วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSเปิดโรงเรียนควรทำอย่างไร เมื่อโควิดแพร่ทางอากาศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดโรงเรียนควรทำอย่างไร เมื่อโควิดแพร่ทางอากาศ

“ศบค.” คลายล็อกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.64 เพื่อสร้างความสมดุลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ 

โดยมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เตือนให้ระวังเกิดการระบาดระลอกใหม่ตามมาอีก เพราะข้อมูลด้านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโควิดยังไม่หยุดนิ่ง สถานการณ์เปลี่ยนบางทีข้อเท็จจริงอาจต้องขยับตามสถานการณ์ 

มันเป็นความจริง ณ เวลาหนึ่ง พอเวลาผ่านไปมันใช้ไม่ได้แล้ว อาจต้องใช้ข้อมูลใหม่ 

ขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพยายามทำการศึกษาเพื่อสร้างข้อมูลขึ้นมา บางมุม บางเรื่องยังอยู่ระหว่างศึกษา ค้นคว้า วิจัย แต่บางจังหวะภาวะโควิดมันวิกฤติ ก็ต้องชั่งน้ำหนักปล่อยข้อมูลที่ยังไม่สะเด็ดน้ำออกมา 

เหมือนที่ทาง ศบค. กำลังเร่งฉีดวัคซีนให้นักเรียน เพื่อเปิดการเรียนการสอนในโรงเรียนตามปกติ หลังผลของการปิดโรงเรียนก่อให้เกิดปัญหานานัปการ บุตรหลานของเราตกอยู่ในสภาพการเรียนรู้ที่ถดถอย กระทบต่อสภาพจิตใจของเด็ก คุณครูและผู้ปกครอง 

โดย ผศ.ดร.เอกบดินทร์ วินิจกุล นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอาเซีย (AIT) แนะโรงเรียนถึงการเตรียมพร้อม 

ทั้งพื้นที่ต้องมีระยะห่าง มีการระบายอาการที่ดี ค่อนข้างกังวลในช่วงรับประทานอาหาร บางโรงเรียนอาจให้รับประทานอาหารในห้องเรียน 

“ถ้าเป็นไปได้อาจแบ่งช่วงเวลา ห้องนี้ทานก่อนในพื้นที่ที่เปิด ให้เด็กแยกกันหน่อย” 

ถ้อยคำเตือนด้วยความหวังดี เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงที่มีน้ำหนัก เพราะอาจารย์เอกบดินทร์และ นายธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมบริษัทชั้น เจ้าของเพจ Airborne เปิดมุมมองทางวิศวกร บรรยายออนไลน์ เรื่อง “Covid is Airborne แกะรอยโควิด-19 ละอองลอยคือตัวการ” ผ่านเฟซบุ๊กเพจ Zero C Thailand เมื่อวันที่ 25 ก.ย.64ว่า “ช่วงเวลาอาหารกลางวันเป็นช่วงที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะนักเรียนจะถอดหน้ากาก” 

โดยเจ้าของเพจ Airborne ยกตัวอย่างแนวทางและคำแนะนำที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ(Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ได้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์โควิด มีการเปลี่ยนอยู่เสมอ  

ฉะนั้นโรงเรียนควรกำหนดให้ใส่หน้ากาก-เว้นระยะห่างในจุดบริการอาหาร นักเรียนอยู่ห่างกันอย่างน้อย6ฟุต ปรับปรุงการระบายอากาศ ซึ่งรวมถึงการใช้พื้นที่กลางแจ้ง 

พื้นที่ในห้องเรียน โรงเรียนที่ไม่มีเครื่องปรับอาการย่อมปลอดภัยกว่า โรงเรียนไหนมีเครื่องปรับอากาศควรเปิดหน้าต่างรับอากาศตามธรรมชาติ หรือเปิดพัดลมภายในห้อง ให้อากาศได้ขยับเขยื้อน 

คำเตือนคือ โรงเรียนที่เป็นห้องแอร์ถ้าไม่เปิดประตู หน้าต่าง ก็ต้องติดพัดลมดูดอากาศเพิ่ม เพิ่มระบบฟอกอากาศ หรือเพิ่มระบบเติมอากาศ หากไม่ทำตามนี้นั้นหมายถึงกำลังเดินไปสู่ความเสี่ยงสูงสุด 

CDC ของสหรัฐฯและอังกฤษแนะนำให้แบ่งชั้นเรียนเป็นห้องเล็กๆ คุณครูใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อลดการเปล่งเสียง ใส่หน้ากากทั้งคุณครูและนักเรียน 

หากบุตรหลานมีอาการ ผู้ปกครอง พ่อแม่ ต้องให้หยุดเรียนและแยกกักตัวทันที แม้มีอาการนิดหน่อย ติดเชื้ออาการจะไม่หนัก ก็ไม่ควรให้ลูกไปโรงเรียน เพราะเป็นจุดเพิ่มการระบาด จากเด็กต่อไปยังผู้ปกครอง ในที่สุดผลกระทบจะหนักมาก 

“ข้อควรปฏิบัตินอกโรงเรียนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น นักเรียนเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ นักเรียน-ผู้ปกครองแวะสถานที่ต่างๆก่อนกลับบ้าน ทุกคนต้องระมัดระวังตัวเองอย่างเคร่งครัด แม้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว” อาจารย์เอกบดินทร์ สะกิดให้พวกเราการ์ดอย่าตก 

คำแนะนำดีเหล่านี้ เพียงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแล เพื่อให้การกลับมาเปิดโรงเรียนใหม่อีกครั้งมีความปลอดภัยมากขึ้น 

…………………………….

คอลัมน์ : ไขกุญแจ-ไขแหลก

โดย #ราษฎรเต็มขั้น 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img