วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSคิดอย่างไรเขียนอย่างนั้น วิวาทะระหว่าง“พระชาตรี-มหาไพรวัลย์”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คิดอย่างไรเขียนอย่างนั้น วิวาทะระหว่าง“พระชาตรี-มหาไพรวัลย์”

มีมิตรสหายที่เป็นกัลยาณมิตรซึ่งเป็นพระภิกษุ บ่นให้ฟังว่า เวลามีข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์ที่ไหน ไม่ว่าจะเป็น การบิณฑบาต หรือกิจนิมนต์ หดหายลงไปทุกที อย่างเช่น ตอนนี้เกิดวิวาทะระหว่าง พระชาตรี เหมพนฺโธ กับ มหาไพรวัลย์ วรรณบุตร บวกกับบรรดาแฟนคลับบ้าง สื่อบ้าง นักวิชาการบ้าง ทนายความบ้าง ร่วมกันผสมโรง ซึ่งทั้งหมดก็ไม่ใช่ใครที่ไหนคือ “ชาวพุทธ” ที่มีศาสดา คือ พระสมณโคดม องค์เดียวกันทั้งสิ้น??

“เปรียญสิบ” เคยสนทนากับ “นักวิชาการต่างศาสนาคนหนึ่ง” บอกว่า ชาวพุทธในประเทศไทย รวมทั้งนักบวชส่วนใหญ่มาจากชนชั้นชนบทหรืออีกนัยหนึ่งมาจากคือ “ชนชั้นไพร่” วิธีคิด วิธีพูด รวมทั้งพฤติกรรม มักไม่มี “จิตสำนึกร่วม” จะคิด จะพูด จะทำอะไร ไม่คำนึงถึงผลกระทบ “สิ่งที่เป็นส่วนรวม” รู้แต่เพียงว่า “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”

ใครอยากพูด อยากทำอะไรก็ทำ ภายใต้ “ชนชั้นประเทศ” ให้พูด ให้ทำ เป็นชนชั้นที่ “ยอมจำนน” ต่ออำนาจ หากเจอคู่กรณีที่มีอำนาจ “เหนือตน” ยอมหมดเกือบทุกเรื่อง

เสียดายว่าทั้ง พระชาตรี เหมพนฺโธ และ มหาไพรวัลย์ วรรณบุตร คือผลผลิตจาก “พระธรรมวินัย” ถูกกล่อมเกลาด้วยหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามานับสิบปี ทั้ง 2 ท่าน จึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของพระพุทธศาสนา เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ และถือว่าเป็น..บุคคลสาธารณะ

พระชาตรี เหมพนิโธ ในฐานะพระธรรมทูตที่ทนลำบากจากบ้านไกลเมือง ไปอยู่ประเทศที่มิใช่ของตนเอง ต่างภาษาต่างวัฒนธรรม ต่างอากาศ อดทนเผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนต่างชาติ ตรงนี้มิใช่มีคุณเฉพาะต่อพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์เท่านั้น ต่อประเทศชาติด้วย

ในขณะที่ มหาไพรวัลย์ วรรณบุตร ทั้งตอนครองสมณเพศและเป็นฆราวาส ท่านก็คือ ชาวพุทธที่มีคุณภาพคนหนึ่ง สึกออกมาก็เลี้ยงอาชีพด้วยสัมมาชีพ ส่วนจะเป็นอย่างไร จะแต่งตัวอย่างไร จะพูด จะทำอะไรก็ถือว่า เป็นสิทธิของท่าน ภายใต้กฎหมายของบ้านเมืองและศีลธรรมอันดีงามของประเทศนี้

การเกิดวิวาทะผ่านสื่อ..ไม่ส่งผลดีต่อภาพพจน์พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ในฐานะทั้ง 2 ท่านเป็นผลผลิตที่ถูกกล่อมเกลามาจากตรงนั้น

“พวกเรา” ที่มีอยู่ มีกิน และสุขสบายอย่างทุกวันนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่า “ผ้าเหลือง” และ “ชาวบ้าน” คือ เนื้อนาบุญ ที่พวกเราควรต้อง “กตัญญูกตเวที”

เมื่อเป็นพระภิกษุก็ตั้งตนอยู่ในพระวินัย 227 ข้อ เป็นเครื่องยึดถือเป็นเกราะป้องกันตนเอง มิให้ชาวบ้านดูถูกว่า “เลี้ยงเปลืองข้าวสุก”

เมื่อสึกออกมาคำว่า “มหา” คือ เครื่องหมายที่ถูกประทับตราการันตีมาจากวัดและคณะสงฆ์ว่าคนนี้คือ “คนดี” เป็นบุคคลที่ตั้งอยู่ในศีลธรรมไม่ออกมาประกอบความชั่วให้สังคมคนข้างนอกเขาดูถูก เรียกจากคำว่า “มหา”  เป็น “หมา”

กรณีเกิดวิวาทระหว่าง พระชาตรี เหมพนฺโธ กับ มหาไพรวัลย์ วรรณบุตร ชาวพุทธเราที่เป็นกองเชียร์หรือสื่อสารมวลชนโปรดตั้งสติให้ดี..อย่าไปผสมโรง!! ต่อความยาว สาวความยืด??

ประเทศไทยมีพระที่เป็นสุปฎิปันโนปฎิบัติดีปฎิบัติชอบนับแสนรูป ในขณะเดียวกันเปรียญลาพรตออกมาแล้ว สังคมยอมรับเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับ “คณะสงฆ์” สร้างความปลื้มใจอิ่มใจให้กับ “คนรอบวัด” ที่เคยใส่บาตรดูแลและอุปถัมภ์อุปฐากตอนเป็นพระภิกษุ-สามเณร ก็มีมากมายเช่นกัน..

หลายปีมานี้..พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์เรา…น่าจะบอบช้ำพอแล้วมั่งครับ!!

…………………

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

โดย….“เปรียญสิบ” : riwpaalueng@gmail.com

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img