วันอังคาร, มีนาคม 19, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSวัคซีนที่ล่าช้า... คือ“ต้นทุน”ของประเทศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

วัคซีนที่ล่าช้า… คือ“ต้นทุน”ของประเทศ

ขณะนี้รัฐบาลหลายๆ ประเทศได้มีความคืบหน้าในการจัดหาและระดมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนของตน ประเทศที่ก้าวหน้าที่สุด น่าจะเป็นอิสราเอลที่ตอนนี้ระดมฉีดไปแล้วกว่า 80% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ จนรัฐบาลสามารถประกาศให้ชาวอิสราเอลไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะได้แล้ว

วันนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังฟื้นตัวอย่างอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คาดว่า จีดีพีสหรัฐฯปีนี้จะกลับมาขยายตัวสูงถึง 6.5% สูงสุดในรอบ 37 ปี จากความสำเร็จในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ชาวอเมริกันได้เร็วกว่าเป้าหมาย โดยชาวอเมริกันฉีดไปแล้วกว่าครึ่งประเทศเกือบ 200 ล้านคน

แต่ที่ไม่น่าเชื่อ ประเทศหลังจากเคยล้มเหลวเรื่องการจัดการโควิด-19 ระบาดอย่างประเทศอังกฤษ วันนี้รัฐบาลอังกฤษกลับสามารถบริหารจัดการการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ธุรกิจเอกชนเริ่มทะยอยกลับมาทำกิจกรรมสร้างความคึกคักในระบบเศรษฐกิจได้เหมือนเดิมแล้ว

ได้เห็นหลายๆ ประเทศเริ่มมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน จึงน่าสนใจว่า ประเทศไทย จะใช้เวลานานเพียงใดในการจัดหาและฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ที่เพียงพอและสามารถเปิดประเทศได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่เดิมรัฐบาลลุงตู่กำหนดจำนวนการฉีดที่ 92 ล้านโดส คิดจาก 70% ของคนไทย 66 ล้านคน หรือเท่ากับ 46 ล้านคน โดยได้รับการฉีดคนละ 2 โดสหากฉีดได้เฉลี่ยวันละ 4 แสนโดส จะใช้เวลาประมาณ 7 เดือน

แต่ถึงตอนนี้ ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนอย่างมาก ตั้งแต่มีกรอบจำกัดแค่ 2 แบรนด์คือวัคซีน “แอสตราเซเนกา” และ “ซิโนแวค” เท่านั้น ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนไปจนถึงวันที่ 15 เม.ย. วันเดียวกัน ไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 586,032 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 296,164 คน เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป บุคคลที่มีโรคประจำตัว และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงรวม 289,868 คน ตั้งแต่ 28 ก.พ.-15 เม.ย. เราเพิ่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแค่สองแสนกว่าคน เท่านั้น

คงต้องบอกว่า ความล่าช้าในการบริหารจัดการวัคซีนจะไม่เกิดขึ้น ถ้ารัฐบาลไม่กลัวเสียหน้าและใจกว้างปล่อยให้เอกชนนำเข้ามาได้อย่างเสรี ภายใต้มาตรฐานที่รัฐกำหนด ซึ่งก่อนหน้านี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ 109 บริษัทจะขอนำเข้ามาฉีดให้พนักงาน ส่วนหอการค้าไทยก็เสนอว่าจะขอนำเข้ามาฉีดให้กับโรงงานที่เป็นสมาชิกมีพนักงานกว่า 5 แสนคน โดยยื่นเงื่อนไขแบบช่วยชาติ ฉีดให้สมาชิก 1 คน-ฉีดให้ชาวบ้าน 1 คน ถ้ารัฐบาลยอม ป่านนี้มีคน 1 ล้านคนที่เอกชนจ่ายให้ฟรีๆ

ขณะที่องค์กรท้องถิ่นก็ประกาศว่าจะเจียดงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุขนำวัคซีนเข้ามาฉีดให้คนในพื้นที่ นอกจากนี้มีโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งบอกว่า จะขอนำเข้าวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนในราคาต้นทุน หวังช่วยชาติ เพราะหากเศรษฐกิจดี โรงพยาบาลก็จะได้ประโยชน์ด้วย แต่ข้อเสนอต่างๆ กลับไม่มีเสียงตอบรับจาก ผู้มีอำนาจ ไม่รู้ว่าตอนนี้เรื่องนี้ถึงไหน กระทั่งเกิดการระบาดระลอก 3 “ลุงตู่” เพิ่งตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณาให้เอกชนนำเข้าวัคซีนได้

www.thaigov.go.th

แต่เท่าที่ดูเงื่อนไขแล้วไม่ง่าย ตราบใดที่ต้องผ่านหน่วยงานราชการที่ยึดถือกฏระเบียบเก่าๆ ไม่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ทั้งที่ ‘วัคซีน’ สำคัญกับเราอย่างมาก เพราะรายได้หลักของประเทศส่วนหนึ่งผูกติดอยู่กับภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 11%-12% ของ GDP และส่งผลต่อการจ้างงาน 20% ของตำแหน่งการจ้างงานทั้งหมด หากไม่มีวัคซีน เราจะไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เหมือนในอดีตที่มีจำนวนนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนต่อปีได้

วัคซีนมีความสำคัญขนาด “ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เคยให้สัมภาษณ์สื่อว่า ถ้าภาคการท่องเที่ยวกลับมาไม่ได้ เศรษฐกิจจะไม่สามารถฟื้นกลับมาได้ และเน้นย้ำว่า “วัคซีนคือตัวเอกของจริง” มาตรการต่างๆ ทั้งการกระตุ้นหรือการเยียวยาเศรษฐกิจ เป็นเพียงการซื้อเวลาเพื่อพยุงเศรษฐกิจประเทศ จนกว่าการท่องเที่ยวของประเทศจะสามารถกลับมาได้

ในขณะที่ประเทศประเทศไทยที่จัดหาและฉีดวัคซีนล่าช้า และกำลังเผชิญกับการระบาดรอบ 3  ‘นโยบายวัคซีน’ ได้กลายเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างแท้จริง ยิ่งรัฐบาลบริหารจัดการล่าช้าออกไปเท่าไหร่ ก็คือต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมหาศาล

………………………………..

คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์ข้างทาง

โดย “ทวี มีเงิน”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img