วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSน้ำแล้ง “ซ้ำซาก”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

น้ำแล้ง “ซ้ำซาก”

ปีนี้ น้ำทะเลหนุนทะลุแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นมาถึงพื้นที่ปทุมธานีเร็วกว่าปกติ และ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์เตือน ประเทศไทยขยับเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่ช่วงกลางเดือนก.พ.64 กระทรวงมหาดไทย เด้งรับลูกคณะรัฐมนตรีสั่งรับมือภัยแล้ง 

ส่งสัญญาณยุคโควิด-19 ระบาดอยู่ เกิดภัยแล้งหนักแน่ปีนี้ 

ทำไม ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการรับมือภัยแล้งทุกปี 

มันเกี่ยวโยงกับการผลาญงบประมาณของผู้มีอำนาจและหน้าที่ บนความย่อยยับของบ้านเมืองและความทุกข์ยากของชาวบ้าน 

แม้มี สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตั้งแต่ ปี 2560 เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยตรง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี 

ภารกิจชัดเจนจัดทำนโยบาย วางแผนยุทธศาสตร์ แผนแม่บท มาตรการสู่การปฏิบัติ เชื่อมโยง บูรณาการข้อมูลสารสนเทศ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ 

ดึงภารกิจจากหน่วยงานตามกระทรวงต่างๆ มา เพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการให้ตอบโจทย์ 

ยุทธศาสตร์แบบองค์รวมในทุกมิติ จัดทำคลังข้อมูล ออกแบบกฎหมายน้ำ วางกำลังคนคุณภาพ  สร้างคลื่นลูกใหม่ราชการไทย 

หลังคลอด พ.ร.บ.น้ำ เพื่อสะสางปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเน่าเสียได้บรรลุเป้าหมายเดิม การแก้ปัญหาด้านนี้กระทำโดยหลายหน่วยงานตามอำนาจและหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับหลายฉบับ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน 

ราษฎรเต็มขั้น ส่องการทำงานของ สทนช. แล้ว รู้สึกหว้าเหว่ ไม่เห็นเค้าลางเดินไปสู่เป้าหมายได้ ตอกย้ำโดยมติคณะรัฐมนตรีรับมือภัยแล้งถูกคลอดออกก่อนถึงฤดูแล้งทุกปี 

เน้นจัดการน้ำให้สมดุลในปริมาณน้ำที่มีอยู่ตามความต้องการใช้น้ำ โดยให้บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง สำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร อุตสาหกรรม 

cr / สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

วางเจ้าภาพหลักรับผิดชอบเร่งเก็บน้ำไว้ในแหล่งน้ำก่อนสิ้นฤดูฝน จัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ วางแผนวางท่อประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคสาขาข้างเคียง  

ผุดแผนรับน้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำโดยตรง เติมน้ำให้กับแหล่งน้ำในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ วางกรอบจัดสรรปริมาณน้ำในฤดูแล้งซ้ำซากที่ชัดเจน เพื่อป้องกันผลกระทบขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค พร้อมขึ้นทะเบียนผู้ใช้น้ำ เฝ้าระวังคุณภาพในแม่น้ำสายหลัก สายรอง วางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 

วางมาตรการควบคุมการสูบน้ำ การแย่งน้ำ 

มิน่าถึงมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำการเกษตรเกือบ 45 จังหวัด 

พื้นที่เสี่ยงน้ำอุปโภค บริโภคอีก 28 จังหวัด 

แต่ทำไม่มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในภาคอุตสาหกรรม 

ชาวนา ชาวบ้าน แย่งสูบน้ำ แย่งน้ำ แต่กลับสร้างความร่ำรวยให้กับบริษัทเอกชนที่เข้ามาลงทุนบริหารจัดการน้ำดิบสำหรับอุปโภคบริโภค การเกษตรและอุตสาหกรรม กำหนดอัตราค่าน้ำดิบตามกลุ่มประเภทการใช้น้ำหลัก 

สะท้อนให้เห็นการบริหารจัดการระหว่างภาคเอกชนกับกลไกของรัฐชัดเจน 

ในเมื่อหน่วยงานหลักรู้ความต้องการใช้น้ำในแต่ละปีกี่แสนล้านลูกบาศก์เมตร ต้องสามารถบริหารจัดการสร้างความมั่นคง สร้างเสถียรภาพการใช้น้ำอย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ 

อย่างน้อยต้องไม่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 

ขอบอกว่าภัยแล้งปี 64 น่ากลัว ทั้งจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงเร็วกว่าปกติ 

ภาพรวมปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศยังอยู่ในระดับปานกลาง 

แต่มีเพียง 6 แห่งที่น้ำอุดมสมบูรณ์ และบางเขื่อนเข้าสู่ขั้นวิกฤติแล้ว 

ทำไมกลไกของรัฐและรัฐบาลจัดการปัญหานี้ไม่ได้ หรือมีอะไรมาบดบังวิสัยทัศน์

………………………..

คอลัมน์ : ไขกุญแจ/ไขแหลก

โดย “ราษฎรเต็มขั้น”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img