ หรือทางธรณีเคมี Biological or Geochemical CO2 Sinks ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เช่น บนผืนดิน On Land, ป่าฝน Rainforests และมหาสมุทร Oceans รวมทั้ง ศักยภาพในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรง Direct Air Carbon Dioxide Capture & Storage ด้วยเทคโนโลยีการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions Technologies รูปแบบต่าง ๆ แต่ไม่รวมถึงการดูดซับ CO2 ตามธรรมชาติที่ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยตรง ..
วิศวกรรมมหาสมุทร Engineering the Oceans เช่น Ocean Fertilization รวมทั้งบลูคาร์บอน Blue Carbon เป็นต้นนั้น คือ วิธีปฏิบัติทางภูมิวิศวกรรม Geoengineering ที่เฉียบขาด และเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ รวมทั้งไม่ยากเกินไป เพื่อทำนุบำรุงรักษาสุขภาพของโลก World Health ไว้ด้วยศักยภาพ และสุขภาพของมหาสมุทร Potential & Health of the Oceans ..
ทั่วโลก กำลังให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในการพัฒนาศักยภาพบลูคาร์บอน Blue Carbon Potential Developing บนพื้นที่ชุ่มน้ำ Wetlands, หนองบึง Swamps, ป่าชายเลน Mangrove Forests และชายฝั่งทะเลที่ระบบนิเวศมีศักยภาพ Potential Ecosystems in Coastal Areas .. การวิจัย และพัฒนาตามแนวคิด Blue Carbon กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง และพบว่า ระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems ประเภทนี้ สามารถกำจัดคาร์บอนต่อพื้นที่มากกว่าพื้นที่ป่าไม้บนบกหลายเท่านัก ..
อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในระยะยาวของบลูคาร์บอน Long-Term Performance of Blue Carbon ในฐานะข้อไขการดูดซับ และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ออกไปจากบรรยากาศ อาจยังคงมีข้อโต้แย้งอยู่บ้าง .. คำว่า คาร์บอนสีน้ำเงินเข้ม Dark Blue Carbon ก็ถูกนำมาใช้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงความพยายามในการกักเก็บคาร์บอนในน่านน้ำมหาสมุทรลึก Deep Ocean Waters เช่น เทคนิคการขุนบำรุงเลี้ยงทะเล ที่เรียกกันว่า Ocean Fertilization หรือ Ocean Nourishment เพื่อเร่งระเบิดการเติบโตของแพลงก์ตอนพืช Phytoplankton ในทะเลลึก เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จากบรรยากาศโดยตรงด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง Process of Photosynthesis และปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ออกสู่ชั้นบรรยากาศปริมาณมหาศาล เป็นต้น ..
โดยทั่วไป บลูคาร์บอน Blue Carbon คือ คำที่ใช้ในบริบทการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation ซึ่งหมายถึง “การไหลลงเข้ามากักเก็บไว้ของคาร์บอนปริมาณมหาศาลที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการทางชีวภาพในระบบทางทะเล Biologically Driven Carbon Fluxes & Storage in Marine Systems ซึ่งเป็นรูปแบบระบบจัดการด้วยกลไกตามธรรมชาติ” .. โดยส่วนใหญ่แล้ว คำนี้หมายถึง บทบาทของพื้นที่ชุ่มน้ำ Wet Land, บึงน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Marshes, ป่าชายเลน Mangroves และหญ้าทะเล Seagrasses ในระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง Coastal Ecosystems ที่แสดงบทบาทสำคัญต่อวัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ในการกักเก็บคาร์บอน หรือที่เรียกว่า Carbon Sink ..
ด้วยข้อเท็จจริงจากการตรวจวัดอย่างละเอียดแล้ว พบว่า ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง Coastal Ecosystems ซึ่งประกอบไปด้วย พืชน้ำ, สาหร่าย, แพลงก์ตอนพืช Phytoplankton และป่าไม้ตามแนวชายฝั่งที่กล่าวถึงนี้นั้น ช่วยดูดซับปริมาณก๊าซเรือนกระจก Absorb Greenhouse Gases ได้มากกว่า และรวดเร็วกว่าป่าไม้บนบกทั่วไป General Terrestrial Forest อยู่ถึง 10 เท่า และมีส่วนช่วยอย่างมากในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation และรวมถึงการปรับตัวตามระบบนิเวศวิทยา Ecosystem Adaptation เพื่อเข้าสู่สมดุลธรรมชาติไปพร้อมด้วย ซึ่งหมายถึง สภาวะความเสถียรคงที่ในการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม และยั่งยืน ..
ทั้งนี้ หากระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง Coastal Ecosystems ถูกทำลายลง หรือเมื่อระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems เสื่อมโทรม หรือสูญเสียไป ก็จะปล่อยคายคาร์บอนกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ชายเลน พืชน้ำ สาหร่าย รวมทั้งระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งจากนี้ไปที่ทุกคน ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งเหล่านี้ ให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้ระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems สามารถทำหน้าที่เก็บกักคาร์บอน Carbon Sink ในรูปแบบชีวมวล และการทับถมของตะกอนลงสู่ชั้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ..
สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับบลูคาร์บอน Know About Blue Carbon และการสนับสนุนจากธนาคารโลก World Bank ..
บลูคาร์บอน Blue Carbon คือ คำที่ใช้เรียกคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ถูกเก็บไว้ในระบบนิเวศชายฝั่ง และทางทะเลของโลก World’s Coastal & Marine Ecosystems เช่น ป่าชายเลน Mangroves, บึงเกลือ Saltmarshes และหญ้าทะเล Seagrasses .. พวกมันถูกเรียกว่า “คาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon” เนื่องจากอยู่ใกล้กับมหาสมุทร โดยส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในดิน และตกตะกอนลึกถึง 6 เมตรใต้ก้นทะเล Meters under the Seabed ..
นอกจากบลูคาร์บอนชายฝั่ง Coastal Blue Carbon แล้ว ยังมี “คาร์บอนใต้ท้องทะเลลึก Deep Sea Carbon” อีกด้วย แต่ละประเภทได้รับการวัดคำนวณโดยใช้วิธีการเฉพาะ Specific Methodology เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบ และคุณประโยชน์ของมัน .. ปัจจุบัน ธนาคารโลก World Bank ให้ความสนใจประเด็นเหล่านี้อย่างมีนัยสำคัญ และมุ่งเน้นไปที่บลูคาร์บอนชายฝั่ง Coastal Blue Carbon ได้แก่ ป่าชายเลน Mangroves, บึงน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Marshes และหญ้าทะเล Seagrasses ซึ่งมาพร้อมกับวิธีการทางบัญชี Accounting Methodologies, แหล่งเงินลงทุน Investment Sources และคาร์บอนเครดิต Carbon Credit ที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการระหว่างนครรัฐว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC ซึ่งหมายรวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลเพิ่มเติมที่อาจถูกวางแผนงาน และโครงการเพิ่มเข้ามาอีกในอนาคต ..
บลูคาร์บอน Blue Carbon นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยความจริงที่ว่า มหาสมุทร Oceans คือ แหล่งระบายความร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก Largest Heat Sink on the Planet โดยดูดซับความร้อนส่วนเกินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Excess Heat Caused by Climate Change ได้ถึง 90% และดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากมนุษย์ Human-Caused CO2 Emissions ได้ถึง 23% ซึ่งทำให้บลูคาร์บอน Blue Carbon มีความสำคัญเชิงประจักษ์ เนื่องจากคุณประโยชน์หลายประการที่มอบให้ ได้แก่ :-
ประการแรก คือ ความจุขนาดใหญ่ของระบบนิเวศชายฝั่งบลูคาร์บอน Huge Storage Capacity of Blue Carbon Coastal Ecosystems ครอบคลุมเพียง 2% ของพื้นผิวมหาสมุทรทั้งหมดเท่านั้น แต่คิดเป็น 50% ของการดูดซับคาร์บอนในมหาสมุทร Ocean’s Carbon Absorption .. ตัวอย่างเช่น ป่าชายเลนหนึ่งเฮกตาร์กักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าพื้นที่ป่าที่คล้ายกันบนบกถึง 10 เท่า .. หญ้าทะเล Seagrasses เป็นระบบนิเวศชายฝั่งอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการกักเก็บคาร์บอน Coastal Ecosystem Critical for Carbon Storage .. การหยุดการทำลาย และหยุดการทำให้เสื่อมสลายของหญ้าทะเลทั่วโลก Stopping Seagrass Destruction & Degradation Worldwide สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Reduce CO2 Emissions ได้มากถึง 650 ล้านตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซต่อปีทั้งหมดของอุตสาหกรรมการเดินทะเลทั่วโลก Entire Annual Emissions of the Global Shipping Industry ..
ประการที่สอง คือ ประโยชน์ที่ได้รับในการปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศเหล่านี้ Benefits that Protecting & Restoring These Ecosystems ในการทำให้ผู้คน และชุมชนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การลดน้ำท่วม และลดการกัดเซาะ Reduction in Flooding & Erosion, การป้องกันพายุ Storm Protection และเพิ่มการสร้างงาน และความมั่นคงทางอาหาร Increased Job Creation & Food Security มาพร้อมด้วย .. รายงานการเปลี่ยนแปลงความมั่งคั่งของชาติ Changing Wealth of Nations Report ล่าสุดของธนาคารโลก World Bank คำนวณไว้ว่า ระบบนิเวศป่าชายเลน Mangrove Ecosystems ปกป้องผู้คนมากกว่า 6 ล้านคนจากน้ำท่วมทุกปี และป้องกันการสูญเสียสินทรัพย์ของผู้คนทั่วโลก มูลค่ามากกว่า 24 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ..
ประการที่สาม คือ ศักยภาพของป่าชายเลน หญ้าทะเล และบึงน้ำเค็มที่มีสภาพดี จะสร้างคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูง Potential for Healthy Mangroves, Seagrasses & Saltmarshes to Generate High Quality Carbon Credits ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งเมื่อได้รับการตรวจสอบ และจำหน่ายผ่านตลาดคาร์บอน Carbon Markets ที่โปร่งใสแล้ว ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับชุมชนท้องถิ่น Additional Income for Local Communities ได้เป็นอย่างดี และน่าพอใจ ..
แม้จะให้ประโยชน์มากมายหลายประการ แต่พื้นที่ชายฝั่งบลูคาร์บอน Blue Carbon Coastal ก็ถูกกัดเซาะทำลายอย่างรุนแรง โดยมากกว่า 50% ของบึงเกลือดั้งเดิมของโลก World’s Original Salt Marshes สูญหายไปในช่วงศตวรรษที่ 20 .. ป่าชายเลน Mangroves มากถึง 35% ถูกทำลายจากการตัดไม้ทำลายป่าในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 รวมถึงประมาณ 25% ของแปลงหญ้าทะเล Seagrass Beds ทั้งหมด สูญหายไปจนถึงปัจจุบัน ..
อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลก World Bank ด้วยการสนับสนุนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ PROBLUE Trust Fund ได้พัฒนากรอบการทำงาน Blue Carbon Readiness เพื่อช่วยให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก สามารถพลิกกลับแนวโน้มมาสู่การฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งบลูคาร์บอน Restoring the Blue Carbon Coastal เหล่านี้ได้ .. กรอบการทำงานนี้ เป็นแนวทางทีละขั้นตอน Step-by-Step Guide ในการสนับสนุนการลงทุนในบลูคาร์บอน Investment in Blue Carbon เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้คน และเศรษฐกิจ และช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Commitments ภายใต้ข้อตกลงปารีส Paris Agreement ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้มีการประกาศไว้ให้สำเร็จได้ ..
การเก็บเกี่ยว และกักเก็บคาร์บอน Carbon Sequestration & Storage โดยระบบนิเวศ Ecosystems ของป่าชายเลน Mangrove, ดินเค็ม Saltmarsh และหญ้าทะเล Seagrass มีมูลค่าสูงถึง 190 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และธนาคารโลก World Bank ได้เร่งสนับสนุนรัฐบาลของชาติต่างๆ ในการพัฒนาโครงการเพื่อนำบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits คุณภาพสูงออกสู่ตลาด และได้ราคาที่ดี ..
ธนาคารโลก World Bank ต้องการให้แน่ใจว่า กระบวนการฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งบลูคาร์บอน Restoring the Blue Carbon Coastal เหล่านี้นั้น ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง รวมทั้ง พวกเขา กำลังช่วยสร้างตลาดคาร์บอนที่โปร่งใส Transparent Carbon Markets ซึ่งสามารถนำมาซึ่งประโยชน์หลายประการแก่ชุมชนในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งด้านการเงิน และสิ่งแวดล้อม Financial as well as Environmental, มอบคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Delivering a Better Quality of Life และการสร้างงานให้กับกลุ่มเปราะบาง Job Creation for Vulnerable Groups รวมถึงผู้หญิง Women, ชนพื้นเมือง Indigenous Peoples และชุมชนท้องถิ่น Local Communities ..
ทั้งนี้ ธนาคารโลก World Bank มุ่งมั่นที่จะจัดการกับการเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change, มหาสมุทร Oceans และการพัฒนา Development .. ด้วยการบูรณะ และปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของบลูคาร์บอน Restoring & Protecting Blue Carbon Habitats พวกเขากำลังช่วยเหลือภารกิจนี้ในพื้นที่ต่าง ๆ และคาดหวังจะได้เห็นการนำแนวทางนี้ไปใช้ในประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วาระของบลูคาร์บอน Blue Carbon กำลังได้รับแรงผลักดันในพื้นที่ และการยกระดับขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คน และประเทศต่างๆ จะเป็นกำลังสำคัญในบทบาทที่มีความหมายมากขึ้น ..
กรอบความพร้อม Readiness Framework เป็นส่วนเสริมของแนวทางนี้ โดยมีองค์ประกอบ หรือเงื่อนไขพื้นฐานทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยมี 3 เสาหลัก ได้แก่ :-
1.ข้อมูล และการวิเคราะห์ Data & Analytics – การพัฒนารายการก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการพิจารณาถึงทุนธรรมชาติสีน้ำเงิน Blue Natural Capital ในการตัดสินตกลงใจลงทุน ..
2.นโยบาย และสถาบัน Policies & Institutions – เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเพื่อเพิ่มผลประโยชน์สูงสุดในท้องถิ่นของบลูคาร์บอน Maximize Local Benefits of Blue Carbon และใช้ประโยชน์จากความร่วมมือเพื่อจัดการความเสี่ยง และมีอิทธิพลต่อวาระระดับโลก Manage Risks & Influence the Global Agenda ..
3.การเงิน Finance – ใช้แนวทางแบบองค์รวมในการระดมการเงิน และการเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อความพร้อมสำหรับการดำเนินโครงการ Blue Carbon ของประเทศต่างๆ, ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน เพื่อการพัฒนาตลาด และการระบุห่วงโซ่คุณค่าเพื่อลดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ..
อย่างไรก็ตาม ด้วยความจริงเชิงประจักษ์ที่ว่า หากมนุษยชาติไม่ร่วมมือกันฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง และทางทะเล Coastal & Marine Ecosystems อันมีค่าเหล่านี้ เราก็จะสูญเสียพื้นที่กักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูง Highly Efficient Natural Carbon Storage Areas นั่นจะหมายถึง คาร์บอนในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้น More Carbon in the Atmosphere ซึ่งเป็นที่รู้อยู่ว่ามีผลกระทบที่สร้างความเสียหายร้ายแรงอย่างไรต่อสภาพภูมิอากาศของโลก Earth’s Climate ที่มนุษยชาติไม่อาจยอมให้เกิดขึ้นได้จากนี้ไป มิฉะนั้น การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ Mass Extinction ก็อาจตามมาพร้อมด้วยในที่สุด ..
ตัวอย่างบลูคาร์บอน Blue Carbon ในอ่าวไทยตะวันตกของประเทศไทย Western Gulf of Thailand ..
ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง และทางทะเล Coastal & Marine Ecosystems แสดงบทบาทสำคัญในวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลก Major Role in the Global Carbon Cycle .. ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งที่เชื่อมโยงกัน Connected Marine & Coastal Ecosystems มักพบเห็นได้ในอ่าวไทยตะวันตก Western Gulf of Thailand .. ไม่ค่อยมีผู้ใดตระหนักรู้เกี่ยวกับศักยภาพของคาร์บอนสีน้ำเงินของระบบนิเวศ และท้องทะเลที่เชื่อมโยงถึงกันเหล่านี้ Blue Carbon Potential of These Interconnected Ecosystems มากนัก ..
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก Global Climate Change ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบทางธรรมชาติ และระบบของมนุษย์ชาติ ทำให้มีความเสี่ยงต่ออันตราย และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ Climate-Related Hazards & Risks ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงมากขึ้น รายงานการประเมิน IPCC Assessment Report : AR ล่าสุด เน้นย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่แพร่หลาย กว้างขวาง และรวดเร็ว จะนำไปสู่การเกิดสภาพอากาศสุดขั้ว Climate Extremes และผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ Adverse Impacts .. นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบระยะยาว Long-Term Impacts ซึ่งเผยให้เห็นขนาดที่ใหญ่กว่าที่สังเกตเห็นได้อยู่ในปัจจุบัน ..
ระบบนิเวศวิทยาทั้งบนบก และทางทะเล Both Terrestrial & Marine Ecosystems ได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ Climate Variability ซึ่งนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ Ecosystem Deterioration, การเปลี่ยนแปลงในการกระจายพันธุ์ และความอุดมสมบูรณ์ Changes in Species Distribution & Abundance และคุณภาพของบริการของระบบนิเวศ Quality of Ecosystem Services .. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ยังสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์ Drastic Impacts on Humans เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์เนื่องจากคุณภาพบริการของระบบนิเวศที่ลดลง ผลกระทบต่อกิจกรรมของมนุษย์ และการดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เป็นต้น ..
เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Impacts กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขในทันที และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สังคมโลก Global Society รวมถึงประเทศไทยด้วย จึงให้ความสนใจอย่างมากกับความพยายามหลายประการในการบรรเทา และปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ สร้างแรงผลักดันสำหรับความมุ่งมั่น และนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นกลาง .. ก๊าซเรือนกระจกสุทธิ GHG ที่ถูกปล่อยคายออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ทั่วโลก ส่งผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นใกล้ถึง 1.5oC เข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC กำลังเร่งเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลก และให้ทุกประเทศมีกรอบการทำงานระดับโลกในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมิให้อุณหภูมิโลกไปถึงจุดนั้น ณ จุดเล็ง 1.5oC ..
หลายประเทศ ได้แปล และสร้างนโยบายของตนเอง ตลอดจนแผนเชิงกลยุทธ์ และการดำเนินงานสำหรับการบรรเทา และปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือต่างๆ และมีการเสนอแนะกลไกต่างๆ เช่น เทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Technology, การลดคาร์บอน Decarbonization, เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน Carbon Capture Technology, โซลูชั่นข้อไขที่อิงธรรมชาติ Nature-Based Solutions, กลไกที่อิงตามตลาด Market-Based Mechanisms เป็นต้น เพื่อนำไปใช้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Targets และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals สำหรับการสนับสนุนการกำหนดมาตรการระดับชาติ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ของประเทศไทย หรือ Nationally Determined Contribution : NDC ..
ทั้งนี้ รัฐบาลไทย มุ่งมั่นที่จะเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas : GHG จาก 30% เป็น 40% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติ และจะพยายามอย่างเต็มที่ต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวของความเป็นกลางทางคาร์บอน Long-Term Goal of Carbon Neutrality ภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emission ภายในปี 2568 .. นอกจากการลดการปล่อยคาร์บอนแล้ว โซลูชั่นข้อไขที่อิงจากธรรมชาติ Nature-Based Solutions ยังกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือใหม่สำหรับการบรรเทาสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากมีความคุ้มค่า และให้ประโยชน์ที่มากมายหลากหลายมาพร้อมด้วย ..
การแก้ปัญหาโดยใช้ข้อไขกลไกทางธรรมชาติ Nature-Based Solutions ของไทยก่อนหน้านี้ มักมุ่งเน้นไปที่ระบบนิเวศบนบก Terrestrial Ecosystems เป็นส่วนใหญ่ .. แต่ในปัจจุบัน บทบาทของระบบนิเวศชายฝั่ง และทางทะเล Roles of Coastal & Marine Ecosystems มีการพูดคุยกันมากขึ้นในฐานะแหล่งกักเก็บคาร์บอนขนาดใหญ่ Carbon Sinks หรือที่เรียกว่า ‘คาร์บอนสีฟ้า Blue Carbon’ ซึ่งคาดการณ์ว่า อย่างน้อย 30% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ในชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ สามารถถูกแยกออกไปในระบบนิเวศพืชพรรณชายฝั่ง Coastal Vegetated Ecosystems เช่น ป่าชายเลน Mangroves, หนองน้ำเค็ม Salt Marshes และทุ่งหญ้าทะเล Seagrass Meadows ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ Important Carbon Sinks เนื่องจากสามารถเก็บเกี่ยวคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ และกักเก็บคาร์บอน Sequestrate Atmospheric Carbon Dioxide & Store Carbon ไว้ในมวลชีวภาพ และตะกอน .. การผนวกรวมสาหร่ายมาโคร Macroalgae เป็นคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon นั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เนื่องจากยังมีช่องว่างความรู้ขนาดใหญ่ Large Knowledge Gap โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจในพวกมันอย่างกระจ่างแจ้ง, การไหลของคาร์บอน Carbon Flux ในวัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ..
งานศึกษาวิจัยในปัจจุบันบางชิ้น ระบุว่า สาหร่ายขนาดใหญ่ Macroalgae โดยเฉพาะป่าสาหร่ายทะเล Kelp Forest คือ บลูคาร์บอนที่เกิดขึ้นใหม่ Emerging Blue Carbon ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยอดเยี่ยมในการบรรเทาผลกระทบต่อสภาพอากาศที่สูงกว่า และความสนใจในการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของสาหร่ายขนาดใหญ่ในฐานะบลูคาร์บอน Blue Carbon ที่กำลังเติบโตขึ้นมากในชุมชนวิทยาศาสตร์ .. คาดหมายว่า ป่าชายเลนกักเก็บคาร์บอนได้ อยู่ที่ค่าเฉลี่ยของ 937 tC/Hectare โดยมีการฝังเก็บคาร์บอน ประมาณ 174 gC m-2 ต่อปี พื้นหญ้าทะเล Seagrass Beds สามารถกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ได้ 19.9 Pg ..
การประมาณการปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศหญ้าทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยให้เห็นว่า การกักเก็บคาร์บอนทั้งหมดภายในทุ่งหญ้าทะเล/ป่าหญ้าทะเล มีค่าอยู่ที่ประมาณ 121.9 Mg/Hectare โดยมีความสามารถในการสะสม 5.8-6.8 Tg C ต่อปี และระบบนิเวศของหนองน้ำเค็ม Saltmarsh Ecosystem สามารถกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์สาร Organic Carbon ได้ระหว่าง 0.4-6.5 Pg ในตะกอน Sediments และประมาณ 4.8-87.3 Tg C ถูกเก็บไว้ในชีวมวล Biomass ..
สำหรับตัวอย่างในประเทศไทยนั้น การศึกษาวิจัยของไทยเพื่อวัดปริมาณคาร์บอนสีน้ำเงิน Quantify Blue Carbon Stocks ในระบบนิเวศชายฝั่งหญ้าทะเล แนวปะการัง และทรายที่เชื่อมโยงถึงกัน Seagrass-Coral Reef-Sandy Coastal Interconnected Ecosystems ที่เกาะสมุย อ่าวไทยตะวันตก Samui Island, the Western Gulf of Thailand พบว่า ในพื้นที่ศึกษาแต่ละแห่ง ตัวอย่างของหญ้าทะเล สาหร่าย และตะกอนถูกรวบรวมจากโซนต่าง ๆ ตามแนวตัดผ่านของแหล่งที่อยู่อาศัยของหาดทราย หญ้าทะเล ก้นพื้นทะเล และแนวปะการังที่เชื่อมต่อถึงกัน Different Zones Along a Transect of Interconnected Sandy Beach-Seagrass Bed-Coral Reef Habitats และปริมาณมวลคาร์บอนอินทรีย์สารถูกวัดปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ Organic Carbon Contents were Quantified Using Elemental Analysis และการสูญเสียอื่นๆ ระบุว่า แหล่งที่อยู่อาศัย Habitats อาจให้โอกาสบลูคาร์บอน Blue Carbon ด้วยพื้นที่รวม 178.04 เฮกตาร์ Hectares ประกอบด้วยทราย 47.70 เฮกตาร์, หญ้าทะเล 122.44 เฮกตาร์, สาหร่ายขนาดใหญ่ 2.40 เฮกตาร์ และปะการังที่มีชีวิต 5.50 เฮกตาร์ ทั้งนี้ ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บ Carbon Storage โดยประมาณ อยู่ที่ 9,222.75 Megagramme of Carbon : Mg C or Tone of Carbon ประกอบด้วย การกักเก็บอยู่ในตะกอน 74.03% ส่วนที่เหลือเป็นชีวมวล Biomass อยู่ที่ 25.97% และประมาณ 96% ของพื้นที่กักเก็บคาร์บอนทั้งหมด ตรวจพบในแปลงหญ้าทะเล 122.44 เฮคเตอร์ โดยมีจำนวนคาร์บอนกักเก็บรวม 8,876.99 Mg C ซึ่งประกอบด้วย 8,781.01 Mg C และ 95.98 Mg C ของหญ้าทะเลตื้น และลึก ตามลำดับ .. ปริมาณคาร์บอนในหญ้าทะเล ชีวมวลสาหร่าย และตะกอน อยู่ระหว่าง 1.58-19.10 Mg C / Hectares, 2.51-10.45 Mg C / Hectares และ 0.93 – 58.46 Mg C / Hectares ตามลำดับเช่นกัน .. เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในแต่ละพื้นที่ศึกษาแล้ว เกาะแตน Ko Tan มีค่าการกักเก็บคาร์บอนสูงสุด Highest Value of Carbon Storage คิดเป็น 4,232.21 Mg C รองลงมา คือ อ่าวพังกา Phangka Bay ปริมาณการกักเก็บคาร์บอน Carbon Storage อยู่ที่ 2,901.83 Mg C, อ่าวท้องโตนด Thong Tanod Bay 1,459.57 Mg C และเกาะมัดสุม Ko Mudsum อยู่ที่ 629.14 Mg C ..
ปริมาณกักเก็บคาร์บอน Quantities of Carbon Stocks ในระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems ในฐานะ Carbon Sinks แตกต่างกันมากในหมู่แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลขนาดเล็ก Microhabitats และการเชื่อมโยงของระบบนิเวศชายฝั่ง และทางทะเลเหล่านี้ อาจสนับสนุนศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศที่เชื่อมต่อถึงกันให้เพิ่มขึ้นไปอีกมากอีกด้วย .. ท้ายที่สุดแล้ว ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยของไทย ได้ให้ข้อมูลพื้นฐานที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ รวมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบนิเวศชายฝั่งที่เชื่อมโยงถึงกัน Interconnected Coastal Ecosystems ในการเก็บเกี่ยว และกักเก็บคาร์บอน Carbon Sequestration & Storage ที่ไม่ควรมองข้ามในอนาคตจากนี้ไป ..
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ความเข้าใจในบทบาท และขีดความสามารถของพวกมันในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความไม่แน่นอน และความน่าเชื่อถือของการใช้ระบบนิเวศบลูคาร์บอนเหล่านี้ ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่บ้างในประเด็นการคำนวณก็ตาม แต่การสร้าง อนุรักษ์ และการฟื้นฟูระบบนิเวศบลูคาร์บอน Build, Conservation & Restoration of Blue Carbon Ecosystems ยังให้ผลประโยชน์ร่วมกันอื่นๆ อีกมากมายในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ Enhanced Biodiversity, เพิ่มทรัพยากรประมง Increased Fisheries Resources, และปรับปรุงคุณภาพน้ำ Improved Water Quality และบริการระบบนิเวศอื่นๆ Other Ecosystem Services รวมทั้งการเพาะปลูกพืชพันธุ์ สาหร่าย ป่าไม้ใต้ทะเล เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และพลาสติกที่ยั่งยืน Sustainable Fuels & Plastics ตอบสนองความต้องการในอนาคตโดยไม่มีความขัดแย้งการจัดสรรทรัพยากรในการผลิตอาหารบนพื้นที่บนบกอีกด้วย ..
ทั้งนี้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems ของไทยในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก Western Gulf of Thailand แล้ว ยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลอีกมากมายที่มีระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems ศักยภาพสูง สามารถดูดซับ CO2 จากชั้นบรรยากาศ และปล่อยคาย O2 ปริมาณมหาศาลออกสู่บรรยากาศไปพร้อมด้วยได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น พื้นที่ระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ในจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด รวมถึง ระนอง ตรัง เพชรบุรี ประจวบคิรีขันธ์ ชุมพร พังงา และจังหวัดกระบี่ เป็นต้น ซึ่งภาครัฐจะต้องตระหนักรู้ และวางกรอบนโยบายภาครัฐของไทยที่เหมาะสมในอนาคตจากนี้ไป เพื่อมีส่วนร่วมกับนานาประเทศในการบำรุงรักษาสุขภาพของโลกใบนี้ไปสู่วัฏจักรคาร์บอนที่ยั่งยืนกว่า More Sustainable Carbon Cycle ให้บรรลุความสำเร็จได้ในที่สุด ..
คาดการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market ..
โดยทั่วไป ตลาดการซื้อขายคาร์บอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ Mandatory Carbon Market ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้กำหนดบังคับ และกำกับดูแลด้วยการใช้กฎหมาย เพื่อไม่ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด Legally Binding Target กับ ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market ซึ่งหมายถึง ตลาดที่จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการ หรือองค์กร รวมทั้งภาคประชาสังคม เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ .. คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่ได้จากโครงการต่าง ๆ สามารถนำมาซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจได้ และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าว เพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด เป็นต้น ..
ขนาดธุรกิจตลาดคาร์บอนออฟเซ็ต/คาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Offset/Carbon Credit Marketจะเพิ่มขึ้นจาก 469.12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 เป็น 4,098.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2576 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 24.32% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2576 .. ความต้องการใช้คาร์บอนเครดิต Demand of Carbon Credits คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคตอันใกล้จากนี้ไป เนื่องจากจำนวนภาระผูกพันการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Commitments ขององค์กรที่เพิ่มขึ้น .. การซื้อคาร์บอนเครดิต Purchasing Carbon Credits ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ กลายเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon-Neutral ในปัจจุบัน ขณะที่พวกเขา ยังคงมุ่งทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ต่อเนื่องไปพร้อมด้วย ..
ปัจจุบัน คาร์บอนเครดิต Carbon Credit หรือเครดิตออฟเซ็ต Offset Credit คือ เครื่องมือที่สามารถถ่ายโอนกันได้ซึ่งได้รับการรับรองโดยภาครัฐ หรือหน่วยงานรับรองอิสระ เพื่อแสดงถึงการลดการปล่อยก๊าซที่สามารถซื้อ หรือขายกันได้ ทั้งที่เป็นค่าชดเชย และค่าเครดิต โดยจะถูกวัดเป็นตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e .. การชดเชยคาร์บอน Carbon Offset หรือคาร์บอนเครดิต Carbon Credit ปริมาณ 1 ตัน แสดงถึงการลด หรือกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ปริมาณ 1 ตัน หรือเทียบเท่าในก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ..
ทั้งนี้ บลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits คือ อีกส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases: GHGs ในบรรยากาศด้วยศักยภาพของระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems .. ในโปรแกรมที่กำลังเริ่มขึ้นเหล่านี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกจำกัด จากนั้นตลาดจะถูกใช้เพื่อจัดสรรการปล่อยก๊าซระหว่างกลุ่มของแหล่งที่มาที่ได้รับการควบคุม .. เป้าหมาย คือ เพื่อให้กลไกตลาดขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆ จากศักยภาพของทะเลชายฝั่ง เนื่องจากโครงการเหล่านี้ คาดว่าจะสามารถสร้างเครดิตชดเชยด้วยคุณภาพ และมูลค่าสูงที่น่าสนใจ .. แนวทางนี้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นเงินทุนสำหรับแผนงานลดคาร์บอนระหว่างประเทศคู่ค้าทั่วโลกได้ ..
สำหรับในประเด็นราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Price ของไทยนั้น พบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2559 มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 846,000.-บาท เพิ่มขึ้นเป็น 124,762,420.-บาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 147 เท่า ในช่วงที่ผ่านมา โดยราคาคาร์บอนเฉลี่ยต่อตัน มีราคาเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 149.97 บาทต่อตัน .. ทั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยจาก อบก.หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO ว่า ปริมาณ และมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตCarbon Credit Trading ของประเทศไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 เติบโตมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-218 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e ..
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาคาร์บอนเครดิต Price Mechanism of Carbon Credits ของต่างประเทศ พบว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ มีราคาสูงกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของไทยมาก ตัวอย่างเช่น ระบบ EU ETS : Emissions Trading System ของสหภาพยุโรป มีราคาอยู่ที่ 73.27 ยูโรต่อตัน เท่ากับประมาณ 2,707.07 บาทต่อตัน เป็นต้น .. แม้ว่าปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตของไทยจะต่ำกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ แต่ในอนาคตคาดหมายได้ว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของไทย Price of Carbon Credits in Thailand มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากกรมสรรพสามิต เริ่มศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax และคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนได้ ภายในปี 2567 นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาคาร์บอนเครดิตของไทย นั้น สูงขึ้นตามไปพร้อมด้วย ..
ทั้งนี้ แนวโน้ม และทิศทางตลาดคาร์บอนเครดิตระดับโลก Global Carbon Credit Market ที่ McKinsey คาดการณ์ไว้นั้น ความต้องการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในปี 2573 จะเติบโตสูงมากถึง 15 เท่าเทียบเคียงจากปี 2563 และเติบโตมากถึง 100 เท่าในปี 2593 สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต Future Carbon Credit Trading มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไปทั่วโลก ..
สำหรับตลาดในประเทศไทยนั้น องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO หรือ อบก.ระบุว่า ส่วนหนึ่งมาจากสถิติการรับรองคาร์บอนเครดิตของโครงการ T-VER ประเภทพลังงานทดแทน มีการรับรองคาร์บอนเครดิตเข้าสู่ตลาดคาร์บอนสูงมากที่สุด ในจำนวนกว่า 8.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e คิดเป็น 59.57% ของปริมาณคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่มีการรับรองจาก อบก. ทั้งหมด หมายถึง คาร์บอนเครดิต Carbon Credits จากการประกอบกิจการพลังงานทดแทน คือ โอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจในตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ของไทยมากที่สุด ..
ปัจจุบัน ระบบนิเวศวิทยา Ecosystems ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นไปได้ในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation ด้วยศักยภาพในการการดักจับ และจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Capturing & Storing CO2 จากชั้นบรรยากาศที่ยอดเยี่ยม ทำให้ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง และทางทะเล Coastal & Marine Ecosystems ได้รับชื่อเสียงใหม่ในฐานะ ‘ระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems’ หรือ ‘บลูคาร์บอน Blue Carbon’ มาพร้อมด้วยนั่นเอง ..
ตลาดบลูคาร์บอน Blue Carbon Markets ที่ได้รับการยอมรับจากนี้ไป คือแรงบันดาลใจให้กับแนวคิดในโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ซึ่งโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศเหล่านี้ Restoring These Ecosystems จะสร้าง “เครดิต Credits” ตามปริมาณน้ำหนักเป็นตันๆ ของคาร์บอนที่จัดเก็บไว้ได้ Tons of Carbon Captured & Stored .. จากนั้น เครดิต Credits จะถูกขายให้กับผู้ซื้อทั่วโลก เช่น ธุรกิจที่ต้องการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนของตนเอง Offset Their Own Carbon Emissions เป็นต้น ..
ตลาดบลูคาร์บอน Blue Carbon Markets ถือว่า ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับตลาดสำหรับการกักเก็บคาร์บอนบนที่ดิน หรือบนบก เช่น การปลูกต้นไม้ Tree Planting .. แต่คาดหมายได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะมีศักยภาพที่ยอดเยี่ยมในฐานะส่วนหนึ่งของความต้องการคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Demand for Carbon Credits ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 15 เท่าจากระดับปี 2563 และจะมีมูลค่าสูงถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ตามรายงานของ Taskforce on Scaling Voluntary Carbon Markets: TSVCM ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำโดยมาร์ก คาร์นีย์ Mark Carney นายธนาคาร และนักเศรษฐศาสตร์ .. Trove Research ประมาณการมูลค่าของตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ในปี 2564 อยู่ที่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ก็พบว่า ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market มีมูลค่าสูงขึ้นเกินคาดหมาย อยู่ที่ 1.5-1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ในปี 2565 ที่ผ่านมา ..
จนถึงขณะนี้ มีโครงการเพียงไม่กี่โครงการเท่านั้นที่ได้รับการรับรองให้ขายบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits ได้ .. ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในประเทศเคนยา บริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองชดเชยคาร์บอนSpecialist Offset-Certification Companies เช่น บริษัท Plan Vivo และ Verra ขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits เหล่านี้ในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market โดยปัจจุบันราคาสูง เนื่องจากความต้องการมีสูงกว่าอุปทานเป็นอย่างมาก เป็นต้น ..
บริษัทหลายแห่งทั่วโลก ยังสนใจที่จะลงทุนในโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects เหล่านี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Mitigate their Carbon Footprint และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่ง Contribute to the Conservation of Coastal Ecosystems .. บริษัทฯ ชื่อดังบางแห่ง ได้แก่ Microsoft, Airbnb และ Shell แสดงท่าทีชัดเจนสำหรับแผนงาน และโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon ในหลายพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วโลก รวมทั้ง Conservation International ในฐานะหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Non-Profit Organizations อีกหลายๆ องค์กร และหน่วยงานภาครัฐ Government Agencies หลายแห่งที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูบลูคาร์บอน Blue Carbon Conservation & Restoration ตลอดจนร่วมมือกันในการเปลี่ยนป่าชายเลน จำนวนอย่างน้อย 11,000 เอเคอร์ Acres of Mangroves ให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน Carbon Sequestration & Storage ซึ่งจะถูกแปลงเป็นบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits ราคาสูงในตลาดได้ต่อไป ..
นักพัฒนาโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Project Developers บางราย อาจเสนอโอกาสในการลงทุนให้กับทุกคนในตลาดเงิน ตลาดทุน ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ อาจอยู่ในรูปแบบของตราสารทุน หรือการจัดหาเงินกู้ Form of Equity or Debt Financing และผลตอบแทนที่จะได้รับอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสำเร็จของโครงการ .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า ตลาดบลูคาร์บอนทั่วโลก Global Blue Carbon Markets จะเติบโตได้รวดเร็วกว่าตลาดคาร์บอนป่าฝนเขตร้อน Tropical Rainforests Carbon Markets อย่างน้อย 40 เท่า ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2576 ..
สรุปส่งท้าย ..
ระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems จะทำหน้าที่ยึดจับคาร์บอน และกักเก็บไว้ตราบนานเท่านาน ซึ่งบลูคาร์บอน Blue Carbon นั้น คือคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ถูกระบบนิเวศชายฝั่ง และมหาสมุทร จัดเก็บเอาไว้ตามธรรมชาติ ซึ่งคาร์บอนเหล่านี้ จะถูกป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเล กักเก็บเอาไว้ยาวนานในปริมาณที่มากกว่า และรวดเร็วกว่าศักยภาพการดูดซับคาร์บอนของป่าฝนบนแผ่นดินต่อพื้นที่อยู่ที่หลายเท่าตัว หรืออย่างน้อย 10 เท่า ..
เป็นเรื่องยากที่จะทุ่มเงินลงทุนให้กับโอกาสทางการเงิน Financial Opportunities ที่คาร์บอนเครดิต Carbon Credits อาจมีไว้สำหรับประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon-Rich Countries แต่การศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ประมาณการว่า ป่าชายเลน Mangroves กักเก็บคาร์บอนได้อย่างน้อยประมาณ 6.5 GT ต่อปีทั่วโลก เทียบกับ 2.0 GT สำหรับบึงเกลือ Salt Marshes และ 2.3 GT สำหรับหญ้าทะเล Seagrasses ..
อย่างไรก็ตาม แหล่งที่อยู่อาศัย Habitats สิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity เหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงที่ป่าชายเลนมากกว่า 1 ล้านเฮคเตอร์ A Million Hectares of Mangroves ได้สูญหายไป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 หรือ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา .. สิ่งนี้ทำให้ป่าชายเลน Mangroves มีคุณค่าอย่างยิ่งในตลาดคาร์บอน Carbon Markets เนื่องจากแนวคิดที่สำคัญว่า หากไม่ได้รับเงินทุนจากการขายบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions Reductions เพิ่มเติมในปริมาณที่เหมาะสมก็จะไม่เกิดขึ้น ..
ผลการศึกษาในปี 2564 พบว่า 20% ของป่าชายเลนในโลก World’s Mangroves ตกอยู่ในอันตราย จึงมีคุณสมบัติได้รับคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ตามการเพิ่มเติม ด้วยราคาคาร์บอนเครดิต 9.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งถือว่ายังเป็นราคาที่ต่ำมาก .. อย่างไรก็ตาม หลายโครงการที่ยังคงสามารถทำกำไรได้ สามารถสร้างยอดขายได้ 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี .. ป่าชายเลน Mangroves ที่สามารถลงทุนในโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ได้เหล่านี้ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia และแปซิฟิก Pacific รวมถึงประเทศไทยด้วย แม้ว่ามาดากัสการ์ และไนจีเรีย ก็มีพื้นที่ป่าชายเลนที่ทำกำไรได้จำนวนมากด้วยเช่นกัน ..
ปัจจุบัน การชดเชยคาร์บอนตามธรรมชาติ Nature-Based carbon Offsets มีราคาต่ำกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯต่อเครดิตในตลาดสมัครใจ Voluntary Market ซึ่งลดลงอย่างมากจากมูลค่า 18 เหรียญสหรัฐฯ ในต้นปี 2565 แต่เชื่อว่า บลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits สามารถให้ราคาที่สูงกว่าได้ เนื่องจากความสำคัญของระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ที่ได้รับการยอมรับ และประโยชน์ของแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทะเลชายฝั่ง Ecosystem Benefits of Coastal Habitats รวมถึงผู้คนในพื้นที่ ..
ในขณะเดียวกัน โครงการบลูคาร์บอนขนาดใหญ่หลายโครงการได้เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำภาคส่วนนี้ไปสู่จุดสูงสุดใหม่ได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่าชายเลน และหนองน้ำขึ้นน้ำลงในพื้นที่ 350,000 เฮกตาร์ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสินธุของปากีสถาน ทำให้พวกมัน คือหนึ่งในโครงการบลูคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา .. โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนอีกโครงการหนึ่งในรัฐซีนาโลอาของเม็กซิโก สามารถแยกการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 3 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งพวกมันยอดเยี่ยมมาก ..
อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนเพื่อรับเครดิตอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ทั้งนี้ การขาดการศึกษาวิจัยที่ลึกซึ้งเพียงพอเกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems และระบบนิเวศวิทยาในมหาสมุทร Ocean Ecosystems ในพื้นที่ชายฝั่งที่มีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้การพัฒนาบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits ล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากลำบากในการเข้าถึงระบบนิเวศดังกล่าวอาจขัดขวางการดำเนินโครงการในประเทศที่มีรายได้น้อย ..
แม้ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Green & Clean Energy เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสามารถคงค้างอยู่ และยังคงก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนต่อเนื่องไปเป็นเวลาหลายศตวรรษ ดังนั้น โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ซึ่งเป็นการปรับสภาพภูมิอากาศของโลกในวงกว้างด้วยศักยภาพของระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems จึงกลายเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การสำรวจ ตรวจสอบ เพื่อใช้งาน เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกช้าเกินไปที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ..
ในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคทางภูมิวิศวกรรม Geoengineering นั้น การทำให้โลกเย็นลง มิใช่เรื่องยาก แต่การตัดสินตกลงใจที่จะใช้พวกมันจริงๆ เพื่อลดอุณหภูมิโลกของฝ่ายการเมือง กลับดูยากเย็นแสนเข็ญอย่างยิ่ง เนื่องจากยังมีผู้คนที่ไม่เข้าใจ และกังวลไม่เห็นด้วยที่จะใช้พวกมันอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ..
มนุษยชาติ ได้ใช้มาตรการมากมาย เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ที่ไม่พึงประสงค์ และมุ่งมั่นสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions รวมทั้งหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ ณ จุดเล็ง 1.5oC ให้ได้ ภายในปี 2593 แต่ดูเสมือนว่า มาตรการระดับนานาชาติเหล่านี้ จะไม่ได้ผลเท่าที่ควรตามที่คาดหวังไว้ ..
การยกเลิกการบริโภคพลังงานจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Based Energy Sources เป็นหลัก ด้วยการเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Transition to Renewable Energy Sources เป็นแหล่งพลังงานหลักทดแทนในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาตินั้น ยังไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด .. ดังนั้น บางที การตัดสินตกลงใจของนานาประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยที่จะประยุกต์ใช้โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects เป็นเครื่องมือหลักด้วยการเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems เพื่อให้ทะเลชายฝั่ง ทำหน้าที่เป็นอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks และปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมหาศาลออกสู่ธรรมชาติ ให้สัดส่วนของก๊าซในบรรยากาศเข้าสู่สมดุลธรรมชาติในตัวของมันเองด้วยวัฏจักรคาร์บอนโลก Global Carbon Cycle และกระจายออกไปในวงกว้างทั่วโลกจากนี้ไปนั้น กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในความสำคัญจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์วิกฤติสภาพอากาศ Counteract Climate Crisis และหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ ณ จุดเล็ง 1.5oC ภายในปี 2593 ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
…………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By …โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
What You Need to Know About Blue Carbon | World Bank :-
https://www.worldbank.org/en/news/feature/2023/11/21/what-you-need-to-know-about-blue-carbon
Blue Carbon | Wikipedia :-
https://en.wikipedia.org/wiki/Blue_carbon
What is Blue Carbon? | National Ocean Service :-
The Blue Carbon Initiative | Conservation International :-
https://www.thebluecarboninitiative.org
Quantifying Blue Carbon Stocks in Interconnected Seagrass, Coral Reef & Sandy Coastline Ecosystems in the Western Gulf of Thailand | Frontiers :-
https://www.frontiersin.org/journals/marine-science/articles/10.3389/fmars.2024.1297286/full
Government Urged to Focus on Blue Carbon Action | PBS :-
https://www.thaipbsworld.com/government-urged-to-focus-on-blue-carbon-action
Global Carbon Offset/Carbon Credit Market | Spherical Insights & Consulting :-
https://finance.yahoo.com/news/global-carbon-offset-carbon-credit-120000375.html
Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-
https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7
Net Zero Emissions Electricity :-
https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-
https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9
Blue Carbon : Plants & Trees in Coastal Ecosystems Absorb Carbon Dioxide through Photosynthesis :-