วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE'สคบ.'สั่งห้ามอุปกรณ์รังสียูวีซี โฆษณาเกินจริง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สคบ.’สั่งห้ามอุปกรณ์รังสียูวีซี โฆษณาเกินจริง

“สคบ.” ออกประกาศราชกิจจาฯมีผลตั้งแต่ 11 ม.ค.64 ห้ามขาย ห้ามให้บริการ สินค้าอวดอ้างสรรพคุณ โฆษณาเกินจริงว่า ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือ ลดการติดเชื้อได้ถึง 99% ทั้งกำจัดแบคทีเรีย ไรฝุ่น หายังดื้อขาย เจอคุก 3 ปี ปรับ 6 แสนบาท  

เมื่อวันที่ 22 ม.ค.64 นายฐิตินันท์ สิงหา ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสลาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้สัมภาษณ์ในรายการ “กวนข่าว กวนคน” ทางคลื่น FM 102.5 MHz ว่า ช่วงสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ผู้ประกอบการหลายๆ ราย มีการโหมโฆษณาเครื่องรังสียูวี โคมไฟฆ่าเชื้อ อุปกรณ์พกพาแบบต่างๆ เช่น กระเป๋าฆ่าเชื้อโรค เครื่องจำกัดไรฝุ่นด้วยรังสียูวี อุปกรณ์ฆ่าเชื้อรูปแบบต่างๆ เสนอขายให้ประชาชน ซึ่งเป็นผู้บริโภค อ้างว่าให้ใช้ในบ้านเรือน สามารถกำจัดแบคทีเรีย ไรฝุ่น รวมทั้งยังโฆษณาสรรพคุณ ป้องกันไวรัสโควิด สามารถลดการติดเชื้อได้ 99%

สคบ.ไปหารือหลายสถาบัน ทั้งสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า การใช้งานรังสียูวีซี หากผู้บริโภคได้รับสัมผัสโดยตรงจะก่อให้เกิดอันตราย เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง ทำให้กระจกตาอักเสบ จอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ ซึ่งการใช้รังสีจะเกี่ยวกับค่าความเข้มความถี่ ที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งคณะกรรมการ สคบ. ว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้า เล็งเห็นว่า อุปกรณ์ฆ่าเชื้อใช้รังสียูวีซี หรืออุปกรณ์ที่อ้างว่าลดการแพร่ระบาดเชื้อโรค ถ้าผู้บริโภคสัมผัสโดยตรง ก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงนำไปสู่คำสั่งห้ามขายสินค้าดังกล่าว ห้ามให้บริการด้วยอุปกรณ์รังสียูวีซี เป็นการชั่วคราว

ประเด็นตรงนี้คณะกรรมการฯได้ออกคำสั่งไปแล้ว ให้ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ประกอบธุรกิจ ที่ต้องการให้บริการ ขายสินค้า สามารถนำสินค้ามาติดต่อ สคบ. ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศราชกิจจาบุเบกษาตั้งแต่ มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ขณะนี้มีผู้ประกอบการทั้งหมด มาเบื้องต้น 8 ราย นำสินค้ามาให้ สคบ. ทดสอบความปลอดภัย จะนำสู่เข้าที่ประชุม พิจารณาสินค้าเหล่านี้

ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสลาก กล่าวด้วยว่า ผู้ประกอบการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นผู้จำหน่ายสินค้า และผู้ผลิตเฉพาะรายให้กับห้าง หรือร้านค้า ซึ่งสินค้าจะอยู่กับเฉพาะราย สามารถดำเนินการได้ ไม่ต้องยื่น สคบ. พิจารณาในเรื่องความปลอดภัย

ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่าย บริการ คณะกรรมการฯมีคำสั่งให้นำสินค้าที่มีการจำหน่าย ใช้กับบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นผู้บริโภค สามารถทำงานได้ในพื้นที่ที่ใช้สินค้าประเภทนี้ก่อให้เกิดการสัมผัสโดยตรง ต้องนำมาพิสูจน์ทดสอบความปลอดภัย โดยแบ่ง 2 ด้านคือ ความปลอดภัยของรังสี และระยะเวลา ในการทำงาน การใช้อย่างไร ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

นายฐิตินันท์ กล่าว จะเห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้มักมีไฟสีม่วง หรือสีอื่นๆ เพราะผู้ประกอบการเอาสีต่างๆ ไปใส่ให้รู้ว่าเครื่องทำงาน แต่ตัวรังสียูวีซี ไม่มีสี ถ้ายังขายสินค้าที่คณะกรรมการ ห้ามขาย มีโทษถูกจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับเรื่องคำสั่งห้ามเผยแพร่หรือโฆษณา ต้องไปดูใช้ข้อความเท็จเกินจริง ให้เกิดความเข้าใจผิด มีโทษทั้งอาญา และแพ่งด้วย อ้างว่าฆ่าเชื้อโรคได้ จะต้องเรียกให้นำสินค้ามาทดสอบการฆ่าเชื้อโรค เพื่อเกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภค ทั้งนี้ในกรณีขายออนไลน์ แจ้งไปยังแพตฟอร์มให้ระงับในเรื่องข้อมูล อวดอ้างเกินจริง ถ้าอยู่ต่างประเทศ ต้องประสานกระทรวงดีอี จะปิดกั้นอย่างไร โดยที่ผ่านมาสคบ.แจ้งผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง เมื่อสินค้าผ่านการทดสอบของสคบ.ได้ใช้มาตรฐานระดับสากลเป็นเกณฑ์ทดสอบความปลอดภัยตัวสินค้า

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img