วันพุธ, ตุลาคม 9, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEPDP 2024แผนผลิตไฮโดรเจน-นิวเคลียร์ “สนพ.”รอชงเข้า“ครม.”ภายในก.ย.67 นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

PDP 2024แผนผลิตไฮโดรเจน-นิวเคลียร์ “สนพ.”รอชงเข้า“ครม.”ภายในก.ย.67 นี้

แผน PDP 2024  ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซฯ มากสุด 39% ส่วนพลังงานหมุนเวียน ดึงโซลาร์เซลล์เข้าระบบกว่า 16% หรือกว่า 2 หมื่นเมกกะวัตต์ พร้อมเปิดทางพลังงานใหม่ไฮโดรเจน และนิวเคลียร์ SMR 600 เมกะวัตต์ด้วย นำเสนอครม.ไฟเขียวภายใน ก.ย.67 นี้

นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า สนพ. ได้เปิดร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ PDP 2024 และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ.2567-2580 (Gas Plan 2024) รอบสื่อมวลชนแล้ว ก่อนจะเปิดรับฟังความเห็นในวันที่ 12-13 มิ.ย.67 โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นในกลุ่มภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพ และจะเปิดรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ใน 4 ภูมิภาค ครอบคลุมทั่วประเทศ

โดยในวันที่ 17 มิ.ย.67 ช่วงเช้าสำหรับประชาชนภาคกลาง ช่วงบ่ายสำหรับประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ช่วงเช้าสำหรับประชาชนภาคใต้ ช่วงบ่ายสำหรับประชาชนภาคเหนือ นอกจากนี้ สนพ. ยังเปิดรับให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามาแสดงความเห็นผ่านช่องทาง Facebook : EPPO Thailand และเว็บไซต์ www.eppo.go.th ตั้งแต่วันที่ 19-23 มิ.ย.67 ซึ่งข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็น สนพ. จะนำไปประกอบการปรับปรุงทั้งสองแผนนี้ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และนำเสนอครม.ภายในเดือนก.ย.67

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิงของแผน PDP-2024 แบ่งเป็น ก๊าซธรรมชาติ 39% ถ่านหินและลิกไนต์ 7% พลังน้ำจากต่างประเทศ 15% พลังน้ำในประเทศ 2% พลังงานแสงอาทิตย์ 16% คิดเป็นกำลังผลิตกว่า 20,000 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ 1% พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ 15% พลังงานแบบสูบกลับ 1% ระบบกักเก็บพลังงาน 2% พลังงานนิวเคลียร์ 1% และการอนุรักษ์พลังงาน 0.04%ๆ โดยส่วนหนึ่งของแผนนี้จะมีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน 5% ด้วย

นายวีรพัฒน์ ระบุเพิ่มเติมว่าในร่างปลายแผน PDP 2024 หรือในช่วงปีพ.ศ.2580 จะมีมีพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เป็นทางเลือก 600 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นพลังงานที่จะมาสนับสนุนในเรื่องความมั่นคงได้ เพราะแผน PDP 2024 จะมีพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบถึง 51% หากทางเลือกนี้ไม่เห็นด้วยก็จะต้องนำพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบเข้ามาเพิ่มเติม เพราะไทยต้องลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าให้พันธสัญญา สำหรับเทคโนโลยี SMR ตอนนี้มีการใช้มากขึ้นในหลายประเทศ เพราะทุกประเทศต่างต้องการความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในระยะยาว และต้นทุนต่ำ ซึ่ง SMR ต้นทุนต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซฯ โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีของหลายประเทศที่มีการพัฒนา อาทิ จีน ที่นำออกมาใช้แล้ว รวมถึงสหรัฐ ฝรั่งเศส เป็นต้น

สำหรับหัวใจของแผน PDP-2024 คือ 1.ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่จะเพิ่มถึง 50,000 เมกะวัตต์จากปัจจุบัน 36,000 เมกะวัตต์ 2.กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มเป็น 51% แผน PDP-2018 ที่มีสัดส่วน 36% 3.ความเข้มข้นของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าเหลือ 60 ล้านต้นต่อปีจากแผนเดิม 80-90 ล้านตันต่อปี 4.การซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโดยตรงระหว่างเอกชน (Direct PPA) ที่อยู่ระหว่างการหารือเพื่อกำหนดแนวทาง ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะต้องทำในพื้นที่นำร่องก่อน

นายวีรพัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ.2567-2580 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอกับความต้องการใช้ของประเทศ และบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพโดยประมาณการความต้องการใช้ก๊าซฯในระยะยาวจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ภาพรวมความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติลดลงจาก 4,859 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2567 เป็น 4,747 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2580 การใช้ก๊าซฯในการผลิตไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและไฮโดรเจน การใช้ในโรงแยกก๊าซฯที่ลดลงตามปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทย และการใช้ในภาคขนส่ง ตามจำนวนรถ NGV ที่มีแนวโน้มลดลง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img