วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSแคมเปญเลือกตั้ง “เหล้าเก่าในขวดใหม่”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แคมเปญเลือกตั้ง “เหล้าเก่าในขวดใหม่”

บรรดาพรรคการเมือง เริ่มเปิดแคมเปญเตรียมลงสู่สมรภูมิการเลือกตั้งกันเต็มรูปแบบ ท่ามกลางสังคมมีความเป็นห่วงนโยบายลดแลกแจกแถม ที่หวังคะแนนเฉพาะหน้า โดยไม่สนผลกระทบที่ตามมา

ตามเบสิคคลอดนโยบายสำหรับบริหารประเทศในยุคที่ต้องการฟื้นฟูประเทศ นักการเมือง นักวิชาการ พรรคการเมือง มีกรอบคิดที่คล้ายคลึงกัน ต่างกันแค่รายละเอียดและการลงมือปฏิบัติไปสู่เป้าหมาย

ทั้ง นโยบายรัฐจิ๋วแต่แจ๋ว กำหนดให้รัฐส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่นและภูมิภาค มีขนาดเล็กลง โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือมาช่วยเสริมการให้บริการประชาชน ที่ครอบคลุมทุกตารางนิ้วแทนกำลังคนของเจ้าหน้าที่รัฐ

แค่เปิดแง้มช่องเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่พร้อม คงไม่เพียงพอและทันการต่อโลกใบนี้ที่หมุนเร็ว

นโยบายป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน มีหลายวิธีที่แก้ปัญหานี้ได้ แต่ไม่ยังเคยเห็นพรรคการเมืองใด กล้าใช้ยาแรงฉีดเข้าระบบรัฐและสังคม

เช่น ปริวรรตเงินตรา สลับสีธนบัตรใบละ 1,000 บาท กับธนบัตรใบละ 500 บาท แล้วประกาศให้นำมาแลกภายใน 6 เดือน หากเกินกำหนดเวลาแลกถือว่าธนบัตรนั้น ใช้ชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมาย ใครแลกเกิน 2 แสนบาทต้องแจ้งที่มาของเงิน

เชื่อว่าจะมีคนที่ครอบครอบเงินสด ๆ เกิน 2 แสนบาทเป็นจำนวนมหาศาล เอาแค่กรณีปล้นพันล้าน อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม พบเงินสดเป็นแบงก์ใบใหญ่เต็มห้อง

พรรคไหนกล้าเข็นนโยบายนี้ นับว่าเป็นการเปิดประตูประกาศสงครามคอร์รัปชันเต็มรูปแบบ ควรจุดประกายความคิดช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

แม้มีพรรคเพื่อไทยเพิ่งประกาศป้องกัน “การเมืองแบบลิงกินกล้วย” เป็นรัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ คงไม่พอจะต้านทานขบวนการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นทุกย่อมหญ้าในที่มีอำนาจและงบประมาณได้

ทางที่ดี “รัฐบาลลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรชิงจังหวะประกาศปริวรรตเงินตราก่อนคริสต์มาส เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้ใส่สะอาด ป้องกันนำเงินสดนอกระบบที่สะสมเตรียมซื้อเสียงครั้งนี้มา ประมูลอำนาจในแต่ละเขตเลือกตั้ง

และ ลดการปะทะของผู้สมัครส.ส.แต่ละเขตเลือกตั้งในจังหวัดไปในตัว เพราะเมื่อหอบเงินนอกระบบมาใช้ซื้อเสียงไม่ได้ ก็ลดความจำเป็นการใช้ขุมกองกำลังนอกระบบเข้ามาในพื้นที่ เพื่อเป็นหน่วยคุ้มครองผู้สมัครส.ส.และข่มขู่ให้การซื้อเสียงเข้าเป้า

นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ก็เช่นกัน ควรกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำตามโครงสร้างของคณะกรรมการไตรภาคี นายจ้าง ลูกจ้างและรัฐ แล้วคลอดมาตรการแรงจูงใจให้แรงงานเข้าสู่ห่วงโซ่เสริมทักษะ-พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มค่าจ้างเป็นขั้นบันไดให้กับแรงงานฝีมือ

แค่ไม่กี่นโยบายและมีนักการเมืองที่เป็นนักบริหารเข้ามาเป็นรัฐบาล เศรษฐกิจไทยย่อมฟื้นคืนชีพได้ ภายใต้กล้ากิโยตินกฎหมายที่ล้าสมัย มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ก่อนยกเครื่องโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพื่อยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

พรรคการเมืองไหนกล้าทำ ขอปั่นใจให้ทันที

……………………..

คอลัมน์ : ไขกุญแจ-ไขแหลก

โดย #ราษฎร์เต็มขั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img