วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSPoo Power แหล่งพลังงานจากของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Poo Power แหล่งพลังงานจากของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์

Poop to Energy: Turning Human Waste & Poop into Renewable Energy

“….Poo Power หมายถึง พลังงานจากแหล่งก๊าซชีวภาพ Biogas ที่อุดมไปด้วยก๊าซมีเทน Methane : CH4 ซึ่งสกัดออกมาจากการบำบัดน้ำเสีย Wastewater ของเสียของมนุษย์ Human Waste และมูลสัตว์ Poop เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ผลิตกำลังไฟฟ้า ..”

ก๊าซชีวภาพ Biogas ที่ประกอบด้วยมีเทน Methane : CH4 ส่วนใหญ่ ถูกผลิตขึ้นเมื่อแบคทีเรียกินสารอินทรีย์ของเสียของมนุษย์ และสัตว์ .. กระบวนการทางชีวภาพ Biological Process นี้ เป็นการย่อยสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน ที่เรียกว่า Anaerobic Digestion และเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการผลิตพลังงานสีเขียว Produce Green Energy ตลอดจนการกำจัดของเสีย และจุลินทรีย์ที่แฝงตัวอยู่ในนั้น Getting Rid of Waste & the Microorganisms that Lurk in It .. วิธีที่ง่ายที่สุดในการอธิบายการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน คือ กระบวนผลิตก๊าซชีวภาพด้วยแบคทีเรียตัวจิ๋วภายในของเสียนั่นเอง ..

Poo Power | Anaerobic Digestion Process | Credit: Environmental and Energy Study Institute: EESI

ในการนี้ หากเมื่อก๊าซชีวภาพ Biogas or Landfill Gas เหล่านี้ ถูกเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พวกมันจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยกว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาก .. อย่างไรก็ตาม พบว่า การประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพ Biogas จากกากของเสียมนุษย์ที่เป็นมูลอุจจาระในลักษณะนี้ จำนวน 100,000 คน นำไปเผาไหม้เพื่อผลิตไฟฟ้า จะสามารถให้กำลังผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 51 KWh ซึ่งเพียงพอสำหรับ 3,000 ถึง 5,000 หลอด LED/หลอดประหยัดไฟฟ้า .. นี่ยังมิได้รวม การส่งจ่ายก๊าซชีวภาพ Biogas ที่เป็น Methane ผ่านระบบท่อบน Energy Grid เข้าสู่ครัวเรือนในพื้นที่เพื่อใช้ในการหุงต้ม และปรุงอาหารได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย เป็นต้น ..

Poo Power ไม่ใช่สิ่งใหม่ .. ของเสียจากมนุษย์ และสัตว์ ถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานมานานมากแล้วในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ .. โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas Plant or Landfill Gas Plant ขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาที่มูลสัตว์ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือวัตถุดิบสำหรับการผลิตเชื้อเพลิง .. ในออสเตรเลีย มูลสุกรใช้เป็นแหล่งพลังงานในฟาร์ม และมูลไก่ถูกนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในสหราชอาณาจักร .. ในสหรัฐฯ ก็เช่นกัน นอกจากมูลวัวจะถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานในฟาร์มโคนมแล้ว ก๊าซมีเทน Methane: CH4 และกำลังไฟฟ้าขายคืน ยังสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำได้อีกด้วย ..

การใช้ของเสียของมนุษย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศพัฒนาแล้ว อาจเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ .. ปัจจุบันการใช้ Poo Power ที่โรงบำบัดน้ำเสีย ได้รับการกล่าวถึงบ้างแล้ว .. แม้แต่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน ก็กำลังวางแผนที่จะเปลี่ยนขยะ และของเสียที่ได้รับจากผู้เข้าชมมากกว่า 3 ล้านคนต่อปี เพื่อแปรรูปเป็นแหล่งพลังงานชีวมวล Biomass ที่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากถึง 1,530 KWh ต่อปี ..

Poo Power ยังสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนสำหรับครัวเรือนได้ .. ในนอร์เวย์ เจ้าของบ้าน และผู้คนในชุมชนเมือง ประยุกต์ใช้ Poo Power ให้ความร้อนแก่บ้าน และสำนักงานด้วยการล้างห้องน้ำ .. โรงงานความร้อนจากสิ่งปฏิกูล Sewage Heat Pump Plant ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับในตู้เย็นเพื่อดึงความร้อนจากวัตถุดิบที่เป็นน้ำเสีย และของเสีย .. เครื่องจักรในอุโมงค์ยาว 300 m บนเนินเขาในใจกลางเมืองออสโล Oslo ดูดความร้อนจากท่อระบายน้ำแล้วโอนไปยังเครือข่ายท่อน้ำร้อน ป้อนพลังงานให้แก่หม้อน้ำ และท่อน้ำร้อนหลายพันแห่งทั่วทั้งเมือง .. เชื่อกันว่า พวกมัน คือ ระบบทำความร้อนในเมืองที่ใช้วัตถุดิบที่เป็นน้ำเสียที่ใหญ่ที่สุดในโลก ..

ทั้งนี้ การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เป็นกระบวนการที่สารอินทรีย์ เช่น ของเสียจากมนุษย์ และมูลสัตว์ หรือเศษอาหารที่สูญเปล่า ถูกแบคทีเรียย่อยสลายในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน โดยปกติจะทำในภาชนะปิดที่เรียกว่า บ่อหมัก .. กระบวนการนี้ สร้างปุ๋ยที่สามารถใช้ในการทำฟาร์ม และก๊าซชีวภาพประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ .. ก๊าซชีวภาพ Biogas เหล่านี้ คือ แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ซึ่งสามารถนำไปเผาไหม้เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า และความร้อน หรือสามารถแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง ตามมาตรฐานเชื้อเพลิงชีวภาพที่หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม Environmental Protection Agency : EPA ของสหรัฐฯ และนานาชาติกำหนดไว้ .. ทั้งนี้ สารอินทรีย์บางประเภทสลายตัวได้ง่ายกว่าสารอินทรีย์บางชนิด วัสดุที่สลายได้ง่ายกว่า เช่น กากของเสียมนุษย์ที่เป็นอุจจาระ และมูลสัตว์ และเศษอาหารเปียก เป็นต้นนั้น โดยทั่วไปจะผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas ได้เป็นปริมาณมากได้อย่างน่าอัศจรรย์ ..

ห้องน้ำในเกาหลีใต้ เปลี่ยนของเสียมนุษย์เป็นพลังงาน และสกุลเงินดิจิทัล ..

กลางปี 2564 ที่ผ่านมา ในเกาหลีใต้ การใช้ห้องน้ำสามารถจ่ายค่ากาแฟ หรือซื้อของกิน ของใช้ได้ที่มหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้ University in South Korea ที่ซึ่งของเสียจากมนุษย์ Human Waste จะถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับอาคารสถานที่ ..

Cho Jae-Weon ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเมือง และสิ่งแวดล้อมที่ Ulsan National Institute of Science and Technology : UNIST ได้ออกแบบห้องน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเชื่อมต่อกับห้องปฏิบัติการที่ใช้อุจจาระของผู้คนเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียของมนุษย์ และมูลสัตว์ .. ศาสตราจารย์ Cho Jae-Weon ยืนยันว่า “หากเราคิดนอกกรอบ อุจจาระ มูลสัตว์ และเศษอาหารขยะเปียก มีคุณค่าอันล้ำเลิศในการสร้างพลังงาน และปุ๋ย .. คุณค่าเหล่านี้ของพวกมัน สามารถนำมาผนวกไว้ในสมการการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่าเพื่อปกป้องระบบนิเวศวิทยาสำหรับชุมชนได้ แทนที่จะไปจบงานการกำจัดของเสียด้วยการฝังกลบซึ่งจะสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย” ..

คนทั่วไปจะถ่ายอุจจาระประมาณ 500 กรัมต่อวัน ซึ่งสามารถแปลงเป็นก๊าซมีเทน Methane : CH4 ได้ 50 ลิตร .. ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ให้เห็นว่า ก๊าซมีเทน Methane : CH4 เพียงเท่านี้นั้น สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 0.5 KWh หรือใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ไปได้ประมาณ 1.2 กม. หรืออย่างน้อย 0.75 ไมล์ ..

South Korean BeeVi Toilet Turns Your Poop into Power & Cryptocurrency | Credit: Reuters

ศาสตราจารย์ Cho Jae-Weon ได้คิดค้นสกุลเงินเสมือนที่เรียกว่า Ggool ซึ่งแปลว่า น้ำผึ้งในภาษาเกาหลี แต่ละคนที่ใช้ห้องน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับ 10 Ggool ต่อวัน และนักศึกษาในมหาวิยาลัย สามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลนี้ เพื่อซื้อสินค้าในวิทยาเขต ตั้งแต่กาแฟสด ไปจนถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลไม้ และหนังสือ เป็นต้น ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถรับสินค้าที่ต้องการได้ที่ร้านค้า และสแกน QR Code เพื่อชำระเงินด้วย Ggool ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ..

เครื่องสุขภัณฑ์ได้รับการตั้งชื่อว่า “BeeVi” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นย่อของ “Toilet, like a Bee with a Vision” และตั้งใจให้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน Eco-Friendly & Sustainable Device .. BeeVi ใช้เครื่องดูดอากาศ และน้ำปริมาณเล็กน้อย Vacuum & a Small Amount of Water ในการส่งของเสียของมนุษย์จากโถส้วมไปยังถังใต้ดิน และนำส่งไปยังเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ Bioreactor ผู้สร้างจึงเรียกมันว่า “โถสุขภัณฑ์แบบประหยัดน้ำสุดๆ Super Water-Saving Vacuum Toilet” ..

ก๊าซมีเทน Methane : CH4 จากอุจจาระ หรือของเสียมนุษย์ Human Waste & Poop กลายเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่น่าสนใจสำหรับเครื่องใช้สอยในอาคาร สถานที่ทำงาน และที่อยู่อาศัย เช่น เตาแก๊ส Gas Stove, หม้อต้มน้ำ Hot-Water Boiler, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator และเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับผลิตกำลังไฟฟ้า Fuel Cell that Produces Electricity เป็นต้น ..

กระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เพื่อจัดการของเสีย และเพื่อผลิตเชื้อเพลิง ..

การย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เป็นลำดับของกระบวนการหมักที่จุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุชีวภาพในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน Microorganisms Break Down Biodegradable Material in the Absence of Oxygen .. กระบวนการทางชีวภาพนี้ ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ทางอุตสาหกรรมเพื่อจัดการของเสีย หรือเพื่อผลิตเชื้อเพลิง .. การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม เช่นเดียวกับ การหมักด้วยถังปิดในครัวเรือน หรือการหมักเพื่อผลิตก๊าซมีเทน Methane : CH4 ในชุมชนสำหรับเป็นแหล่งพลังงานในครัวเรือนทั้งความร้อน และกำลังไฟฟ้า  ..

การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เกิดขึ้นตามธรรมชาติในดินบางชนิด Some Soils และในแอ่งตะกอนใต้ทะเลสาบ และมหาสมุทร Lake and Oceanic Basin Sediments ซึ่งปกติจะเรียกว่า “กิจกรรมที่ไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Activity” .. นี่คือ ที่มาของก๊าซมีเทน Methane : CH4 ในบึงที่ค้นพบโดย Alessandro Volta ในปี 2319 หรือ ค.ศ.1776 ..

เมื่อแบคทีเรียกินสารอินทรีย์ที่เป็นขยะเปียก ของเสียของมนุษย์ และมูลสัตว์ เป็นต้นนั้น กระบวนการย่อยอาหารจะเริ่มต้นด้วยการไฮโดรไลซิสของแบคทีเรียของวัสดุป้อนเข้า Bacterial Hydrolysis of the Input Materials .. โพลีเมอร์อินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ Insoluble Organic Polymers เช่น คาร์โบไฮเดรต จะถูกแยกย่อยเป็นอนุพันธ์ที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะมีให้สำหรับแบคทีเรียอื่น ๆ .. แบคทีเรียที่เป็นกรด Acidogenic Bacteria จะเปลี่ยนน้ำตาล และกรดอะมิโน เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide, ไฮโดรเจน Hydrogen, แอมโมเนีย Ammonia และกรดอินทรีย์ Organic Acids ..

ในการเกิดอะซิโตเจเนซิส Acetogenesis แบคทีเรียจะเปลี่ยนกรดอินทรีย์ที่เป็นผลลัพธ์เหล่านี้ให้เป็นกรดอะซิติก Acetic Acid พร้อมกับแอมโมเนีย Ammonia, ไฮโดรเจน Hydrogen และคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide เพิ่มเติมท่ามกลางสารประกอบอื่น ๆ .. ในที่สุด เมทาโนเจน Methanogens จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นก๊าซมีเทน Methane : CH4 และคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 .. กระบวนประชากรอาร์เคียที่มีก๊าซเมทาโนเจน หรือ Methanogenic Archaea Populations เหล่านี้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Wastewater Treatments ..

การย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการบำบัดของเสียที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และการจัดการต่อกากตะกอนน้ำเสีย .. ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการของเสียแบบบูรณาการ การย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหลุมฝัง กลบสู่ชั้นบรรยากาศได้หลายเท่าตัว .. การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน สามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับพืชพันธุ์ทางการเกษตรที่ปลูกตามวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชไร่อื่น ๆ ได้อีกมากมาย เป็นต้น ..

การย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy .. กระบวนการนี้จะทำให้เกิดก๊าซชีวภาพ Biogas ซึ่งประกอบด้วยมีเทน Methane : CH4 , คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และก๊าซที่ ‘ปนเปื้อน Contaminant’ อื่น ๆ .. ก๊าซชีวภาพ Biogas เหล่านี้ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรง ในเครื่องยนต์พลังความร้อน และก๊าซธรรมชาติร่วมแบบผสม Combined Heat & Power Gas Engine หรือเครื่องยนต์สันดาปภายในที่อัพเกรดเป็นไบโอมีเทน-ก๊าซธรรมชาติ Upgraded to Natural Gas-Quality Biomethane .. ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์กากส่วนเหลือที่เป็น By Product และอุดมด้วยสารอาหาร Nutrient-Rich Digestate ที่ผลิตขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ..

ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas จากมูลช้าง Elephant Poo Power’ ..

การดำเนินโครงการพลังงานทดแทนรูปแบบผสมผสาน Hybrid ซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้งาน ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง เป็นตัวอย่างที่น่าตื่นเต้นในประเทศไทย .. การติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas Plant จากมูลช้าง โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน .. โรงช้างต้น ซึ่งมีช้างสำคัญ 6 เชือก มีมูลช้างประมาณวันละ 250-300 กิโลกรัม และไม่เคยนำมูลช้างปริมาณมากเช่นนี้ไปใช้ประโยชน์มาก่อนหน้านี้ .. ดังนั้นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ จึงเดินหน้าติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์จากมูลช้าง โดยจะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังได้พลังงานในรูปของก๊าซชีวภาพ Biogas เป็นผลผลิตที่สำคัญ .. ระบบผลิตก๊าซชีวภาพดังกล่าวประกอบด้วยบ่อเติมมูล บ่อหมักมูลแบบโดมคงที่ขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 บ่อ บ่อมูลล้น และลานตากมูล ..

การทำงานของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ เริ่มต้นด้วยการนำมูลช้าง 250-300 กิโลกรัม มาผสมกับน้ำให้เป็นเนื้อเดียวกันที่บ่อเติมมูลแล้วปล่อยลงสู่บ่อหมัก เพื่อให้เกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion ทำให้ได้ผลผลิตที่เป็นก๊าซชีวภาพ Biogas ประมาณวันละ 15-20 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ก๊าซมีเทน Methane : CH4 นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหาร และเดินเครื่องยนต์สูบน้ำเพื่อการเกษตร .. ส่วนเหลือที่เป็นกากมูลที่ถูกย่อยสลายแล้ว จะไหลลงสู่บ่อมูลล้น เข้าลานตากมูล เพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน หรืออัดเป็นแท่งเพาะชำต่อไป ..

นอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้นำระบบผลิตก๊าซชีวภาพดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ ณ โรงเลี้ยงช้าง เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas ปริมาณมาก ซึ่งมีช้างสำหรับลานแสดงจำนวน 47 เชือก สามารถเก็บมูลได้ประมาณวันละ 1,500-2,000 กิโลกรัม โดยใช้ระบบบ่อหมักแบบโดมคงที่ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 บ่อ ซึ่งสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณวันละ 75-100 ลูกบาศก์เมตร ก๊าซที่ได้จะถูกนำส่งผ่านระบบท่อเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหารโรงเรือนต่าง ๆ และเดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนมูลที่ย่อยสลายแล้วก็นำไปเป็นปุ๋ยบำรุงดินเช่นกัน ..

ทั้งนี้ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้ง โรงเรียนฝึกควาญช้างที่อยู่ทางด้านหลังของศูนย์ฯ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากระบบสายส่งเข้าไม่ถึง  จึงมีการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy หลาย ๆ แหล่งพร้อมกันไปรูปแบบผสมผสานเพื่อใช้งานในพื้นที่ .. นอกจากการผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas จากมูลช้าง ส่งจ่ายผ่านระบบท่อไปยังโรงเรือน และบ้านพักแล้ว ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยแห่งนี้ ยังใช้แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV และชุดแบตเตอรี่ Battery Packs ไปพร้อมด้วย เพื่อให้แสงสว่างแบบแยกตามบ้านจำนวน 4 ระบบ ไปติดตั้งให้เรือนโรงเรียน 2 ระบบ และบ้านพักหลังละ 1 ระบบ ซึ่งแต่ละระบบประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 75 W จำนวน 2 แผง ติดตั้งบนเสาเหล็กอาบสังกะสีสูง 3 เมตร แบตเตอรี่ขนาด 100 Ah/12 V หรือ 1.2 KWh จำนวน 2 ลูก อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ขนาด 2 A/12 V และหลอดไฟฟ้าขนาด 18 W จำนวน 4 หลอด ขั้นตอนการทำงานของระบบ คือ เวลากลางวันที่มีแสงแดด เซลล์แสงอาทิตย์ จะชาร์จประจุไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่เพื่อเก็บไว้ใช้ในเวลากลางคืน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ของแต่ละระบบประมาณ 450-520 Wh ต่อวัน เพื่อให้แสงสว่าง และยังสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์โสตทัศน์ที่ใช้กระแสไฟฟ้ากระแสตรง เช่น เครื่องขยายเสียง วิทยุเทป และโทรทัศน์ เป็นต้นได้อีกด้วย ..

นอกจากนั้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ยังวางระบบสูบน้ำบาดาลด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1,540 W เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด เครื่องสูบน้ำขนาด 2 แรงม้า จำนวน 1 เครื่อง อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด ถังเก็บน้ำหอถังสูง 12 เมตร ความจุ 12 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง ถังกรองสนิมเหล็ก 1 ถัง และระบบท่อส่งน้ำประปา มาติดตั้ง ณ โรงเรียนฝึกควาญช้าง โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน เพื่อสูบน้ำไปเก็บในหอถังสูง แล้วใช้แรงโน้มถ่วงในการส่งน้ำผ่านท่อน้ำ ซึ่งระบบดังกล่าว สามารถสูบน้ำได้ 8,452 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ..

อีกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในเยอรมัน Germany .. สวนสัตว์มิวนิก Munich Zoo บริหารจัดการมูลสัตว์จำนวนมหาศาลที่ช้างสร้างขึ้นเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas .. ก๊าซชีวภาพเหล่านี้ สามารถผลิตกำลังไฟฟ้ากลับมาใช้งาน และลดค่าสาธารณูปโภคของสวนสัตว์ได้เป็นอย่างดี ..

Munich Zoo’s Elephant Energy / Elephant – Poo Power Electrifies Zoo | Credit : CNN / Munich Zoo

สวนสัตว์มิวนิก ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร เพื่อหมักมูลช้าง โดยแต่ละตู้บรรจุมูลช้างได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ .. มูลช้างผสมกับน้ำอุ่น และทิ้งไว้ให้ย่อยสลายด้วยแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เพื่อผลิตก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รูปแบบผสมไฮบริด ทั้งนี้ พวกมันจะถูกรวบรวมจัดเก็บไว้ในบอลลูนที่ลอยอยู่เหนือมัน ..

ผู้ดูแลอุทยาน Dominik Forster อธิบายกระบวนการว่า “ก๊าซชีวภาพ Biogas จากมูลช้างจะถูกป้อนเข้าสู่เครื่องยนต์ Gas-Powered Engine ซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า .. บอลลูนสามารถเก็บก๊าซชีวภาพได้เพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของเราประมาณ 5% และกากมูลช้างที่เหลือ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยได้” เขาเสริมอีกว่า “ก็ยังดีเพราะเราไม่สิ้นเปลืองอะไรเลย” อันที่จริงมูลช้างสร้างความร้อนได้มากพอที่จะทำให้กรงกอริลลาอุ่นขึ้นทั้งหมดได้ ..

ช้าง 1 เชือก มีความอยากอาหารมาก และสามารถกินอาหารได้ 200-400 กิโลกรัมต่อวัน โดยสวนสัตว์มิวนิก ผลิตมูลสัตว์ได้รวมมากกว่า 2,000 ตันต่อปี ทว่ามูลที่เกิดขึ้นนั้น เพียงพอสำหรับบ้าน 100 หลังคาเรือนต่อปีเท่านั้น จึงอาจเป็นผลตอบแทนเพียงเล็กน้อย แต่อย่างใดอย่างหนึ่งที่สวนสัตว์มิวนิก ยังคงคิดว่า คุ้มค่าอย่างยิ่ง รวมทั้ง หมายถึง ความรับผิดชอบในการนำมูลสัตว์มาผลิตพลังงาน และปุ๋ย แทนที่จะนำไปฝังกลบซึ่งก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลจะถูกปล่อยคายสู่บรรยากาศ สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวต่อไปได้ .. ดังนั้น ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas จากมูลช้าง Elephant ‘Poo Power’ และรวมถึงของเสียมนุษย์ Human Waste และมูลสัตว์ Animal Poop เป็นต้นนั้น จึงถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และแสดงถึงความรักษ์โลกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ..

Zoo Based Biogas Plant from Poop | Credit: Ontario Construction News

คาดการณ์ตลาดก๊าซชีวภาพทั่วโลก Global Biogas Market ..

ตลาดก๊าซชีวภาพทั่วโลก Global Biogas Market เติบโตจาก 58.90 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 เป็น 64.14 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 ที่อัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดก๊าซชีวภาพทั่วโลก Global Biogas Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 8.9% .. อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับการคาดหมายว่าจะสูงถึง 88.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2568 ที่ค่า CAGR 8.4% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ปี 2565-2568 ..

ตลาดก๊าซชีวภาพ Biogas ประกอบด้วยการจำหน่ายก๊าซชีวภาพตามหน่วยงาน องค์กร วิสาหกิจชุมชนเกษตรกร ผู้ค้ารายเดียว และพันธมิตรกิจการค้าร่วมที่มีส่วนร่วมในการผลิตก๊าซชีวภาพ .. ก๊าซชีวภาพเป็นรูปแบบหนึ่งของเชื้อเพลิงชีวภาพที่สร้างขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อขยะอินทรีย์ ของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์ ย่อยสลายตัวสร้างก๊าซชีวภาพ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า การย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion เนื่องจากเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน .. พวกมันสามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ รวมถึงเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน การปรุงอาหาร และการผลิตกำลังไฟฟ้า ..

แหล่งที่มาหลักของก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ของเสียในเขตเทศบาล ของเสียจากอุตสาหกรรม ของเสียทางการเกษตร รวมถึง ของเสียมนุษย์ มูลสัตว์ และอื่น ๆ .. การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion ของส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ของขยะเปียกในเขตเทศบาล จะสร้างก๊าซชีวภาพที่สามารถนำมาใช้สร้างพลังงานได้ ดังนั้นจึงช่วยลดของเสียที่จะนำไปฝังกลบได้ .. ก๊าซชีวภาพ Biogas ใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม พวกมันถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การผลิตกำลังไฟฟ้า การทำความร้อน การปรุงอาหาร และใช้เป็นส่วนหนึ่งในระบบจัดเก็บพลังงานรูปแบบผสมอื่น ๆ หรือแม้แต่ทำให้เป็นของเหลวเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวของอากาศยานในระบบขนส่ง ..

การตรวจสอบตลาดก๊าซชีวภาพ Biogas ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นก๊าซมีเทน Methane : CH4 จาก Biogas Plant หรือ Landfill Gas Plant แยกตามพื้นที่เทียบเคียงกันครอบคลุมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา พบว่า ภูมิภาคยุโรป เป็นภูมิภาคที่ตลาดก๊าซชีวภาพมีขนาดใหญ่ที่สุด ในปี 2563 .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีอัตราเติบโตเร็วที่สุดในช่วงเวลาคาดการณ์ ..

การขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังผลิต Expansion of Production Facilities เป็นแนวโน้มสำคัญที่กำลังได้รับความนิยมในตลาดก๊าซชีวภาพ .. บริษัทใหญ่ ๆ ที่ดำเนินงานในภาคก๊าซชีวภาพ Biogas Sector กำลังมุ่งเน้นไปที่การขยายโรงงานผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ที่เพิ่มขึ้น และกากส่วนเหลือซึ่งอุดมไปด้วยด้วยสารอาหารที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้จากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ Recycled Nutrients in the Production of Biogas กำลังจะเข้ามาแทนที่ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี ..

การเปลี่ยนไปสู่การยกระดับการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น Rising Shift towards Renewable Sources of Energy คาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดก๊าซชีวภาพ Biogas Market ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า .. พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy มักเรียกว่า พลังงานสะอาด Clean Energy มาจากแหล่งธรรมชาติ หรือขั้นตอนที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ .. ก๊าซชีวภาพ Biogas เรียกอีกอย่างว่า ก๊าซธรรมชาติหมุนเวียน Renewable Natural Gas ที่เกิดจากการสลายอินทรียวัตถุ เช่น ของเสียจากมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งเศษอาหาร ขยะเปียก เป็นต้นด้วย ..

สรุปส่งท้าย ..

ก๊าซชีวภาพ Biogas เกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน Decomposition of Organic Matter in the Absence of Oxygen ด้วยจุลชีพโพรแคริโอต Prokaryotic Microorganisms ที่เป็นแบคทีเรีย Bacteria .. ก๊าซชีวภาพ Biogas สามารถผลิตขึ้นเป็นปริมาณมากได้ด้วยวัตถุดิบ เช่น ปุ๋ยคอก ของเสียจากเทศบาล วัสดุจากพืช ขยะสีเขียว หรือเศษอาหาร หรือแม้แต่สิ่งปฏิกูล ของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์ เป็นต้น ..

แม้ว่าการใช้ก๊าซชีวภาพ Biogas ที่เป็นก๊าซมีเทน Methane : CH4 จากเศษอาหาร ขยะเปียก และสิ่งปฏิกูล ในการปรุงอาหารอาจฟังดูไม่สุภาพนัก แต่เทคนิคเหล่านี้ ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพโดยประเทศกำลังพัฒนามานานหลายทศวรรษแล้ว ..

ก๊าซชีวภาพ Biogas ถูกผลิตขึ้นใน “เครื่องย่อยสลาย Digester” สิ่งเหล่านี้มักอยู่ในรูปของถังเก็บ หรือภาชนะทำเองง่าย ๆ ที่ช่วยให้แบคทีเรียกินวัตถุดิบสารอินทรีย์ ของเสียมนุษย์ มูลสัตว์ และแปลงเป็นก๊าซมีเทน Methane Gas รวบรวมเป็นแหล่งพลังงานไว้ ..

ก๊าซมีเทน Methane : CH4 เป็น “เชื้อเพลิงในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ Important Transition Fuel” และมีความยั่งยืนมากกว่าการขุดเจาะน้ำมันดิบจากใต้เปลือกโลกขึ้นมากลั่นใช้งาน หรือการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ .. อย่างไรก็ตาม มีกระบวนการทางอุตสาหกรรมมากมายที่ต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมาก ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำได้โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่สะอาดกว่าด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel & Syngas จาก Biomass หรือก๊าซชีวภาพ Biogas จากขยะอินทรีย์เปียก ของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์ เท่านั้น จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับการทำงานทั้งในภาคอุตสาหกรรม และในครัวเรือนได้อย่างยอดเยี่ยม .. แทนที่จะนำของเสียเหลือทิ้งเหล่านี้ไปกำจัดด้วยการฝังกลบแล้วทำให้ก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่วนใหญ่ คือ ก๊าซมิเทน Methane Gas ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้กระจายสู่สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศโดยตรง หรือจนกว่าตัวเลือกแหล่งพลังงานที่ปราศจากคาร์บอนจะเป็นไปได้ทั้งในด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ Carbon-Free Options are Technologically & Economically Feasible ในอนาคตต่อไปจะมาถึงได้ ..

ก๊าซมิเทน Methane Gas นั้น เบากว่าอากาศ และมีแรงโน้มถ่วงเฉพาะที่ค่า 0.554 .. สามารถละลายได้ในน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น .. พวกมันจะเผาไหม้ในอากาศอย่างรวดเร็วกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ เปลวไฟร้อนจัด จุดเดือดของก๊าซมีเทน คือ -162oC หรือ -259.6°F และจุดหลอมเหลว คือ -182.5°C หรือ -296.5°F .. ทั้งนี้ เมื่อเคลื่อนย้ายก๊าซมีเทน Methane : CH4 ผ่านระบบท่อ Gas Grid เข้าสู่ครัวเรือน และอาคารสถานที่ต่าง ๆ ก็อาจได้รับผลกระทบด้านสภาพอากาศ การรั่วไหล และอันตรายจากอัคคีภัยได้เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงทั่วไป ดังนั้น จึงต้องมีการจัดวางระบบความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้พร้อมด้วย ..

อย่างไรก็ตาม Poo Power แหล่งพลังงานจากของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์ หรือ Poop to Energy คือ แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน Sustainable & Renewable Energy ประเภทหนึ่งด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality .. ปกติ Biogas เช่น Methane : CH4 คือ ก๊าซเรือนกระจกที่ทำอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นมากกว่าก๊าซเรือนกระจกที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จึงไม่ควรปล่อยพวกมันสู่บรรยากาศตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ การฝังกลบสิ่งปฏิกูลเหล่านี้ จึงสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม และทำโลกให้ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากจัดเก็บ Methane : CH4 รวบรวมไว้แล้วนำมาไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิง ถือเป็นการกำจัดพวกมันออกจากบรรยากาศได้อย่างชาญฉลาด และพบว่า การเผาไหม้พวกมัน มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 สู่บรรยากาศน้อยการการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นน้ำมันดีเซล และก๊าซธรรมชาติเป็นอย่างมาก ..

Converting Poop into Energy is not just the Domain of Sewage Treatment Plants | Credit: Hairy Hill / Kwantlen Polytechnic University

ดังนั้น Poo Power จึงกลายเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน และเหมาะสมอย่างยิ่งในชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย เช่น การผลิตกำลังไฟฟ้า การทำความร้อน การปรุงอาหาร และใช้เป็นส่วนหนึ่งในระบบจัดเก็บพลังงานแบบผสมรูปแบบอื่น ๆ รวมทั้งการจัดเก็บ และส่งผ่านระบบท่อบน Energy Grid ในท้องถิ่นเข้าสู่ครัวเรือน และอาคารสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้นได้เป็นอย่างดี ..

ทั้งนี้ ประโยชน์ของการย่อยมูลสัตว์ Digesting Manure มีนัยสำคัญในภาคพลังงาน และภาคภูมิสังคม .. ไม่เพียงแต่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases ได้อย่างมาก แต่อุณหภูมิที่สูงจะลดกลิ่นที่เกี่ยวข้องกับของเสียมนุษย์ มูลสัตว์ และลดเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งต้นน้ำ ลำธาร .. รายงานการวิจัยหลายชิ้นสรุปไว้ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากฟาร์มโคนมสามารถลดลงได้กว่า 35% โดยรวม หากใช้กำลังไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซชีวภาพ Biogas แทนที่กำลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าในโครงข่ายระบบสายส่งที่ใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ..

หากมีการประมาณการน้ำหนักของแข็งระเหยง่ายที่เป็นมูลอุจจาระซึ่งผลิตโดยมนุษย์ สัตว์ หรือนกต่อวัน จะทำให้สามารถคำนวณกำลังผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas ที่เป็นไปได้แต่ละชนิดสำหรับในแต่ละวัน ตัวอย่างเช่น หมูที่มีน้ำหนัก 150 ปอนด์จะผลิตของเสีย 0.7 ปอนด์ต่อวัน ในจำนวนนี้ 49% หรือ 0.34 ปอนด์ จะถูกทำลายโดยแบคทีเรีย เนื่องจากแบคทีเรียผลิตก๊าซประมาณ 12 ลูกบาศก์ฟุตต่อปอนด์ของมูลอุจจาระ .. ดังนั้น สุกรที่มีน้ำหนัก 150 ปอนด์ จึงมีศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทน Methane : CH4 ได้ประมาณ 4.1 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ..

ก๊าซชีวภาพ Biogas ที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion ขยะอินทรีย์ ของเสียมนุษย์ และมูลสัตว์ มีส่วนผสมของมีเทน Methane : CH4 และคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ซึ่งมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ Hydrogen Sulfide : H2S และก๊าซไฮโดรเจน: H2 อยู่ในปริมาณเล็กน้อยด้วย .. โดยปกติ ส่วนผสมของก๊าซชีวภาพ Biogas ประกอบไปด้วยมีเทนประมาณ 60% และคาร์บอนไดออกไซด์ 40% โดยไม่คำนึงถึงประเภทของเสีย .. ก๊าซมีเทนบริสุทธิ์ Pure Methane มีค่าความร้อนประมาณ 1,000 BTU ต่อลูกบาศก์ฟุต Cubic Foot ..

ดังนั้น โดยทั่วไปจึงพบว่า ส่วนผสมของก๊าซมีเทน Methane : CH4 และคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จะให้ค่าพลังงานความร้อนประมาณ 600 BTU ต่อลูกบาศก์ฟุต จากการเผาไหม้ ซึ่งเพียงพอสำหรับการประยุกต์ใช้งานสำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้า การทำความร้อน การปรุงอาหาร และใช้เป็นส่วนหนึ่งในระบบจัดเก็บพลังงานรูปแบบผสมอื่น ๆ หรือแม้แต่ทำให้เป็นของเหลวเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวของอากาศยานในระบบขนส่งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ..

การประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานจากก๊าซชีวภาพ Biogas จากการย่อยสลายของเสียด้วยแบคทีเรีย และการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานชีวมวล Biomass โดยตรง หรือการผลิต Syngas จากสารชีวมวล Biomass แล้วนำไปใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแทนที่เชื้อเพลิงดีเซล และก๊าซธรรมชาติ กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ .. แนวทางดำเนินการเหล่านี้ ถือเป็นการส่งเสริมการผลิต และใช้พลังงานทดแทน Renewable Energy  ภายในประเทศไทยที่สำคัญ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ที่มุ่งกระจายแหล่งเชื้อเพลิงสะอาดในการผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยการใช้เชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ให้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมในพื้นที่ ..

สำหรับประเทศไทยนั้น การประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานจากก๊าซชีวภาพ Biogas ที่อุดมไปด้วยก๊าซมีเทน Methane : CH4 ซึ่งสกัดออกมาจากการบำบัดน้ำเสีย Wastewater ของเสียของมนุษย์ Human Waste และมูลสัตว์ Poop ในภาคเกษตรกรรม เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ผลิตกำลังไฟฟ้า หรือการผลิตกำลังไฟฟ้าจาก Syngas และแหล่งพลังงานชีวมวล Biomass รวมทั้งตลาด Biogas & Syngas สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในภาคการขนส่ง และภาคเกษตรกรรมของไทย ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จึงเห็นสมควรให้หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเอกชนที่มีศักยภาพ เร่งส่งเสริมกำลังผลิตเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ Biogas และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel Gas จาก Biomass ที่เป็นของเสียมนุษย์ Human Waste มูลสัตว์ Poop ขยะพลาสติก และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล Diesel และก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ในประเทศให้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ รวมทั้งผลักดันการผลิตกำลังไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล Biomass รูปแบบกระจายแยกย่อยในชุมชน หมู่บ้าน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เกษตรกรรม ให้เป็นไปตามแผนงานโดยเร็ว กับการเร่งปลดล็อคการผูกขาดระบบสายส่งภาครัฐ และขยายศักยภาพโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้ารองรับระบบหน่วยผลิตกำลังไฟฟ้าย่อย ๆ รูปแบบกระจายที่กำลังจะเกิดขึ้นในชุมชนเกษตรกรสำหรับอนาคตอันใกล้ ..

ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Biogas, Biofuel & Synthetic Fuel Gas Market ในประเทศให้แข็งแกร่งด้วยต้นทุนที่ลดลงอีก กลายเป็นความจำเป็นเชิงนโยบายภาครัฐที่ขาดไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะสร้างโอกาสทางธุรกิจ และทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาพรวมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และสามารถกระจายความเข้มแข็งทางพลังงานสู่ชุมชน หมู่บ้าน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ผู้คนในสังคมไทย และเกษตรกรในท้องถิ่นอย่างมากได้ในที่สุดโดยไม่มีข้อสงสัย ..

………………………………..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Poo power | Yorkshire Water :-

https://www.yorkshirewater.com/education/poo-power/

Poo Power Infographic | Arla Foods UK :-

https://www.arlafoods.co.uk/forward-thinking-dairy/forward-thinking-company/poo-power-infographic/

The Power of Poo: Energy from Excrement | E&T Magazine :-

https://eandt.theiet.org/content/articles/2017/11/the-power-of-poo-energy-from-excrement/

Poo power | Bioenergy Insight Magazine :-

https://www.bioenergy-news.com/news/poo-power/

Can Poop Power the Planet? | SEI :-

A Toilet that Turns Human Waste into Power | Futurism :-

https://futurism.com/the-byte/toilet-poop-green-energy

Turning Poop into Power, not Pollution | PBS :-

https://www.pbs.org/newshour/show/turning-poop-into-power-not-pollution

South Korean Toilet Turns Excrement into Power & Digital Currency | Reuters :-

https://www.reuters.com/world/asia-pacific/south-korean-toilet-turns-excrement-into-power-digital-currency-2021-07-09/#:~:text=The%20BeeVi%20toilet%20%2D%20a%20portmanteau,and%20solid%20oxide%20fuel%20cell

Turning Manure into Money | Washington Post :-

https://www.washingtonpost.com/climate-solutions/2020/06/16/climate-solutions-manure/

Landfill Gas | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Landfill_gas

Basic Information about Landfill Gas | US EPA :-

https://www.epa.gov/lmop/basic-information-about-landfill-gas

Landfill Gas Market Overview – 2030 :-

https://www.prnewswire.com/news-releases/landfill-gas-market-to-reach-2-8-billion-by-2030–globally-by-2030-at-7-4-cagr-allied-market-research-301369675.html

Global $88.47 Billion Biogas Markets to 2030 | Renewable Energy Magazine :-

https://www.renewableenergymagazine.com/biogas/global-88-47-billion-biogas-markets-to-20210922

Waste – derived Biogas Market Outlook – 2030 :-

https://www.alliedmarketresearch.com/waste-derived-biogas-market

Synthetic Fuel Gas : Gasification of Plastic Waste & Biomass to SynGas or from Power to X Technology :-

https://photos.app.goo.gl/dDGTMm9r6qM29XxVA

Poo Power : Turning Human Waste into Renewable Energy :-

https://photos.app.goo.gl/fphBp6L4k1szesfo6

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img