วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEมหากาพย์“เฟอร์รารี่” รุ่นลิมิเต็ด 40 ล้าน ถูกกักด่านศุลกากร
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มหากาพย์“เฟอร์รารี่” รุ่นลิมิเต็ด 40 ล้าน ถูกกักด่านศุลกากร

ตั้งแต่ปี 2565 ได้มีผู้ร้องเรียนว่า ได้ไปติดต่อซื้อรถซูเปอร์คาร์ New Ferrari 488 Pista Spider 2020 ซึ่งเป็นรถหรูลิมิเต็ดอิดิชั่น ที่ไม่ได้ขายให้กับคนรวยทั่วๆ ไป แต่ต้องมีเอกสิทธิ์พิเศษเท่านั้น ถึงมีสิทธิ์ครอบครอง

ผู้ร้องเรียน ได้ไปซื้อรถซูเปอร์คาร์รุ่นนี้ จากเกรย์มาร์เก็ตบริษัทหนึ่ง ตั้งแต่กลางปี 2565 แต่ปัจจุบัน ยังไม่สามารถนำรถยนต์ออกจากด่านศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบังได้ เนื่องจากสำนักงานศุลกากร สงสัยว่า รถยนต์คันนี้เป็นการสวมรอยนำเข้ารถยนต์ใช้แล้ว เพราะเลขไมล์ มีการขับไปแล้ว

โดยบริษัทเกรย์มาร์เก็ตที่นำเข้า อ้างกับเจ้าหน้าที่ว่า การที่ไม่สามารถนำรถยนต์ส่งมอบให้แก่ผู้บริโภคได้ ทำให้ผู้บริโภคและบริษัทฯได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากรถยนต์รุ่นดังกล่าว ต้องมีการดูแลและเก็บรักษาแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป

นอกจากนี้ เฟอร์รารี่ พิสต้า สไปเดอร์ รุ่นนี้ ยังผลิตเป็นการเฉพาะและจำกัดจำนวน (Limited Edition) เจ้าของตราสินค้าและตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Dealer) ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของตราสินค้า จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกว่า บุคคลใดจะมีสิทธิ์ชื้อรถยนต์รุ่นดังกล่าว ดังนั้น หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า สามารถนำเข้าได้หรือไม่ ควรแตกต่างจากหลักเกณฑ์ทั่วไป

เฟอร์รารี่

เอกชนรายนี้ อ้างว่า มีหนังสือรับรองจาก “ตัวแทนจำหน่ายในประเทศฮ่องกง” ส่วนเลขไมล์ที่อ้างว่ามีการขับไปนั้น เป็นการขับไปเช็กระยะในศูนย์บริการที่ฮ่องกง ตามรอบระยะเวลา ไม่ใช่การขับขี่โดยเจ้าของรายอื่น

ปัญหาเรื่องรถเกรย์มาร์เก็ต ทาง “ธีรชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์” ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงกับกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภคว่า รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 แต่ไม่รวมถึง

1.รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทดสอบคุณภาพหรือเพื่อการจัดส่งไปยังแหล่งจำหน่าย โดยมีหนังสือรับรองจากเจ้าของตราสินค้า

2.รถยนต์ที่ได้จดทะเบียนใช้งานครั้งแรกในต่างประเทศ ก่อนบรรทุกลงในยานพาหนะจากเมืองต้นทางไม่เกิน 60 วัน โดยได้ชำระภาษีอากรต่อกรมศุลกากร กระทรวงการคลังตามที่กำหนด

ดังนั้น กรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบการนำเข้าโดยตรงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

รายละเอียดบันทีกการประชุมกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค

ดีลเลอร์ถูกกฎหมาย ชี้เป้าแจ้งความจับ “เกรย์มาร์เก็ต”

ด้านผู้แทนอธิบดีกรมศุลกากร ชี้แจงว่า ได้มีบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เฟอร์รารี่อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ยื่นร้องเรียนต่อกรมศุลกากรและกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ว่ารถยนต์ที่เกรย์มาร์เก็ตบริษัทนี้นำเข้า เป็นรถยนต์ใช้แล้ว โดยมีข้อมูลประวัติการเข้ารับบริการที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และมีเลขไมล์ใช้งานแล้ว

นอกจากนี้ ยังขอให้บริษัทเกรย์มาร์เก็ตดังกล่าว จัดส่งหนังสือรับรองจากเจ้าของตราสินค้า หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทน ว่าเลขไมล์ที่ปรากฎเป็นการทดสอบสภาพรถยนต์และไม่เคยจดทะเบียนในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงมาก่อน แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ยังไมได้ยื่นใบขนสินค้าและยังไม่ชำระภาษี อีกทั้งยังไม่ได้จัดส่งเอกสารดังกล่าวมายังกรมศุลกากรแต่อย่างใด

เปิดข้อมูล ตร. เฟอร์รารี่ลิมิเต็ด 4 คันส่อเป็นรถมือสอง

ขณะที่ผู้แทนผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ชี้แจงว่า คดีนี้ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เฟอรารี่อย่างเป็นทางการ ได้แจ้งความที่ ปอศ.เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ว่ามีผู้นำรถยนต์เฟอรารี่ใช้แล้ว รุ่นลิมิเต็ด เข้ามาในประเทศ 4 คัน นำออกจำหน่ายไปแล้ว 2 คัน อีก 2 คันติดอยู่ที่ศุลกากร

ต่อมา ตำรวจ ปอศ. ได้ทำเรื่องตรวจสอบไปยังดีลเลอร์ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ให้การยืนยืนว่ารถยนต์ทั้ง 4 คัน ได้นำเข้าจากประเทศอิตาลีเมื่อปี 2562 และได้มีการจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

โดยผู้ได้รับสิทธิ์ครอบครองรถยนต์ดังกล่าว ได้นำรถยนต์มาใช้บริการต่าง ๆ กับบริษัทฯ

  • รถยนต์คันที่ 1 มีเลขไมล์ 1,746 กิโลเมตร เข้ามาใช้บริการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
  • รถยนต์คันที่ 2 จำหน่ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2562 มีเลขไมล์ 419 กิโลเมตร เข้ามาใช้บริการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565
  • รถยนต์คันที่ 3 จำหน่ายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 มีเลขไมล์ 327 กิโลเมตร เข้ามาใช้บริการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564
  • รถยนต์คันที่ 4 จำหน่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 มีเลขไมล์ 198 กิโลเมตร เข้ามาใช้บริการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565

จากข้อมูลของตำรวจ จะเห็นได้ว่า รถยนต์รุ่นพิเศษทั้ง 4 คัน มีการจำหน่ายไปตั้งแต่ปี 2562-2563 และถูกนำเข้ามาขายให้ลูกค้าในเมืองไทยประมาณปี 2565 และยังไม่แน่ชัดว่า ลูกค้าที่ซื้อรถรุ่นนี้ไป จะทราบข้อมูลของตำรวจด้วยหรือไม่

เฟอร์รารี่

เร่งขอข้อมูลผู้จำหน่ายที่ฮ่องกงเมื่อเดือน ก.พ.66

สำหรับข้อจำกัดในการสอบสวน คือ ข้อมูลหลักฐานอยู่ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ทำให้การรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังอัยการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังรอตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ตำรวจได้ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อตรวจสอบสภาพรถยนต์ดังกล่าวพบว่าชายคารถมีเชื้อรา บริเวณรอบ ๆ มีร่องรอยการขูดขีด ทั้งนี้ หากบริษัทเกรย์มาร์เก็ตที่นำเข้ารถยนต์เฟอร์รารี นำเอกสารมาแสดงได้ว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์ใหม่ ไม่เคยจดทะเบียนในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงมาก่อน

ทางกระทรวงพาณิชย์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้ดำเนินการวินิจฉัยว่า หนังสือรับรองดังกล่าวสามารถรับรองได้ตามกฎหมายหรือไม่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจจะได้นำข้อมูลการวินิจฉัยประกอบการพิจารณาสอบสวนต่อไป

……………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img