วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEรู้จักที่มาป้ายประมูล“เลขสวย” หารายได้เข้า“กองทุนกปถ.”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รู้จักที่มาป้ายประมูล“เลขสวย” หารายได้เข้า“กองทุนกปถ.”

กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ เมื่อคลิปที่คนหน้าคล้าย “เสก โลโซ” ศิลปินชื่อดัง ถึงกับร้องโอ้โห เมื่อเห็นป้ายทะเบียนรถยนต์ประมูล หมายเลข 1 กก 1111 มีราคาสูงกว่า 36.9 ล้านบาท

เมื่อลองลงรายละเอียดเรื่องนี้ จะพบว่าเงินส่วนหนึ่งจากการประมูลเลขสวยนี้ จะถูกส่งเข้า กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) และมีประเด็นที่น่าสนใจ เป็นรายงานจากการประชุมกรรมาธิการคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร (วันที่ 18 พ.ย.2564)

โดยรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ตรวจสอบงบการเงินของกองทุน และเมื่อ สตง. ได้ตรวจสอบรับรองงบการเงินแล้ว ให้รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ยอดค้างชำระประมูลเลขสวยทางบัญชี 848 ล้านบาท

ภาพรวมรายได้จากการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของ กปถ. ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546-2564 มีจำนวน 22,600 ล้านบาท มีหมายเลขที่ค้างชำระ ณ ปัจจุบัน 848 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.75 มีหนี้ส่วนต่างที่ค้างชำระ 439 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.95

สำหรับยอดค้างชำระดังกล่าวเป็นการค้างชำระในทางบัญชี เพราะหมายเลขทะเบียนที่มีผู้ประมูลได้แล้วแต่ไม่นำเงินมาชำระตามที่กฎหมายกำหนดจะยังไม่ได้รับอนุมัติให้นำหมายเลขนั้นไปจดทะเบียน

ปัญหาหนี้ค้างชำระถือเป็นปัญญาสำคัญของ กปถ. ซึ่งปัจจุบัน กปถ. ได้มีมาตรการในการเร่งรัดบริหารหนี้ ดังนี้

1.เพิ่มหลักประกันก่อนการประมูลทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค

2.คัดกรองผู้เข้าร่วมประมูล โดยขึ้นบัญชีผู้ที่ไม่ชำระเงินหมายเลขทะเบียนที่ตนประมูลได้แล้วในครั้งก่อน ๆ และตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมประมูลในการประมูลครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมประมูลในนามตนเองหรือรับมอบอำนาจบุคคลอื่นมาประมูลแทนก็ตาม

3.ปรับเปลี่ยนระยะเวลาการบริหารจัดการหนี้ให้กระชับรวดเร็วขึ้น จากเดิมกำหนดให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนภายใน 30 วัน นับจากวันประมูล เปลี่ยนเป็นให้ชำระเงินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินประมูลภายใน 7วัน นับจากวันประมูล และชำระให้ครบจำนวนที่เหลือภายใน 30 วัน นับจากวันประมูล โดยจะมีระยะเวลาผ่อนผันการชำระเงินให้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วัน รวมทั้งสิ้นเป็น 90 วัน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

4.กำหนดตัวชี้วัดให้แก่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศให้เร่งรัดจัดเก็บหนี้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ กปถ. และกรมการขนส่งทางบกกำหนด

ออกมาตรการ “แบล็กลิสต์” ผู้ประมูลแล้ว “ชักดาบ”

กรณีมีผู้ประมูลหมายเลขทะเบียนได้แล้วแต่ไม่ชำระเงิน กปถ. มีมาตรการขึ้นบัญชีผู้ประมูลนั้นมิให้เข้าร่วมการประมูลในครั้งต่อไป ในส่วนการนำหมายเลขทะเบียนที่ประมูลได้แล้วนั้นออกประมูลใหม่อีกครั้ง

หากเป็นกรณีที่ผู้ประมูลรายแรกได้ชำระเงินบางส่วนแล้ว กปถ. จะนำหมายเลขทะเบียนออกประมูลด้วยราคาส่วนที่ค้างชำระ หากไม่มีผู้ประมูลเลย กปถ. ก็จะนำหมายเลขทะเบียนออกประมูลใหม่อีกครั้งด้วยราคาเริ่มต้นคือ 50,000 บาท

หากผู้ประมูลรายใหม่ให้ราคาต่ำกว่าราคาประมูลครั้งแรก ผู้ประมูลรายแรกจะต้องชดใช้ส่วนต่างนั้น แต่หากผู้ประมูลรายใหม่ให้ราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาประมูลครั้งแรก ผู้ประมูลรายแรกก็จะไม่มีส่วนต่างให้ต้องรับผิดชอบ

โดยก่อนที่ กปถ. จะได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการหนี้ พบจำนวนหมายเลขทะเบียนที่ค้างชำระ ณ ปัจจุบัน จากหมายเลขทะเบียนที่นำออกประมูลทั้งหมด 415,575 หมายเลข ชำระเงินครบถ้วนแล้ว 404,771 หมายเลข คิดเป็นร้อยละ 97.40 ค้างชำระ 10,804 หมายเลขคิดเป็นร้อยละ 2.6

เผยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ประสบภัยบนท้องถนน

สำหรับ กปถ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุนและส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากการใช้รถใช้ถนน มีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ส่วนอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการ

สำหรับแหล่งที่มารายได้ของ กปถ. ได้แก่ ค่าธรรมเนียมจากการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ได้รับเป็นจำนวนประมาณ 10,500 บาท

…………..

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img