วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEทำความรู้จักสาระสำคัญ “พ.ร.บ.ตำรวจ”ป้ายแดง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ทำความรู้จักสาระสำคัญ “พ.ร.บ.ตำรวจ”ป้ายแดง

อีกไม่นานเกินรอ จะมีการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ ที่จะใช้แทนร่างเดิมในปี 2547 ลองไปดูสาระสำคัญๆ ของร่างกฎหมายฉบับนี้ และข้อกังวลต่างๆ

สำหรับร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มี 5 หัวข้อใหญ่ที่น่าสนใจดังนี้

1.กำหนดหลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ

-กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจ หรือ ก.ต.ช. มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แต่ไม่มีอำนาจคัดเลือกข้าราชการตำรวจ เพื่อเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีนายกฯ เป็นประธาน และมีการกำหนดกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนดวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี เป็นติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้

-เช่นเดียวกับคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. มีหน้าที่บริหารงานบุคคล รวมทั้งคัดเลือกแต่งตั้ง ผบ.ตร. มีนายกฯ เป็นประธาน และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับคัดเลือกจากข้าราชการตำรวจระดับรองผู้กำกับการขึ้นไป มีวาระดำรงตำแห่ง 4 ปี และเป็นได้วาระเดียว

-กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ หรือ ก.พ.ค.ตร. เป็นคณะกรรมการที่กำหนดขึ้นใหม่ในร่างกฎหมายฉบับนี้ มีหน้าที่เสนอแนะต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. เพื่อดำเนินการจัดให้มีการบริหารงานบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ เรื่องราวร้องทุกข์ และคุมครองระบบคุณธรรม ออกกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

-กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ ก.ร.ตร. มีหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความเดือดร้อน หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมของประชาชน จากการกระทำของข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่กำหนดขึ้นใหม่ในกฎหมายฉบับนี้ จากเดิมเรื่่องร้องเรียนจะถูกส่งให้จเรตำรวจไต่สวน แต่องค์ประกอบของ ก.ร.ตร. จะมาจากผู้ทรงคุณวุฒินอกหน่วยงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดย ก.ต.ตร.มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว

2.กำหนดหลักการสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ

2.1 กำหนดให้มีข้าราชการตำรวจมี 2 ประเภท คือ มียศ และไม่มียศ จะประกาศตามที่ ก.ตร.กำหนดไว้ ( เป็นข้อมูล/ ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ธุรการ แต่ ก.ตร.ยังไม่กำหนด ต้องรอก่อนครับ) โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการตำรวจไม่มียศให้แล้วเสร็จใน 1 ปี นับตั้งแต่กฎหมายบังคับใช้

2.2 กำหนดให้จัดแบ่งข้าราชการตำรวจเป็นกลุ่มสายงานต่างๆ ให้ชัดเจน โยกย้ายเป็นไปตามหลักการสร้างความชำนาญงาน ลดการใช้ดุลยพินิจผู้บังคับบัญชาในการแต่งตั้ง

2.2.1 กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามหลักคุณธรรมและหลักอาวุโส กำหนดให้มีสัดส่วนกลุ่มที่พิจารณาตามลำดับอาวุธส และพิจารณาตามหลักความรู้ความสามารถ ระดับผู้บังคับการถึงผู้บัญชาการ ยึดอาวุโส ร้อยละ 50 /ระดับผู้บังคับการลงมา ยึดอาวุโส ร้อยละ 33

2.2.2 กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เป็นไปตามหลักถ่วงดุลการใช้อำนาจ โดยการพิจารณาแต่งตั้งในกลุ่มความรู้ความสามารถ ต้องดำเนินการในรูปคณะกรรมการ ลดการใช้ดุลยพินิจ ที่ไม่มีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจน

2.2.3 กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เป็นตามหลักการกระจายอำนาจ โดยกระจายอำนาจไปยังผู้บังคับบัญชาระดับกองบัญชการและกองบังคับการ

2.2.4 กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เป็นไปตามหลักประกันความมั่นคงในหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง โดยกฎ ก.ตร.ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้ง ต้องมีผลบังคับใช้ 180 วันนับแต่ประกาศ

สำหรับกลุ่มสายงานสืบสวนสอบสวน กำหนดให้มีระบบต่งตั้งตำแหน่งควบคู่กับระบบแต่งตั้งโยกย้ายในกลุ่มสายงานอื่น เพื่อให้ตำรวจกลุ่มนี้ เจริญก้าวหน้าในสายงานได้ด้วยการประเมินผลงานไปจนถึงระบบรองผู้บังคับการ

3.กำหนดหลักการสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยไว้

จะมีความแตกต่างจาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยกำหนดระยะเวลาให้รวดเร็วขึ้น

4.กำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านอื่นๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

4.1 กำหนดให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริหารงาน รวมทั้งกำหนดให้เงินอุดหนุน ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรให้แก่สถานีตำรวจ โดยไต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

4.2 กำหนดให้ตำรวจกลุ่มสายงานสืบสวนสอบสวน และกลุ่มสายงานป้องกันปราบปราม ได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ตามอัตราที่ ก.ตร.กำหนด

4.3 กำหนดให้มีกองทุนสืบสวนสืบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา

5.กำหนดโอนภารกิจของตำรวจให้ส่วนราชการอื่นดำเนินการ และนำอัตรากำลังพลไปจัดสรรให้หน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่

5.1. ยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟใน 1 ปี นับแต่กฎหมายนี้บังคับใช้

5.2 ยุบกองบังคับการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน 2 ปี นับแต่กฎหมายนี้บังคับใช้ ขยายเวลาดำเนินการได้ครั้งละ 1 ปี ไม่เกิน 3 ครั้ง

ตัวแทน สตช.ย้ำ 4 หลักการแต่งตั้งโยกย้าย

ได้มีกรณีที่กรรมาธิการการตำรวจ แสดงความกังวลเรื่อง หากกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ อาจส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งจะมีการทบทวนปรับปรุงกรอบเวลาการครองตำแหน่งหรือไม่ มีการสอบถามเรื่องนี้ในการประชุม กมธ.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ/ครับ

พล.ต.ต.อนุชา รมยะนันทน์ รักษาการแทนผู้บัญชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เล่าว่า การกำหนดระยะเวลาครองตำแหน่งดังกล่าว เป็นหลักเกณฑ์ที่มีความเหมาะสม เป็นหลักประกันความมั่นคง ความก้าวหน้าในอาชีพให้ขัาราชการตำรวจ

ส่วนข้อกังวลเรื่องความไม่ได้สัดส่วนของกำลังพลในอนาคต ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการพิจารณาสัดส่วนกำลังพลล่วงหน้า หากพบว่ามีความจำเป็นที่ต้องทบทวนหรือปรับปรุงระยะเวลาดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการเพื่อแก้ไขระยะเวลา

เมื่อถามว่า หากกฎหมายตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่บังคับใช้ เมื่อกางดูลำดับอาวุโสในปัจจุบัน เทียบกับวันเกษียณแล้ว เราจะเห็นว่าที่ ผบ.ตร.คนใหม่ ล่วงหน้าไปเป็น 10 ปี เหมือนหน่วยงานอื่นที่ยึดระบบอาวุโสด้วยหรือไม่

รักษาราชการแทนผู้บัญชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ชี้แจงว่า การแต่งตั้งโยกย้ายทุกระดับจะไม่ยึดหลักอาวุโส แต่เพียงอย่างเดียวและจะพิจารณาความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญด้านอื่นประกอบด้วย

ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักสำคัญ 4 ประการ คือ หลักคุณธรรมและหลักอาวุโส หลักการถ่วงดุลการใช้อำนาจ หลักการกระจายอำนาจการแต่งตั้ง และ หลักประกันความมั่นคง เพื่อให้ได้ผู้บริหารและผู้นำองค์กรที่เหมาะสมที่สุดนั่นเอง

…………….

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img