วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEAOT เร่งลงทุนนอนแอโรว์ (Non – Aero)’’ลดเสี่ยงทางธุรกิจการบิน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

AOT เร่งลงทุนนอนแอโรว์ (Non – Aero)’’ลดเสี่ยงทางธุรกิจการบิน

AOT เร่งลงทุน’’แอร์พอร์ตซิตี้-ดิจิทัลแพลตฟอร์ม’’ ปิดความเสี่ยงธุรกิจเกี่ยวเนื่องการบิน นำร่องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เร่งลงทุนธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หรือ นอนแอโรว์ (Non – Aero) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน (Aero) โดยเตรียมแผนลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ แบ่งออกเป็นแปลงศรีวารีน้อย 723 ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 500 ไร่ และแปลง 37 ที่เหลืออยู่ประมาณ 700 ไร่จาก 1,470 ไร่ ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดอยู่ภายในบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และอยู่ภายใต้โครงการแอร์พอร์ตซิตี้

  

ทั้งนี้ล่าสุดคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด AOT) มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคหลักบนพื้นที่ที่จะลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 1,985 ล้านบาท

ขณะเดียวกันกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ก็ได้มีมติเห็นชอบขยายเวลาการใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุ แปลงศรีวารีน้อย 723 ไร่ ออกไปอีก 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 2564  – 29 ก.ย. 2594 และได้ดำเนินการปรับสีผังเมืองจากสีเขียว (ที่ดินประเภทเกษตรกรรม) เป็นสีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทราชการ) เสร็จแล้ว ส่วนแปลง 37 ที่เหลืออยู่ประมาณ 700 ไร่นั้น AOT ได้ดำเนินการขยายสัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์ออกไป 20 ปีจากที่จะสิ้นสุดสัญญาปี 2575 ไปเป็นปี 2595

   

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT  กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการแอร์พอร์ตซิตี้ บนพื้นที่ราว 2,100 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 32,000 ไร่รวม 6 ท่าอากาศยานของ AOT และการลงทุนด้านดิจิทัลแพลตฟอร์มนั้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบินได้เป็นอย่างมีนัยสำคัญ

โดยการลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และดิจิทัลแพลตฟอร์มนั้นจะช่วยให้รายได้จากธุรกิจ Non – Aero เติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันธุรกิจ Non – Aero มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 43% และมีรายได้จาก Aero อยู่ที่ 57% คาดว่าในปี 2565 สัดส่วนรายได้จากธุรกิจ Non – Aero จะเพิ่มขึ้นเป็น 50% และในปี 2566 คาดว่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ AOT หยุดขาดทุนได้ในปี 2566 

“จากสัดส่วนรายได้ของ Non – Aero ที่เพิ่มขึ้นเชื่อว่าจะเป็นรายได้ที่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายของ AOT ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัยที่จะเกิดผลกระทบต่อธุรกิจ Aero และเมื่อสถาณการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ธุรกิจ Aero ก็จะยังเป็นธุรกิจหลักที่ช่วยสร้างการเติบโตให้กับ AOT” 

“นำร่องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ”

นายนิตินัย กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลงศรีวารีน้อย 723 ไร่ และแปลง 37 ที่เหลืออยู่ประมาณ 700 ไร่ นั้นในขณะนี้ AOT อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการที่เอกชนยื่นข้อเสนอมาราว 68 โครงการที่จะลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว คาดว่าภายในกลางเดือนตุลาคม 2564 จะพิจารณาแล้วเสร็จ โดยอาจจะคัดเลือกออกมาเหลือไม่กี่โครงการ แต่จะเป็นโครงการที่สนับสนุนการบิน และหากมีดีมานด์ลงทุนในโครงการลักษณะเดียวกันจำนวนมาก ก็จะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชน

อย่างไรก็ตามภายใต้โครงการแอร์พอร์ตซิตี้นั้นจะเริ่มนำร่องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแปลงศรีวารีน้อย 723 ไร่ โดยจะเริ่มจะการลงทุนพัฒนาเป็นตลาดกลางสินค้าเกษตร และต่อยอดกับธุรกิจศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรก่อนส่งออก โดยดำเนินงานผ่านบริษัทจำกัดในนาม บริษัท ท่าอากาศยานไทย ทาฟ่า โอเปอเรเตอร์ จำกัด (AOT TAFA Operator Co.,Ltd : AOTTO) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง AOT และ บริษัท ทาฟ่า คอนซอร์เที่ยม จำกัด

ส่วนแผนพัฒนาพื้นที่แปลง 37 ที่เหลือเนื้อที่อยู่ 700 ไร่ เบื้องต้น สายการบินไทยเวียตเจ็ทสนใจเข้ามาลงทุนเทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ และศูนย์ฝึกลูกเรือ คาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 40-50 ไร่ ซึ่งปัจจุบัน AOT อยู่ระหว่างการเจรจากับสายการบินไทยเวียตเจ็ท เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนของการลงทุน หากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก็สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากธรกิจดังกล่าว ถือเป็นกิจกรรมที่มีส่วนสนับสนุนธุรกิจหลักของสนามบิน

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ธุรกิจล้างรถ โชว์รูมรถหรู เสนอแผนลงทุนเข้ามา ซึ่ง AOT อยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนธุรกิจโรงแรม และคอมมูนิตี้มอลล์ นั้น AOT ต้องพิจารณาให้รอบครอบว่าแต่ละโครงการจะกระทบต่อผู้ประกอบการรายเดิมในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือไม่ การพิจารณาธุรกิจเข้ามาลงทุนใกล้พื้นที่ท่าอากาศยาน มีข้อจำกัดเรื่องความสูง ดังนั้นธุรกิจที่น่าจะทำได้ต้องไม่ก่อสร้างแนวสูง

สำหรับกรอบวงเงินลงทุน 1,985 ล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ด AOT นั้นจะเป็นงบที่ใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างและปรับปรุงถนน ปรับเสาไฟฟ้า ทำหม้อแปลง เชื่อมต่อมาจากถนนศรีวารี ไปลงบริเวณถนนสุวรรณภูมิสาย 4  ซึ่งปัจจุบันแบบก่อสร้างอยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะเสร็จในเดือนภายในเดือนตุลาคม 2564 และคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2565

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img