วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSอนาคตการเมืองไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อนาคตการเมืองไทย

ไปไหนก็เจอคำถามถึง “อนาคตการเมืองไทย” จะเป็นอย่างไร บนสภาพความแตกแยกในสังคมร้าวลึก และซ้ำเติมด้วยวิกฤติด้านต่างๆ

เฉพาะแค่การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพรรคการเมือง หรือกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาวาระ 2-3

โดยเฉพาะประเด็นร้อน สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อหารด้วย 100 และ หารด้วย 500 ขับเคี่ยวกันชนิดเอาเป็นเอาตาย ต่างฝ่ายต่างยกเหตุผลอีกฝ่ายขัดต่อหลักการกฎหมายลูก และขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

สูตรพิสดารหาร 500 มาแรงแซงทางโค้ง นั้นเป็นวาระเฉพาะหน้าที่มีทางออก อย่างน้อยก็จบที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด อย่างมากรัฐบาลใช้อำนาจออกพระราชกำหนดการเลือกตั้งส.ส. แทนกฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส.ที่แท้งก่อนคลอด

สรุปหารด้วยสูตรไหน ก็ดีกว่าการเลือกตั้้งครั้งที่ผ่านมา แต่ประเทศไม่ได้อะไรจากประเด็นนี้ เพราะไม่ได้ออกแบบรัฐธรรมนูญเชิงโครงสร้าง แค่เปลี่ยนตะปูตัวใหม่ไม่กี่ตัว กับดักยังถูกวางอยู่เต็มกระดาน

ด่านนี้ผ่านไปได้ก็ต้องส่องดูสองปีหัวเลี้ยวหัวต่อกระดานการเมือง ที่กำลังเริ่มเกมกันใหม่ผ่านการเลือกตั้ง

นับจากนี้ “รัฐบาลลุงตู่” พยายามอยู่ครบเทอม ไม่มีเหตุผลต้องเปิดเกมเลือกตั้งเร็ว ฝ่ายค้าน โดยเฉพาะ “พรรคเพื่อไทย” ก็ไม่จำเป็นชิงสุกก่อนห่าม บี้บดให้รัฐบาลยุบสภา เพราะเลือกตั้งครั้งหน้าถือธงได้เปรียบชัดเจน

เชื่อมั่น “พรรคภูมิใจไทย” หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลที่จะฝ่ากระแสได้เสียงเพิ่มขึ้น กลายเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งต่อไป

ก่อนมีการเลือกตั้งควรถอดสลักระเบิดเวลาลูกแรก โดยแก้ไขรธน.ปิดสวิตช์ส.ว. ห้ามโหวตเลือกนายก

“บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ผู้ตัดสายสะดือให้กำหนด ส.ว. ต้องกล้าปลดเงื่อนไขขัดแย้ง

ไม่เช่นนั้นอาจเป็นชนวนหลังการเลือกตั้ง เกิดปัญหาเผชิญหน้าระหว่างเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนกับ ส.ว. 250 คน มีโอกาสระเบิดเกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ได้

“เพื่อไทย-ก้าวไกล” รวมกันได้เสียงข้างมาก แต่จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ หากไม่ปิดสวิตช์ ส.ว. 

ยังมีมาตรา 271 ที่ให้อำนาจ ส.ว. สารพัดนึกจัดการรัฐบาลผ่านกลไก ทั้งกฎหมายปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ แม้ฝ่ายค้านจัดตั้งรัฐบาลได้ อาจเป็นเงื่อนไขทำให้รัฐบาลชุดใหม่มีปัญหา

ทางออกพอมี ใช้วิธีประนีประนอม เพื่อให้อนาคตประเทศเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ อย่างน้อยลดบรรยากาศขัดแย้งลงได้บ้าง

แต่ต้องหยิบวาระของฝ่ายหัวก้าวหน้า อาทิ การตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันหลัก เข้ามาพูดคุยในเวทีรัฐสภา เพื่อหาทางออกร่วมกัน ไม่เช่นนั้นก็กลายเป็นระเบิดอีกลูกที่รอวันตูมตามได้

‘อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร’ ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนรวมและนวัตกรรม พรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลต้องระมัดระวัง “อุ๊งอุิ๊ง” แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ก้าวขึ้นบริหารประเทศอาจซ้ำรอยเดิม เอื้อประโยชน์ “ตระกูลชินวัตร”

สุดท้ายพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลราบรื่น ก็จะด่านทดสอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ และบริหารราชการแผ่นดินผ่านไปแค่ปีแรก ก็ต้องมีการสรรหาส.ว.ต่อไป มีนัยยะสำคัญต่อการเมืองไทยมาก

เพราะต้องรื้อโครงสร้างให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์แบบ อย่างน้อยบทบาทของส.ว. ที่ยึดโยงกับองค์กรอิสระ ไม่เกิดปัญหาแทรกแซงองค์กรอิสระเหมือนในอดีต

ขอย้ำการปิดสวิตซ์อำนาจ ส.ว.-ได้รัฐบาลจากความต้องการของประชาชน-รัฐบาลไม่มีวาระแอบแฝงเอื้อประโยชน์พวกพ้อง-แก้รัฐธรรมนูญ แสวงหาความสมดุลเพื่อประคองประชาธิปไตยให้เดินหน้า       

เป็นมุมมองที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกฯ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการเมืองและอนาคตการเมืองไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ที่เริ่มชี้ให้เห็นตัั้งแต่รัฐบาลลุงตู่จะลากยาวจนถึงประคองประชาธิปไตยให้เดินหน้า

นับเป็นการส่งสัญญาณถึงการเมือง 2 ขั้ว ว่าในวิกฤติย่อมมีโอกาสรวมพลังช่วยกันฟื้นประชาธิปไตย

…………………………

คอลัมน์ : ไขกุญแจ-ไขแหลก

โดย #ราษฎรเต็มขั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img