วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSออกแบบประเทศไทย…โจทย์รัฐบาลใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ออกแบบประเทศไทย…โจทย์รัฐบาลใหม่

หลังฉาก “บริษัทยา” ทรงอิทธิพลต่อระบบส่งเสริมการขายยา โดยเฉพาะที่กระทำโดยตรงต่อแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์

ปัจจุบันเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลในโรงพยาบาล โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาเกิดปรากฏ กรณีทุจริตเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่ายาของราชการ

ในลักษณะทำเป็นขบวนการ โยงใยเป็นเครือข่ายทุจริต เฉาะแบ่งเป็น “ผู้ใช้สิทธิ-เครือญาติ-บุคลากรในโรงพยาบาล-บริษัทจำหน่ายยา”

เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ภาครัฐสูญเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น

ทั้งหมดเป็นรายงานที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาขยับเรื่องนี้ เสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ

แม้ “ยา” เป็นสินค้าคุณธรรม ที่ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง พิจารณาข้อดี-ข้อเสีย เพื่อตัดสินใจเลือกใช้ ไม่ใช่เปิดโปรโมชั่น “ลด-แลก-แจก-แถม” หรือสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการต่างๆ

แล้วเกิดขึ้นอะไรขึ้นในวงการข้าราชการและโรงพยาบาล !?

สอดคล้องกับข้อมูลอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ท่านหนึ่งที่เกาะติดเรื่องนี้

สะท้อนให้เห็นภาพ “ก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง งบรักษาพยาบาลอยู่ที่ 3 พันกว่าล้านบาท แต่หลังจากนั้นพบค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐโตขึ้นผิดสังเกต มีอะไรผิดปกติมาก ๆ พบงบรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น 4 เท่าภายใน 20 ปี จาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 8 หมื่นล้านบาท กรมบัญชีกลางพบมีบัญชียาหลักที่ราคาต้นทุนกับราคาเบิกมีสัดส่วนสูงเกินจริง”

ตรงตามผลการติดตามดำเนินการตามมติครม. 12 ก.ย.60 พบว่า เป็นไปตามที่ ป.ป.ช.รายงาน โดยเฉพาะการเบิกจ่ายค่ารักษาพยายบาล ค่ายาของราชการไม่สอดดคล้องกับบริบทต่าง ๆ และสถานการณ์ปัจจุบัน

ทางออก ป.ป.ช. เสนอแนะต่อครม.ถึงมาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

เดิมมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วางเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและส่งเสริมการขายยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา บังคับใช้ 15 พ.ค.64

และบังคับใช้เฉพาะหน่วยงาน หน่วยบริหารในสังกัดสธ. นอกเหนือสังกัดของสธ.ไม่ถูกบังคับตามประกาศ ฉะนั้นปิดช่องโหว่โดยบังคับใช้ครอบคลุมกับทุกหน่วยงานและหน่วยบริการ

ปรากฎการณ์ทุจริตเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่ายาของราชการ เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง ใต้ฐานภูเขาน้ำแข็งยังซุกซ่อนทุจริตไว้อีก

เช่น งบเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญข้าราชการเกษียณ รอบ 20 ปีโตขึ้น 7-8 เท่า 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ 3.1 แสนล้านบาท งบบุคลากรของรัฐเบ่งบานขึ้นปีละ 5%

เป็นโจทย์ของพรรคการเมืองที่หวังพลิกฟื้นประเทศ กู้ซากเศรษฐกิจ หากนโยบายย่อขนาดกลไกรัฐไร้ประสิทธิภาพจับต้องไม่ได้

พรรคนั้นย่อมไม่ใช่เป็นคำตอบของประเทศ

………………………

คอลัมน์ : ไขกุญแจ-ไขแหลก

โดย #ราษฎรเต็มขั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img