วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSF35 ไม่ง่าย ค่ายยุโรปพร้อมจรวด Meteor อาจดีกว่า
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

F35 ไม่ง่าย ค่ายยุโรปพร้อมจรวด Meteor อาจดีกว่า

เหล่าทัพพร้อมอพยพช่วยเหลือคนไทยที่อยู่ประเทศยูเครนไปอยู่ในที่ปลอดภัย หากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนรุนแรงขึ้น 

@@@…….สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกันทุกวันเสาร์กับคอลัมน์ “Military Key” ทางเว็บไซต์ THE KEY NEWS  ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 26 ก.พ..2565 ในเวลานี้สถานการณ์ที่เป็นที่น่าสนใจและจับตามองเห็นจะเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งประชาชนทั่วโลกเฝ้าจับตามองว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป 

@@@……เรื่องความขัดแย้งของสองประเทศ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม มีความห่วงใยคนไทยที่อยู่ในยูเครน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ได้กำหนดแผนอพยพคนไทยไว้พร้อมแล้ว หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะใช้เครื่องบินเช่าเหมาลำ แต่หากมีการปิดน่านฟ้าจะจัดรถรับคนไทยข้ามแดนไปยังประเทศโปแลนด์ก่อน ทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ได้ติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงที หากมีเหตุจำเป็น รวมทั้งได้สอบถามความเป็นอยู่ของชาวไทยและให้เตรียมพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งได้กำหนดแผนการว่าจะใช้เครื่องบินเช่าเหมาลำอพยพคนไทยจากยูเครนโดยตรง

พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี ภาพจากกองทัพอากาศ

@@@……ด้านกองทัพอากาศ โดย พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า ในส่วนของกองทัพอากาศ ได้เตรียมความพร้อมแล้วเช่นกัน แม้ว่าหนทางปฏิบัติในขั้นต้นจะกำหนดให้ใช้เครื่องบินเช่าเหมาลำก่อนตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากการอพยพในครั้งนี้ไม่ใช่การอพยพประชาชนจากพื้นที่ภัยพิบัติเหมือนที่เคยปฏิบัติ แต่เป็นการอพยพประชาชนจากพื้นที่ขัดแย้งทางทหาร ซึ่งมีความละเอียดอ่อน จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในการใช้อากาศยานทหารเข้าไปในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม พลอากาศเอกนภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้สั่งการให้หน่วยเกี่ยวข้องเตรียมเครื่องบินลำเลียงของกองทัพอากาศให้มีความพร้อมสูงสุด และสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทันทีหากได้รับการสั่งการจากรัฐบาล และยืนยันว่า กองทัพไทย โดย กองทัพอากาศ พร้อมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนไทยอย่างเต็มศักยภาพ

การฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย-สหรัฐฯ รหัว “หนุมานการ์เดียน 2022 ภาพจากกองทัพบก

@@@……สำหรับภารกิจกองทัพบก พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานร่วมกับ นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในพิธีเปิดการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย-สหรัฐฯ รหัส “หนุมานการ์เดียน 2022” (Hanuman Guardian 2022) โดยมีคณะผู้บังคับบัญชาของกองทัพทั้งสองประเทศร่วมในพิธี โดย ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวว่า การฝึกผสมในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 11 ที่กำลังพลสองกองทัพได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สามารถปฏิบัติร่วมกัน เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารอันจะนำมาซึ่งความมั่นคงด้านอื่นๆ อีกทั้งการกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ จะเป็นการเพิ่ม พูนขีดความสามารถของทหารในระดับบุคคล และเป็นหน่วย โดยกำลังพลทั้งสองกองทัพได้มีโอกาสฝึกปรับพื้นฐานร่วมกัน ณ สหรัฐอเมริกา แล้วเคลื่อนย้ายข้ามทวีปเพื่อมาส่งลง ณ ประเทศไทย 

ผบ.ทบ.ร่วมงานเปิดการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย-สหรัฐฯ รหัว “หนุมานการ์เดียน 2022 ภาพจากกองทัพบก

@@@……สำหรับการฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ในปีนี้จัดขึ้นในระหว่าง 24 ก.พ.-25 มี.ค. 65 ณ พื้นที่ฝึก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจ.ลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถกำลังพลและหน่วยทหาร เสริมสร้างความร่วมมือทางทหารอันจะนำมาซึ่งความมั่นคงด้านอื่นๆ โดยกองทัพบกได้ส่งกำลังกว่า 1,000 นาย ประกอบด้วย กองทัพภาคที่ 1, กองทัพภาคที่ 4, ศูนย์การทหารปืนใหญ่, ศูนย์การบินทหารบก, กรมสรรพาวุธทหารบก และกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก เข้าร่วมในการฝึก ขณะที่ฝ่ายสหรัฐ ได้จัดกำลังจากกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USARPAC) ประมาณ 600 นาย เข้าร่วมในการฝึก

พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ.ร่วมงานเปิดการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย-สหรัฐฯ รหัว “หนุมานการ์เดียน 2022 ภาพจากกองทัพบก

@@@……Hanuman Guardian จัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี เริ่มครั้งแรกในปี 2012 เป็นผลจากการประชุมผู้บัญชาการทหารบกภาคพื้นแปซิฟิกที่ทางสหรัฐฯและประเทศไทยมีแนวคิดในการขยายกรอบความร่วมมือด้านการฝึกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพื่อความมั่นคงในภูมิภาค โดยเน้นการฝึกปฏิบัติการทางทหาร การช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาภัยพิบัติ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-สหรัฐฯ 

กองทัพให้กำลังพลตรวจโควิด ภาพจากกองทัพบก

@@@……ในการประชุมสรุปสถานการณ์ประจำวันของกองทัพบกด้วยระบบออนไลน์ โดยมี พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ประธานการประชุมได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 โดยระบุว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดมีความอ่อนไหว จำเป็นต้องติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้กำชับให้กำลังพลดำรงมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของสาธารณสุข รวมทั้งการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด การรักษาระยะห่าง ลดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง การฉีดวัคซีน เป็นต้น เพื่อดำรงความพร้อมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการลดภาระด้านการรักษาพยาบาลของประเทศเป็นส่วนรวม

@@@……การประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 2/2565 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานสําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนั้น ได้สั่งให้ทุกหน่วยจัดเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลในสังกัด โรงพยาบาลสนาม และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรองรับสถานการณ์กรณีที่มีจํานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการส่งต่อและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ตามที่ได้รับการประสานหรือร้องขอ อีกทั้งให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น เน้นย้ำให้กําลังพลและครอบครัว ได้ปฏิบัติตามแนวทางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงกลาโหมที่มีอยู่ รวมถึงที่ได้มีการอนุมัติเพิ่มเติมอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว

ภาพจากกองทัพเรือ

@@@……ขณะที่กองทัพเรือ โดยทัพเรือภาคที่ 1 ยังคงสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหลที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง อย่างต่อเนื่อง โดยจัดเรือหลวงหนองสาหร่าย กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ “ปิด ดูด อุด” เป็นวันที่ 3 ร่วมกับ บ.SPRC เป็นวันที่ 3 โดยได้ส่งนักประดาน้ำ เจ้าหน้าที่ชุดถอดทำลายอัมภัณฑ์ ประจำเรือหลวงหนองสาหร่าย ลงดำน้ำสำรวจท่อส่งน้ำมัน และบันทึกภาพการซ่อมทำจุดที่ได้รับความเสียหาย บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเลหรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัท สตาร์ปิโตเลียม รีไฟน์นิ่งจำกัด (มหาชน)  ระยะห่างจากชายฝั่งบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประมาณ 20 กิโลเมตร โดยมีความลึกประมาณ 27 – 30 เมตร โดยทางเรือหลวงหนองสาหร่ายจะร่วมปฏิบัติภารกิจจนกว่าจะเสร็จสิ้น 

@@@……ทั้งนี้ ในการประชุมสภากลาโหม ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม  เป็นประธาน โดยได้กล่าวขอบคุณรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และกำลังพลทุกนาย ที่ได้ปฏิบัติภารกิจและสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ในห้วงที่ ผ่านมา ได้แก่ การจัดกิจกรรมเนื่องในวันทหารผ่านศึกประจำปี 2565 การสนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ ในการขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลจังหวัดระยอง การจัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้าและ อาหารราคาถูก เพื่อช่วยเหลือและลดค่าครองชีพของประชาชนบริเวณโดยรอบที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม รวมถึงการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา

@@@……ตามที่กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพอากาศ เตรียมที่จะดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุการใช้งานมานานใกล้สิ้นสภาพ และแผนจะปลดประจำการในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้น โดยมีกระแสข่าวว่า กองทัพอากาศสนใจ และพิจารณาว่า เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 แบบ F-35 ของบริษัท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐฯ มีความเหมาะสมที่สุดด้วยราคาต่อเครื่องที่ลดลงมาเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับราคาที่ประเทศสิงคโปร์เซ็นสัญญาจัดหาในปี 2562 เนื่องจากระบบการบินรบ และระบบอาวุธฯ ของพวกมันคล้ายคลึงกับเครื่องบิน F-16 ซึ่ง ทอ.มีใช้งานมาแล้วกว่า 30 ปี รวมทั้งเป็นอากาศยานที่สร้างขึ้นจากบริษัทผู้ผลิตเดียวกัน 

เครื่องบิน F-35 ขอบคุณภาพจาก USAF

@@@……อย่างไรก็ตาม งานแสดงการบิน Singapore Airshow 2022 เมื่อ 15-18 ก.พ.2565 ที่ผ่านมา .. บริษัทผู้ผลิต ล็อกฮีด มาร์ติน Lockheed Martin ประกาศจะผลิตเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 แบบ F-35 จำนวนระหว่าง 148-153 เครื่องในปี 2565 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากเครื่องบินจำนวน 142 เครื่องที่ผลิตในปี 2564 ซึ่งหากบรรลุเป้าหมายการผลิตต่อปีใหม่นี้ จะทำให้แผนการผลิตโดยรวมมากกว่า 900 เครื่องทั่วโลก ตอกย้ำตำแหน่งทางการตลาดที่โดดเด่นสำหรับผู้ผลิตเครื่องบินรบในสหรัฐฯ ซึ่งสามารถปรับปรุงเพิ่มจำนวนได้อีกบ้าง แต่ไม่มากนัก หากคำสั่งซื้อใหม่มาถึงจาก กรีซ เยอรมนี และสาธารณรัฐเช็ก รวมทั้งลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมากแล้ว เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ โดยไทยก็แสดงความสนใจเช่นกัน .. 

@@@……ดังนั้นจึงพบว่า การจะดำเนินการที่คาดหวังจะลงนามเพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 แบบ F-35 ในปี 2566 นั้น จึงมิได้ง่าย เนื่องจากมีคิวคำสั่งซื้อไว้ก่อนจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยาวมากที่ต้องรอไปอีกสักระยะหนึ่งจนอาจจะต้องชะลอการดำเนินการยืดออกไปหลังปี 2567 ซึ่งจะไม่สอดคล้องกับห้วงระยะเวลาปลดประจำการของอากาศยานรบของไทย .. นอกจากนี้ แม้ว่า บริษัทผู้ผลิต, SAF/IA และกองทัพสหรัฐฯ จะเห็นดีด้วย และสนับสนุนการดำเนินการของไทย แต่กระทรวงต่างประเทศ รัฐบาลสหรัฐฯ รวมทั้งรัฐสภาสหรัฐฯ อาจไม่ได้เห็นเช่นนั้น โดยมองว่าควรจะขายเครื่องบินรบแบบ F-15S ให้กับประเทศไทย เช่นเดียวกับที่ขายให้กับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่ง ทอ.เห็นว่าอาจไม่ตรงกับความต้องการ และจะสร้างปัญหาการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสำหรับกองทัพอากาศในอนาคตขึ้นได้อย่างแน่นอน ..

Meteor อาวุธนำวิถี ขอบคุณภาพจาก MBDA

@@@……ทั้งนี้ ประเทศไทย โดยกระทรวงกลาโหม และ ทอ.ยังมีทางเลือกอื่น ๆ อีก เช่น การพิจารณาเลือกเครื่องบินรบแบบ F-16V รุ่นที่ทันสมัยล่าสุด หรือแบบอากาศยานจากค่ายยุโรป เช่น Gripen ที่ ทอ.คุ้นเคยกับระบบเหล่านี้มาก่อนแล้ว ทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่ใกล้ปลดประจำการ ซึ่งจะทำให้ ทอ.ได้รับสุดยอดอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ Iris-t และ Meteor มาพร้อมด้วย ซึ่งถือเป็น Cutting Edge ที่ประเทศไทยจะกลายเป็นชาติเดียวในภูมิภาคที่ถือครองระบบอาวุธอากาศสู่อากาศที่เหนือชั้นกว่า ด้วยแนวคิดคุณภาพมาก่อนปริมาณเสมอ หมายถึงไม่จำเป็นต้องจัดหาเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้งบประมาณที่เป็นค่าใช้ประจำในงบลงทุนที่ได้รับการจัดสรรปกติในแต่ละปีโดยไม่จำเป็นต้องร้องขอการสนับสนุนงบกลางเพิ่มเติมแต่อย่างไร ..

……………………………………………..

คอลัมน์ : “Military Key”

โดย.. “รหัสมอร์ส”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img