วันพุธ, เมษายน 24, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSGreen Finance การปรากฏตัวของภาคการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Green Finance การปรากฏตัวของภาคการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน

The Rise of Green Finance & Making Finance Sustainable

“…ภาคการเงินมีพลังมหาศาลในการระดมทุน และสร้างความตระหนักในประเด็นระบบพลังงานโลกที่มีความยั่งยืน Global Sustainable Energy Solutions: GSES…”

ไม่ว่าจะโดยการลงทุนในกรอบการวิจัย และพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งระบบจัดเก็บพลังงานรูปแบบต่าง ๆ หรือสนับสนุนธุรกิจเกี่ยวข้องที่ดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม และยั่งยืน ..

การเงินสีเขียว Green Finance หรือการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance หมายถึง การตัดสินใจลงทุนที่คำนึงถึง ‘ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environmental, Social & Governance: ESG’ สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคม หรือโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ..

Green Finance / New Scenarios to Help Global Finance Go Green | Credit: Del Report

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Factors หมายรวมถึง การบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis หรือการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน Sustainable Resources .. ปัจจัยทางสังคม Social Factors ได้แก่ สิทธิมนุษยชน และสัตว์ Human & Animal Rights ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภค Consumer Protection และการกระจายจ้างงานที่หลากหลายเท่าเทียม Diverse Hiring Practices .. ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล Governance Factors หมายถึง การบริหารจัดการ Management, พนักงานสัมพันธ์ Employee Relations และค่าตอบแทนของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เป็นธรรม และยั่งยืน

ปัจจุบัน ปริมาณเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่ภาคการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน Sustainable Green Finance ในจังหวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน .. แต่ในขณะที่บริษัทข้ามชาติฯ มากมาย และประเทศต่าง ๆ ด้วยการลงทุนจากภาครัฐ บริการสาธารณะ และภาคเอกชน Public Sector & Private Sector ได้อัดฉีดเงินสดปริมาณมหาศาลเข้าสู่โครงการด้านสภาพอากาศ ระบบพลังงานสะอาด และโครงการเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง และผู้รับผลกำไรได้ชัดเจนอย่างไรจึงจะเหมาะสมสอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์ และเป็นธรรม ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพื่อให้บรรลุความสำเร็จไปสู่สังคมโลกด้วยคุณภาพชีวิตที่เหนือชั้นกว่า ..

กองทุน Green Climate Fund: GCF ด้วยแรงผลักมากกว่า 350 แนวคิดกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน Private Sector เพื่อกอบกู้วิกฤติสภาพอากาศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ..

Green Climate Fund: GCF ได้ออก Request for Proposals เพื่อระดมเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในประเทศกำลังพัฒนามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ .. พวกเขากำลังแสวงหาแนวคิดการลงทุนที่กล้าหาญเพื่อระดมเงินทุนจากภาคเอกชน Private Sector สำหรับโครงการที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ Low – Emission Project รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศจากวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ที่ยืดหยุ่นได้ดีกว่า โดยไม่ปล่อยให้เป็นเพียงภาระของภาครัฐในแต่ละประเทศเท่านั้น แต่เป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั่วทั้งระบบในปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ภาคการเงินสีเขียว Green Finance หรือการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance เพื่อไปสู่ระบบเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ที่สะอาดกว่า รวมทั้งผนวกปัจจัยทางสังคม และธรรมาภิบาลไปพร้อมด้วยสำหรับการนิยามที่กว้างขวางขึ้น ..

กองทุน Green Climate Fund: GCF เป็นกองทุนระดับโลกใหม่ที่สร้างขึ้นโดย 194 ประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC or FCCC .. การสนับสนุนความพยายามของประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพด้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว สำหรับแหล่งเงินลงทุน และงบอุดหนุนทั้งจากภาครัฐ และเอกชนที่มีศักยภาพทั่วโลกในการตอบสนองต่อความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือประเด็นสำคัญหลัก .. Green Climate Fund: GCF ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมสำหรับการจำกัด หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reduce their Greenhouse Gas Emissions และปรับแผนงานให้สอดคล้องกับนานาประเทศเพื่อร่วมกันกอบกู้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ..

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในภาคการเงินสีเขียว Green Finance รวมทั้งการลงทุนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การปล่อยมลพิษต่ำ และปกป้องสภาพภูมิอากาศที่มีความยืดหยุ่นกว่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยคำนึงถึงความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ และความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะไปพร้อมด้วย กลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ทั่วโลกเดินหน้าไปพร้อมกันบนเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero ได้สำเร็จในที่สุด ..

กิจการงานในภาคการเงินที่ยั่งยืนกำลังเพิ่มขึ้น Sustainable Finance Jobs on the Rise ..

การลงทุนในธุรกิจ และโครงการต่าง ๆ ที่มีแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ Environmental, Social & Governance: ESG ที่ยั่งยืนกำลังเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับความต้องการผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่มีความชำนาญเฉพาะในกลุ่มงานเหล่านี้ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน .. Bloomberg ได้รายงานเกี่ยวกับแนวโน้ม โดยระบุว่า ภาคการเงิน กลายเป็นหนึ่งในสาขาอันเป็นที่ต้องการมากที่สุดในเอเชีย ..

“ลูกค้าเข้าใจดีว่า กลุ่มผู้มีความสามารถมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากในการหาผู้มีประวัติการทำงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว .. ประสบการณ์การลงทุนในโครงการ Environmental, Social & Governance: ESG ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐ และเอกชน ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มาก” .. Arthur Leung ที่ปรึกษาด้านบริการทางการเงินของบริษัทที่ปรึกษา Egon Zehnder กล่าวในฮ่องกง อ้างโดย Bloomberg Green “พวกเขาเข้าใจถึงความสามารถที่หายาก และส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายแพงสำหรับบทบาทนี้” ..

Perspectives Sustainable Finance: ESG / Sustainable Finance มีแรงหนุนจากการเปลี่ยน Mindset ทางธุรกิจ | Credit: esg.theasset

Harvard Extension School เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทด้านความยั่งยืน Sustainability และมีประกาศนียบัตรบัณฑิตหกใบในสาขานี้ .. โปรแกรมการศึกษาเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมพนักงานภาคการเงินสีเขียวสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน เนื่องจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้น ..

ผลการประชุม COP26 ล่าสุดโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ รวมทั้ง 6 ข้อไขสำคัญ The Six – Sector Solution to the Climate Crisis ของ United Nations Environment Programme: UNEP ทำให้เกิดกรณีเร่งด่วนในการบูรณาการ Environmental, Social & Governance: ESG เข้ากับปัจจัยอื่น ๆ ในการตัดสินใจลงทุนเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเชิงบวกอย่างรวดเร็ว และนำไปปฏิบัติได้ ..

Green Financing | Credit: UNEP | United Nations Environment Programme

แนวความคิดทางธุรกิจยั่งยืน ‘Sustainable Business’ มีอิทธิพลสูงมากต่อการดำเนินธุรกิจ .. ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภค มิได้เพียงเริ่มจะไม่ใช้ราคาในการตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือไม่ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่เริ่มมองลึกลงไปถึงที่มาของสินค้าว่าทำมาจากอะไร การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต มีการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ผู้บริหารมีจริยธรรมไหม มีการศึกษาถึงคุณค่าของแบรนด์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ มีความตระหนัก ตื่นตัวมากขึ้นกับสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันของโลก .. หากในกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน หรือ ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง มีการละเมิด หรือไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว การรณรงค์ไม่สนับสนุนให้ซื้อสินค้าเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้น และข้อมูลเหล่านี้จะกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ..

ปัจจุบัน ธุรกิจยั่งยืน Sustainable Business ได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมที่สร้างความปั่นป่วนในวงการธุรกิจ .. ครั้งหนึ่ง ผู้คนอาจคิดว่ามันเป็นเพียงการตลาด หรือการเล่าเรื่อง .. วันนี้ ผู้นำในพื้นที่เศรษฐกิจสีเขียวกำลังแสดงให้เห็นว่า แนวคิดที่แตกต่างไปเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ให้มูลค่าทางธุรกิจมากขึ้นได้ ในขณะที่องค์กรธุรกิจสามารถส่งมอบผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้คน และโลกใบนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ..

ทั้งนี้ หากการเรียนรู้ทักษะ และความสามารถทางธุรกิจยั่งยืนใหม่ ๆ กำลังทำให้บริษัทต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมากขึ้น เช่นเดียวกับภาคการเงินในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ บางทีอาจไม่มีที่ใดที่จะเป็นจริงมากไปกว่าในโลกของการบัญชี และการเงิน ..

ตัวอย่างเช่น ฝ่ายบัญชีจำเป็นต้องเพิ่มทักษะในการรวบรวม การจัดการ การวิเคราะห์ และการรายงานประเภทใหม่ ๆ ของตัวชี้วัดทางธุรกิจ เช่น ต้นทุนพลังงานสะอาด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่องว่างรายได้ที่ต่างกันเพราะเพศสภาพ และตัวชี้วัดด้านจริยธรรม รวมทั้งการต่อต้านการทุจริต เป็นต้น ..

หน่วยงานด้านการเงินจำเป็นต้องจำลองความเสี่ยงตามสัญญาต่าง ๆ ที่ซับซ้อนเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน จุดคุ้มทุนสำหรับโครงการระบบจัดเก็บพลังงานระยะทนยาวขนาดใหญ่ หรือทำการวิเคราะห์งบดุลเทียบกับผลกระทบของกำไร และขาดทุนของการลงทุนในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การแปลงรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle Conversion ไปจนถึงประสิทธิภาพพลังงาน Energy Efficiency รวมถึงการฝึกอบรมสำหรับพนักงาน Training for Employees .. พนักงานการเงิน และทีมธนารักษ์ Treasury teams จำเป็นต้องเข้าใจ Green Bonds และการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อสินเชื่อ หรือการพิจารณาด้านการประกันภัยอย่างไรที่สอดคล้องเหมาะสม ..

กล่าวโดยสรุป แนวคิด Environmental, Social & Governance: ESG กำลังเปลี่ยนแปลงงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินอย่างรวดเร็วไปทั่วทั้งกระดาน .. ในขณะที่การหยุดชะงักนั้นอาจทำให้บางคนล้าหลัง .. ผู้ที่เรียนรู้ และเข้าใจพื้นที่ใหม่เหล่านี้ได้ก่อน จะช่วยให้บริษัทฯ ของพวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เร่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ของบริษัทฯ และสร้างโอกาสในการทำงานให้เกิดความแตกต่างได้อย่างมากในโลกยุคเศรษฐกิจ และสังคมสีเขียว Green Economy & Social จากนี้ไป ..

ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างบริษัท Blackrock ยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุน ยังเสนอให้มีการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังเพื่อบรรลุสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ “Net – Zero” ภายในปี 2593 ซึ่งหมายถึง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมาก .. การที่ผู้จัดการด้านการลงทุนชั้นนำระดับโลกกำลังไล่ตามเป้าหมายที่ทะเยอทะยานนี้นั้นมีความสำคัญยิ่ง .. โลกต้องหยุดชั่วขณะ หายใจเข้าลึก ๆ และคิดว่า จะดำเนินการจัดการกับตัวเลือกต่าง ๆ อย่างไรด้วยทรัพย์สินมูลค่ากว่า 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ Blackrock บริหารจัดการ .. นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับภาคการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance และอาจกลายเป็นแรงผลักสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก Global Economies ที่จำเป็นต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงปารีส Paris Agreement ได้อย่างแท้จริง ..

ทุกธุรกิจบนโลก Every Business on Planet Earth ทั้งทางตรง และทางอ้อม อาศัยความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศทางธรรมชาติ Biodiversity & Natural Ecosystems เป็นต้นทุน .. แต่ความทรุดโทรมของระบบนิเวศ ได้ทำให้ขนาดประชากรของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลาน ลดลงโดยเฉลี่ยอย่างน่าตกใจถึง 68 % นับตั้งแต่ปี 2513 หรือ ค.ศ.1970 ..

ในอดีต พฤติกรรมทางธุรกิจโดยทั่วไปมีศูนย์กลางอยู่ที่ธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรให้ได้มากที่สุด ในขณะที่ผลักดันต้นทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้สู่สังคม และสู่ธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น พลาสติกที่ผลิตขึ้นเพียง 9 % เท่านั้นที่เคยถูกรีไซเคิล .. ความจริงก็คือว่า ทุกชีวิต และวิถีชีวิตถูกสร้างขึ้นบนดาวดวงเดียว โดยอาศัยมนุษย์ในการผลิต ทำ ซื้อ ขายสิ่งของ และด้วยหลักนิติธรรม รวมทั้งข้อกฎหมาย เพื่อปกป้องความสัมพันธ์ตามพันธะสัญญาของผู้เข้าร่วมในตลาดทั้งหมด ..

การบูรณาการ Environmental, Social & Governance: ESG ที่กำลังเพิ่มขึ้นในไม่ช้าจากนี้ไป โครงการ Climate Action 100+ ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มที่นำโดยนักลงทุนเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะดำเนินการที่จำเป็นต่อการต่อสู้กับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือเพื่อกอบกู้วิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis .. โครงการดังกล่าว ได้กระตุ้นนักลงทุนรายใหญ่อย่างน้อย 575 รายที่บริหารเงินมากกว่า 54 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ .. นักลงทุนเหล่านี้ เรียกร้องให้บริษัทฯ ที่มีพอร์ตโฟลิโออย่างน้อย 167 แห่ง ซึ่งคิดเป็น 80 % ของมลพิษทางสภาพอากาศในอุตสาหกรรมทั่วโลก  Global Industrial Climate Pollution ดำเนินการด้วยมาตรการที่จำเป็น Necessary Action เพื่อบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis และใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน Sustainable Resources เพื่อชีวิตที่ดีกว่าสำหรับอนาคตของมนุษยชาติ ..

ภาคการเงินสีเขียว Green Financing สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนสีเขียว Sustainable Green Economy ..

การเงินสีเขียว Green Finance หรือการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance คือ ชุดของกฎระเบียบ มาตรฐาน บรรทัดฐาน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่ออำนวยความสะดวกในการปรับเปลี่ยนระบบพลังงานโลกสู่สังคมคาร์บอนต่ำ Energy Transition และช่วยให้ระบบการเงินเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจ และประชากรโดยการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำรงวัตถุประสงค์ และยังคงเป้าหมายการเติบโต .. แนวความคิดที่มีมายาวนานเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมด้วยการยอมรับจากข้อตกลงด้านสภาพอากาศของกรุงปารีส Paris Climate Agreement ซึ่งกำหนดว่า ฝ่ายต่าง ๆ จะต้องสร้าง “ภาคการเงินที่สอดคล้องกับเส้นทางสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ การพัฒนาที่ยืดหยุ่น และยั่งยืน โดยไม่ส่งผลกระทบเชิงลบใด ๆ ต่อสภาพอากาศ” ..

การเงินสีเขียว Green Finance คือ การเพิ่มระดับการไหลของกระแสการเงิน จากการธนาคาร สินเชื่อขนาดเล็ก การประกันภัย และการลงทุน จากภาครัฐ เอกชน และไม่แสวงหาผลกำไร ไปจนถึงลำดับความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Priorities .. ส่วนสำคัญของสิ่งนี้ ได้แก่ การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมให้ดีขึ้น รวมทั้งใช้โอกาสที่ให้ทั้งอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม และรับมอบความรับผิดชอบต่อสังคมที่สูงขึ้น ..

การจัดหาเงินทุน Green Financing ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถส่งเสริมผ่านการเปลี่ยนแปลงในกรอบการกำกับดูแลของประเทศต่าง ๆ ประสานแรงจูงใจทางการเงินสาธารณะ การเพิ่มการจัดหาเงินทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วนต่าง ๆ การจัดแนวการตัดสินใจด้านการเงินของภาครัฐกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มการลงทุนในด้านพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีสีเขียว การจัดหาเงินทุนสำหรับเศรษฐกิจสีเขียวตามทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจสีน้ำเงินอัจฉริยะด้านสภาพอากาศ เพิ่มการใช้พันธบัตรสีเขียว และอื่น ๆ อีกมากมาย ..

นักลงทุนรุ่นใหม่ New Generation of Investors ต้องการบังคับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม .. แม้แต่นักอนุรักษ์สภาพอากาศก็รู้ดีว่า การเจรจาพูดคุย หรือหารือเรื่องเงิน Money Talks นั้น มันใช่ว่าจะลงตัวได้ง่าย ๆ รวมทั้งการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยโลกได้จริงหรือ ยังเป็นที่สงสัย ..

การลงทุนสีเขียว Green Investment ให้ประโยชน์แก่บริษัทฯ ที่ใช้หลักปฏิบัติในการผลิตที่ยั่งยืน Sustainable Production และปกป้องสิ่งแวดล้อม Protect the Environment .. ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ที่ก่อมลพิษ หรือมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจะถูกตัดเงินออกจากกองทุนสีเขียวเหล่านี้ .. กลยุทธ์นี้แปลงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ครั้งหนึ่งเป็นเพียงข้อพิจารณารอง ให้เป็นข้อพิจารณาหลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของมนุษยชาติ ..

Antonis Schwarz อายุ 30 ปี นักลงทุนผู้มั่งคั่ง ใจบุญ และนักเคลื่อนไหวสีเขียว .. สโลแกนของเขา คือ “เงินสดต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cash against Climate Change” .. Schwarz เช่นเดียวกับผู้มั่งคั่งอีกหลายคน มองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นตัวแปรสำคัญในการลงทุน .. คนเหล่านี้จงใจนำเงินสดไปลงทุนในบริษัทฯ และโครงการที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม ..

Schwarz เชื่อว่า นักลงทุนที่มีศักยภาพ ต้องมีสำนึกความรับผิดชอบพิเศษในการดำเนินการตามกลยุทธ์นี้ .. เขากล่าวว่า “เมื่อคุณสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้ และคุณไม่ได้ทำ เท่ากับแสดงว่า คุณสมรู้ร่วมคิด .. เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อที่เราจะสามารถป้องกันภัยพิบัติจากสภาพอากาศ Climate Disaster ได้” ..

ปรัชญานี้ สามารถสรุปได้ด้วยคำถามว่า “การมีเงินจำนวนมากจะมีประโยชน์อะไร หากมันไร้ค่าเพราะคุณต้องอาศัยอยู่บนโลกที่วุ่นวายมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis” ..

นักลงทุนในสถาบันการเงิน Institutional Investors ต่าง ๆ มีปริมาณเงินในการดำเนินการมากกว่าเอกชนที่ร่ำรวยจะทำได้ .. วิธีการของพวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงไป และมิใช่จากอุดมคติที่บริสุทธิ์ .. เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว และภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ .. พวกเขาสามารถใช้เงินสด และเงินลงทุน บังคับบริษัทฯ มากมายให้ความร่วมมือในมาตรการสีเขียว เพื่อลบล้างความเสียหายมูลค่านับพันล้าน Billions in Damages ที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis และเพื่อให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการทั้งหลายมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน Sustainable Resources เป็นหลักสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนจากนี้ไปได้สำเร็จในที่สุด ..

คาดการณ์ตลาดเทคโนโลยีสีเขียว และตลาดการเงินยั่งยืนทั่วโลก The Global Green Technology & Sustainability Market ..

ขนาดธุรกิจสำหรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Global Green Technology และขนาดตลาดความยั่งยืน Sustainability Market ทั่วโลก มีมูลค่า 10.32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และคาดว่าจะถึง 74.64 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate: CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดเทคโนโลยีสีเขียว และตลาดการเงินยั่งยืนทั่วโลก The Global Green Technology & Sustainability Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR ที่ 21.9 % ในช่วงคาดการณ์ปี 2564 – 2573 ..

เทคโนโลยีสีเขียว Green Technologies รวมถึงโซลูชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจ และความยั่งยืนทางสังคม เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นการผลิตเทคโนโลยีสะอาด การผลิตพลังงานเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล .. นอกจากนี้ เป้าหมายหลักของเทคโนโลยีสีเขียว Green Technologies คือ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในอดีต .. ทั้งนี้ รัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังลงทุนอย่างหนักในเทคโนโลยีสีเขียว เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ และเพื่อลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดอย่างมาก ..

The Global Green Technology & Sustainability Market | Credit: Allied Market Research

ตลาดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนทั่วโลก Global Green Technology & Sustainability Market มีการแบ่งส่วนตามเทคโนโลยี การใช้งาน และภูมิภาค .. โดยในประเด็นเทคโนโลยี ตลาดจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ Internet of Things: IoT, Cloud Computing, ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence และการวิเคราะห์ Analytics, Digital Twin, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ Cybersecurity และบล็อคเชน Blockchain ..

สำหรับบนพื้นฐานของการใช้งาน พวกมันจะถูกแบ่งออกเป็น อาคารสีเขียว Green Building, การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ Carbon Footprint Management, การตรวจสอบและพยากรณ์สภาพอากาศ Weather Monitoring & Forecasting, การตรวจสอบมลพิษทางอากาศและน้ำ Water Pollution Monitoring, การตรวจสอบป่าไม้ Forest Monitoring, การตรวจสอบพืชผล Crop Monitoring, การตรวจสอบสภาพดิน/ความชื้น Soil Condition / Moisture Monitoring, การทำน้ำให้บริสุทธิ์ Water Purification และอื่น ๆ .. ในกรณีแบ่งตลาดตามภูมิภาค ตลาดเทคโนโลยีสีเขียว และตลาดการเงินยั่งยืนในอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงที่คาดการณ์ ตามมาด้วย ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก ..

สำหรับปริมาณเงินลงทุนสำหรับภาคการเงินสีเขียว Green Finance นั้น ได้รับการคาดหมายว่า เป้าหมาย Green Bond ประจำปีจะมีมูลค่าแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นสุดปี 2565 .. ในแบบสำรวจล่าสุด Sean Kidney เรียกร้องในการระดมเงินลงทุนกว่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี สำหรับ Green Finance & Green Bond ภายในปี 2568 ..

ตลาดพันธบัตรสภาพภูมิอากาศ Climate Bonds Market ทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว .. ในช่วงตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2568 .. ไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ได้รับเลือกจากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ใหญ่ที่สุด 25 % เป็นไตรมาสที่การลงทุนในพันธบัตรเพื่อสิ่งแวดล้อมจะผ่านทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในปีเดียว ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 13 % ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 12 % และไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 10 % เป็นคำตอบที่ได้รับความนิยมสูงสุดอันดับถัดไป ..

การลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมประจำปีทั้งหมด ได้แก่ Green Bonds, สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Loans และ การลงทุนด้านพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ แตะระดับสูงถึง 297 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 .. ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2564 การออกพันธบัตรเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับปีปฏิทินอยู่ที่ 354 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าสถิติของปีที่ผ่านมา

การเร่งความเร็วของการเติบโตในตลาดเงินทำให้ Market Intel ของ Climate Bonds เพิ่มสูงขึ้น ณ สิ้นปี 2564 เป็น 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนช่วงต้นเดือนมกราคม 2564 อยู่ที่ 4 – 4.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ..

การเติบโตจนถึงตอนนี้ยังนำปริมาณพันธบัตรสีเขียวสะสม Green Bond ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มาอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ที่มีอยู่ ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า แม้จะมีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อย .. การออกพันธบัตรสีเขียว Green Bonds ประจำปีก็อาจข้ามทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 ได้อย่างสบาย ๆ .. เป้าหมายของการออกหุ้นสีเขียว Climate Bonds มูลค่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2564 ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของการตรากฎหมาย และมาตรการอุดหนุนภาครัฐของแต่ละประเทศขนานใหญ่หลังการประชุม COP26 แสดงให้เห็นว่า ตลาดเทคโนโลยีสีเขียว และตลาดการเงินยั่งยืนทั่วโลก กำลังเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วยความร่วมมือในภาคส่วนการลงทุนด้านการเงินสีเขียว Green Finance ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ..

สรุปส่งท้าย ..

สำหรับภาคการเงินสีเขียว Green Finance ในประเทศไทยนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ผนวกรวมเอาพันธกรณีตามวาระ 2030 ของสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน United Nations’ 2030 Agenda for Sustainable Development และข้อตกลงปารีส Paris Agreement บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี .. แม้ว่าบางคนอาจโต้แย้งว่า ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environmental, Social & Governance: ESG เป็นภัยคุกคามที่อยู่ห่างไกลซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การระบาดใหญ่ของโควิด – 19 ได้แสดงให้เห็นว่า สุขภาพ ระบบสังคม และเศรษฐกิจของไทยเปราะบางเพียงใดสำหรับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ และวิกฤตการณ์ที่รุนแรงรูปแบบต่าง ๆ ..

ความยั่งยืน Sustainability ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในยุคปัจจุบันทั่วโลก ในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการฟื้นฟูความถดถอยทางเศรษฐกิจ และสังคมจากการระบาดใหญ่ของโควิด – 19 .. เราทุกคน หมายถึง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ควรร่วมกันใช้โอกาสนี้เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งไม่เพียงแต่ยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงที่คาดเดาไม่ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าให้กับผู้คนในสังคมได้อีกด้วย ..

ภาคการเงิน Financial Sector มีบทบาทสำคัญในการนำกระแสการเงินไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่แท้จริงสู่ความยั่งยืน .. ธนาคาร Banks สามารถช่วยส่งเสริมธุรกิจ และโครงการที่ยั่งยืน Sustainable Businesses & Projects ผ่านการให้กู้ยืมในฐานะส่วนหนึ่งของแหล่งเงินทุนสำคัญของชาติ เช่น สินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ออกพันธบัตรสีเขียว Green Bonds ด้วยตนเอง เพื่อใช้เป็นเงินทุนในพอร์ตสินเชื่อที่ยั่งยืน Sustainable Lending Portfolios .. ผู้จัดการการจัดจำหน่ายมีส่วนร่วมกับลูกค้าองค์กรในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การระดมทุนที่ยั่งยืนหลายประเภท เช่น พันธบัตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ..

ผู้ลงทุน ได้แก่ ผู้ลงทุนรายย่อย บริษัทประกันภัย และบริษัทจัดการการลงทุน มีส่วนร่วมในการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์เพื่อจัดพอร์ตให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนในระยะยาว .. การเชื่อมโยงความต้องการของผู้ระดมทุน และของนักลงทุน ข้อกำหนดการเปิดเผย ESG จะส่งเสริมประสิทธิภาพเชิงธุรกิจโดยการให้ข้อมูล Environmental, Social & Governance: ESG ที่ถูกต้อง และทันเวลาสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประเมินความเสี่ยง และโอกาส ESG ที่เกี่ยวข้อง .. นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจโดยมาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐ จะสามารถกำหนดทิศทางของประเภทกิจกรรม และการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน Sustainable Activities ตามที่ต้องการได้ ..

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวถึง ส่งผลให้มีการจัดตั้ง คณะทำงานด้านการเงินที่ยั่งยืน Working Group on Sustainable Finance: WG – SF เพื่อให้เกิดความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในวาระการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance Agenda และเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs และเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอน Carbon Emission Reduction Targets ด้วยเศรษฐกิจ 3 แนวคิดสำหรับส่งเสริมการลงทุนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน Board of Investment of Thailand: BOI ไปสู่ระบบเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ได้แก่ Bio Economy เศรษฐกิจฐานชีวภาพ, Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน, Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio – Circular – Green: BCG Model Concept ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้ ..

แผนงานหลักประการหนึ่ง คือ การกำหนดความคิดริเริ่มทางการเงินที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย Sustainable Finance Initiatives for Thailand ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการทำงานร่วมกันต่อไปเพื่อพัฒนา และดำเนินการตามนโยบายที่จะนำอนาคตของระบบการเงินไทยไปสู่ความยั่งยืน .. ความคิดริเริ่มที่กล่าวถึงนั้น หมายความว่า ภาคการเงินของไทย Thai Financial Sector จะมีบทบาทสำคัญในการจัดหาเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่แท้จริงไปสู่ความยั่งยืน และสามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change, ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม Environmental Degradation, ธรรมาภิบาล Governance และประเด็นทางสังคม Social Issues ได้อย่างมีประสิทธิภาพ .. ทั้งนี้ กลยุทธ์ Strategy และความสามารถที่ทุ่มเทให้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้นั้น เป็นได้มากกว่าเครื่องมือในการลดความเสี่ยงเท่านั้น ในทางกลับกัน พวกมันจะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวในโลกที่ไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากนี้ไป ..

BOI Go Green / Thailand’s Bio – Circular – Green: BCG Economy 2021 – 2027 | Credit : BOI / Thailand Investment Review
BCG Model in Thailand / Thailand’s Bio – Circular – Green: BCG Economy 2021 – 2027 | Credit: BOI / Thailand Investment Review

ในท้ายที่สุด ความสำเร็จของระบบนิเวศทางการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance Ecosystem นั้น ขึ้นอยู่กับการประสานงานที่แข็งแกร่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกรายเพื่อปรับแต่งกรอบงาน และวิธีการร่วมกัน .. แม้ว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินสามารถอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และตัวขับเคลื่อน แต่ภาคเอกชน และผู้บริโภคแต่ละรายในตัวของมันเอง จะเป็นตัวขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และผลักดันสังคมไปข้างหน้าสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนมากขึ้น ..

ดังนั้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ที่สะอาด ดีขึ้น และแข็งแกร่งกว่า ให้บรรลุความสำเร็จนั้น ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคม จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเปลี่ยนความคิดริเริ่มให้เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมด้วยภาคการเงินสีเขียว Green Finance กลายเป็นความจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมกับนานาประเทศในการพัฒนาระบบพลังงานโลกให้มีความสมดุล และยั่งยืน ตามสัตยาบันต่อความตกลงปารีส Paris Agreement ด้วยคำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20 – 25 % ภายในปี 2573 จากฐานการดำเนินธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืน Green & Sustainable Business as Usual และเข้าสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero ด้วยระบบพลังงานสะอาด ภายในปี 2593 ให้สำเร็จร่วมกันได้ในที่สุด ..

…………………………

คอลัมน์ Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

What Is Sustainable Finance and Why Is It Important? :-

https://extension.harvard.edu/blog/what-is-sustainable-finance-and-why-is-it-important/

Sustainable Finance 101: How to Mobilize Funds for the Planet :-

Global Landscape of Climate Finance 2021 :-

Sustainable Finance – Ten trends for 2021 | UBS Global :-

https://www.ubs.com/global/en/collections/sustainable-investing/latest/2021/trends-to-watch-for-2021.html

Sustainable Finance Initiatives for Thailand :-

https://www.bot.or.th/Thai/SustainableBanking/Documents/Sustainable_Finance_Initiatives_for_Thailand.pdf

World ESG Trends 2021 : Rise of Green Finance :-

https://photos.app.goo.gl/epfvDnGpZ3BeH9fp7

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img