วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEทำความเข้าใจ'หนี้ครัวเรือน' วิกฤตโควิดปรับตัวอย่างไร?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ทำความเข้าใจ’หนี้ครัวเรือน’ วิกฤตโควิดปรับตัวอย่างไร?

ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดในรอบ 18 ปี ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 กลับมาระบาดรอบใหม่ จะทำความเข้าใจ และมีวิธีปรับตัวของแต่ครัวเรือนอย่างไร ติดตามบทสัมภาษณ์ “ผู้บริหารศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ที่อธิบายที่มา-ที่ไป และความเข้าใจในเรื่องหนี้ครัวเรือน

เมื่อวันที่ 13 ม.ค.64 น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย กลุ่มงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวผ่านรายการ “กวนข่าว กวนคน” ทาง FM 102.5 MHz ถึง ปัญหาของหนี้ครัวเรือน ในเวลานี้ว่า “หนี้ครัวเรือน” มีหลายหน่วยงานทำการสำรวจและจัดเก็บอยู่ อาทิ ผลสำรวจของ ม.หอการค้าไทย ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และ และ ข้อมูลของธปท. ที่เก็บรวบรวมจากธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสถาบันการเงินอื่นๆ ตามนิยามคำว่า “หนี้ครัวเรือน” คือหนี้ของบุคคลทั่วไปที่ไปกู้ยืม สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ อาทิ ออมสิน อาคารสงเคราะห์ สหกรณ์ บริษัทบัตรเครดิต บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ลิสซิ่ง เป็นต้น โดยจะเป็นการมองภาพรวม และเฉลี่ยประชากรไทย ว่าหนี้แต่ละครัวเรือนมีเท่าไหร่ ถ้าครัวเรือนไหน ไม่มีหนี้ ก็ไม่ถือว่ามีภาระหนี้

“ผลสำรวจของม.หอการคาไทย สูงสุดในรอบหลายปี ส่วนข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนี้รวมกัน 13.76 ล้านล้านบาท แต่ยังไม่ได้หารเฉลี่ยต่อครัวเรือน หมายถึงหนึ่งคนของบุคคลทั่วไป เวลามองหนี้ภาพรวมของประเทศ จะหาร “จีดีพี” (มูลค่าทางเศรษฐกิจ) ซึ่งจะอยู่ที่ 87% ต่อจีดีพี เป็นสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปี” น.ส.กาญจนา กล่าวและว่า โชคดีที่สัดส่วนการเป็นหนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ที่นำไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน บางครัวเรือนเป็นหนี้เพื่อซื้อบ้าน ซึ่งการมีบ้านอยู่ ก็ดีกว่าเช่า ถือว่าก่อให้เกิดทรัพย์สินตามมาในอนาคต และหนี้บางส่วนของครัวเรือน ก็เป็นไปด้วยการประกอบอาชีพ การก่อหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ตามมาในอนาคตก็ถือว่าดี

cr : www.kasikornresearch.com

เมื่อถามถึงหนี้ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด น.ส.กาญจนา กล่าวว่า อธิบายพอได้ เพราะข้อมูลที่ทุกภาคส่วนมี ยังไม่ครอบคลุมโควิดรอบใหม่ ยังคุมถึงเดือนมี.ค.63 หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ก่อนและหลังโควิดเป็นอย่างไร พบว่า ช่วงก่อนโควิด หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 80% ต่อจีดีพี หลังเศรษฐกิจชะลอตัวและหดตัวลง อาจจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้น หรือต้องใช้สภาพคล่อง หรือตกงาน ก็ทำให้ตัวหนี้เพิ่ม ขณะที่จีดีพีลด จึงขยับไปที่ 87%

ถามอีกว่า หนี้ครัวเรือนมีผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม น.ส.กาญจนา ตอบว่า คนรับภาระการจ่ายหนี้คือ “ครัวเรือน” เพียงแต่สถาบันการเงินอาจแบ่งเบาภาระให้บ้าง ตอนนี้บางคนอาจตกงาน สถาบันฯก็จะมีมาตรการช่วย ชะลอหนี้ พักหนี้ หรือลดภาระผ่อนต่อเดือนในช่วงเวลานี้ไปก่อน ส่วนภาครัฐ ธนาคารเฉพาะกิจ ก็มีมาตรการช่วยเหลือเช่นกัน หรืออาจเสริมสภาพคล่อง รวมๆ แล้วมีมาตรการช่วยเหลือ แต่หลังจากหมดโควิดไปแล้ว ตัวแต่ละครัวเรือนอาจต้องทบทวนว่า รายได้ที่เรามี จะพอจ่ายคืนหนี้หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ อีกช่องทางหนึ่งคือ รับเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ คือทุกๆ เดือนที่ต้องจ่าย อาจมีภาระต่อเดือนลดลง และอาจขยายเวลาการชำรหนี้ให้ยาวขึ้น เพื่อความเหมาะสม

น.ส.กาญจนา กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะ “ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย” คงไม่อยากให้เกิดภาพนี้ ถ้ามองว่า “ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย” ท้ายที่สุด เรามองฝั่งของหนี้ที่อยู่ในระบบ ถ้าไม่มีก็เข้าไปคุย เจ้าหนี้มีบริษัทติดตามทวงถามหนี้อยู่แล้ว ทั้งบัตรเครดิต และพวกเช่าซื้อ ถ้าไม่หนีก็มาประนอมหนี้กัน ถ้าไม่จ่ายก็คงต้องจำหน่ายออกไป ให้บริษัทบริหารหนี้มาดูแล

เมื่อถามว่า ตัวเลขหนี้ครัวเรือน ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจภาพรวมยากหรือไม่ น.ส.กาญจนา กล่าวว่า เป็นวังวน การกระตุ้นให้เกิดการบริโภค ให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น ถูกลดทอนลงไป แต่ละคน…ไม่ใช้จ่ายเพิ่ม เพราะมีภาระหนี้อยู่ การมีหนี้ก็เป็นข้อจำกัด ครัวเรือนไม่มีกำลังซื้อ ฟื้นเศรษฐกิจได้ยาก หารายได้มาชำระหนี้ บางคนมีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่น ภาระหนี้อาจเกือบ 30% จ่ายหนี้ไปแล้ว เงินจะเหลือน้อยลง

ถามว่า หนี้ครัวเรือนรวมอยู่ที่ 87% ของจีดีพี จะถือว่า ถ้าครัวเรือนหนึ่งมีรายได้ 100 บาท จะมีหนี้ 87 บาท ใช่หรือไม่ นางกาญจนา ตอบว่า ไม่ใช่ เป็น 87% ของจีดีพี ถ้าดูข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจมา จะดูว่าแต่ละคน มีรายได้เท่าไหร่ มีภาระหนี้เท่าไร ซึ่งจะได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 27% บางครัวเรือนที่มีรายได้สูง ภาระหนี้อาจไม่ได้สูง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img