วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคด้านดิจิทัล” ...ถึงเวลารัฐบาลต้องทำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคด้านดิจิทัล” …ถึงเวลารัฐบาลต้องทำ

คนไทยตื่นตัวข้อมูลส่วนบุคคล เป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นกับแอปพลิเคชัน “เป๋าตังเวอร์ชันใหม่”ของธนาคารกรุงไทย สร้างความไม่พึงปรารถนาให้ผู้ใช้บริการ

เมื่อระบุให้ผู้ใช้บริการ “ยินยอม” เปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการตรวจสอบยืนยันตัวตนในโครงการภาครัฐ ซึ่งอยู่ในข้อ3

คล้ายเป็นไฟท์บังคับให้ผู้ใช้บริการ “กดยินยอม” อ้างป้องกันการสวมสิทธิและทุจริตในโครงการรัฐ

ใครไม่ยินยอมจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการภาครัฐได้

กลายประเด็นสาธารณะที่ร้อนแรง ธนาคารกรุงไทย ถึงขั้นยอมถอย ยกเลิกระบบยินยอมเปิดเผยข้อมูลบน “แอปเป๋าตัง” เพื่อความสบายใจของผู้ใช้งานและความโปร่งใส

ส่วนผู้ใช้งานที่กดให้ความยินยอมไปแล้ว ระบบทำการยกเลิกให้โดยอัตโนมัติ

ต้องยอมรับว่า “แอปเป๋าตัง” คนไทยเข้าถึงกว่า 40 ล้านคน มีโอกาสต่อยอดเปิดให้บริการดิจิทัลอีกมากมาย เป็นจังหวะที่ดีผลักดัน “แอปเป๋าตัง” ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับคนไทย

วันนี้เราพึ่งพาแอปต่างชาติเป็นหลัก เพื่อเข้าถึงบริการดิจิทัล ทั้งเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ไลน์

กลุ่มออนไลน์ช้อปปิ้ง มีลาซาด้า แกร๊ป ฟู้ดแพนด้า คนไทยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าจีพีให้บริษัทต่างชาติ

ข้อมูลคนไทยวิ่งออกไปต่างประเทศหมด “กฤตธี ศิริสิทธิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร deeple โปรแกรมเมอร์ดีกรีแชมป์โลก Worldwide Imagine Cup 2010และผู้พัฒนาdeeple Al Chatbot ระบุ (https://www.thansettakij.com/content/politics/463699#:~:text=นายกฤติธี%20ศิริสิทธิ์,ที่ดีในการต่อ)

ขณะที่เฟซบุ๊ก-ไลน์ ยังเป็นแอปขวัญใจมหาชนคนไทย มีผู้ใช้ประมาณ 45 ล้านบัญชีพอๆ กัน ที่น่าสนใจยังมีกลุ่มออนไลน์ช้อปปิ้ง ลาซาด้า-ช้อปปี้ ช่องทางกดจิ้มเลือกซื้อสิ้นค้าที่โดนใจขาช้อปทั้งหลาย และยังไม่นับรวมแอปฟู้ด

เดลิเวอร์รี่ของชอบของคนเมือง

“ทุกแอปที่เราใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลไหลไปอยู่ระบบหลังบ้านของเจ้าของแอปหมดแล้ว” นักออกแบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ท่านหนึ่งแนะนำ “ราษฎรเต็มขั้น” อยู่เสมอว่าให้ระมัดระวัง

แม้ประเทศไทยมีพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลครอบคลุมทุกกิจกรรมที่ดำเนินการในประเทศไทย การโอนข้อมูลส่วนบุคคลจากการดำเนินธุรกิจในไทย เพื่อส่งผ่านไปทำการประมวลผลที่ต่างประเทศ ก่อนส่งกลับมาทำธุรกิจในไทย

ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ฉะนั้นหากสังเกตให้ดีทุกแพลตฟอร์มที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งให้บริการอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศที่ทำธุรกิจในประเทศไทย ต่างปรับหลักเกณฑ์

เหมือนที่ “แอปเป๋าตัง” ทำ คือ ขอความยินยอมจากผู้ใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในสัญญาชัดเจน ทั้งจุดประสงค์ในการขอข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้ หรือไม่นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

และส่วนใหญ่ทุกแพลตฟอร์มมีกฎเหล็กผูกมัดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการผ่าน “อีเมล-เบอร์โทรศัพท์-บัตรประชาชน”

ไม่นับร่วมพฤติกรรมของผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆ นั่นแหละเป็น “บิ๊กดาต้าชั้นดี” ซึ่งเป็นอาวุธทรงพลัง

นำไปใช้วางยุทธศาสตร์ได้ทุกด้านให้โดนใจผู้ใช้บริการ โดยที่เราๆท่านๆไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป

“ราษฎรเต็มขั้น” แอบปลื้มใจที่คนไทยตื่นตัวกลัวข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

ทั้งกับแพลตฟอร์มสายพันธุ์ไทยและแพลตฟอร์มสายพันธุ์ต่างชาติ

cr / www.dga.or.th

และจังหวะนี้หวังว่ารัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล ต้องกล้าออกแบบโจทย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยวาง “โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคด้านดิจิทัลของประเทศไทย”

เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานและเพิ่มแหล่งงานนะดับเอสเอ็มอีให้แก่ประชาชน

ช่วยกระตุ้นหัวใจเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ฟื้นคืนชีพในช่วงโควิด-19 ระบาด

ที่สำคัญสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว

……………………………………….

คอลัมน์ : ไขกุญแจ/ไขแหลก

โดย..“ราษฎรเต็มขั้น”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img