วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE6 บมจ.ลุ้นชิงโรงไฟฟ้าชุมชน 150MW กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก…?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

6 บมจ.ลุ้นชิงโรงไฟฟ้าชุมชน 150MW กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก…?

โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) พ.ศ.2564 รับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ เดินมาถึงขั้นตอนประกาศผลทางด้านเทคนิคแล้ว ปรากฎว่ามีผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอทางด้านราคารวมทั้งหมด 169 ราย

หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้พิจารณาการอุทรธรณ์เสร็จแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้คาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 756 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป คณะอนุกรรมการพิจารณาคำเสนอขอขายไฟฟ้าด้านราคา กำหนดให้มีการเปิดซองพิจารณาด้านราคา ในวันที่ 20 กันยายน 2564 และเสนอต่อ  กกพ. พิจารณาในวันที่ 22 กันยายน 2564 

โดยสำนักงานกกพ. จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ อย่างเป็นทางการ ภายในวันที่ 23 กันยายน 2564 ผ่านเว็บไซต์ www.erc.or.th  ซึ่งต้องคัดให้เหลือกำลังการผลิตรวมไม่ 150 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามแผนโครงการนำร่อง

อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการที่ผ่านมาด้านเทคนิคส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโครงการของบริษัทที่จดเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีจำนวน 6 ราย ประกอบด้วย

1.บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC ผ่านด้านเทคนิคจำนวน 4 โครงการ รวมกำลังการผลิต 12 เมกะวัตต์

2.บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CWT ผ่านด้านเทคนิค 12 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 36 เมกะวัตต์

3.บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) หรือ SCI ผ่านคุรสมบัติด้านเทคนิคทั้งหมด 4 โครงการกำลังการผลิตรวม 14 เมกะวัตต์

4.บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CV โครงการที่ผ่านเทคนิค รวม 6 โครงการ กำลังผลิตรวม 35.5 เมกะวัตต์

5.บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH ผ่านคุณสมบัติด้านเทคนิคทั้งสิ้น 9 โครงการ รวมกำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์

6.บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ผ่านการคัดเลือกด้านเทคนิค 29 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 93 เมกะวัตต์ มากที่สุดในจำนวนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกด้านเทคนิค

อย่างไรก็ตาม นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกกพ. กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปเป็นการพิจารณาคุณสมบัติด้านราคา โดยที่โครงการใดที่เสนอราคาต่ำที่สุดในพื้นที่ที่มีสายส่ง จะได้เป็นผู้ชนะการประกวดราคาเป็นอันดับแรก และถ้ารายแรกที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ยังไม่เต็มระบบสายส่ง ก็จะพิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดในอันดับต่อไป จนกว่าจะเต็มระบบสายส่งรองรับ แต่ถ้าหากในพื้นที่ที่มีการเสนอแข่งขันด้านราคา มีเพียงรายเดียวเสนอแข่งขัน ก็จะได้สิทธิ์ทันที ส่วนกรณีที่มีการแข่งขันเสนอราคา 2 ราย แล้วราคาที่เสนอเท่ากัน จะพิจารณาผู้ที่เสนอเอกสารประมูลเป็นรายแรกก่อน

อนึ่ง โครงการรับซื้อไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชุมชนฯ 150 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล 75 เมกะวัตต์ เสนอขายโครงการละไม่เกิน 6 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน ผสมน้ำเสีย/ของเสีย น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25%) 75 เมกะวัตต์ เสนอขายโครงการละไม่เกิน 3 เมกะวัตต์

ส่วนอัตรารับซื้อไฟฟ้า แบ่งเป็น 1.ชีวมวล กำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ คิดอัตรา Feed-in Tariff (FiT) ที่ 4.8482 บาทต่อหน่วย และกำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า 3 เมกะวัตต์ FiT ที่ 4.2636 บาทต่อหน่วย 2.ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) มี FiT ที่ 4.7269 บาทต่อหน่วย โดยทั้งหมดมีระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี และมี FiT Premium สำหรับพื้นที่พิเศษ อีก 0.50 บาทต่อหน่วย

นายพิชัย ถิ่นสันติสุข นักวิชาการด้านโรงไฟฟ้าชุมชน กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากนั้นเป็นโครงการที่ดีที่จะช่วยกระจายรายได้กับชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 150 เมกะวัตต์นั้น หากคำนวนตัวเลขการลงทุนในเบื้องต้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 12,000 ล้านบาท จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนในระดับวิสาหกิจชุมชน โดยโรงไฟฟ้า 1 โรงกระตุ้นให้เกิดรายได้กว่า 200 ครัวเรือน ส่งเสริมให้เกิดอาชีพ เนื่องจากการลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชน ผู้ประกอบการจะต้องซื้อวัตถุดิบจากวิสาหกิจชุมชน โดย 150 เมกะวัตต์คาดว่าจะส่งเสริมให้เกิดการปลูกพืชไม้โตเร็วสำหรับเป็นเชื้อเพลิงราว 150,000 ไร่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img