วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEสถานการณ์โควิด-19 ความต้องการแรงงานปี 64 เพิ่มขึ้น 24%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สถานการณ์โควิด-19 ความต้องการแรงงานปี 64 เพิ่มขึ้น 24%

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกองค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้อยู่ตลอดเวลา

คุณแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการของจ๊อบไทย (JobThai) ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหางานและสมัครงานออนไลน์ เปิดเผยถึงข้อมูลภาพรวมการหางาน สมัครงาน และการจ้างงานปี 2564 พร้อมเผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงานจากฝั่งขององค์กรและฝั่งของคนทำงาน

โดยภาพรวมของผู้ใช้บริการหางาน และสมัครงานในปี 2564 พบว่ามีการใช้งานมากกว่า 18.5 ล้านคน เติบโตขึ้น 12.38% มีการสมัครงาน 17,161,667 ครั้ง ด้านผลสำรวจรูปแบบการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า คนทำงานส่วนใหญ่กว่า 56.65% ไม่ได้ทำงานแบบ Work from Home ส่วนคนทำงานที่ได้ Work from Home กว่า 70.95% ให้ความคิดเห็นว่าการทำงานแบบนี้ทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

ส่วนข้อมูลด้านความต้องการแรงงานขององค์กรในจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม พบว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในปี 2564 ทั้งหมด 602,436 อัตรา มีอัตราการเปิดรับเพิ่มขึ้นจากปี 2563 คิดเป็น 24% โดย 5 สายงานที่เปิดรับมากที่สุด ได้แก่ 1.งานขาย 321,505 อัตรา 2.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 183,903 อัตรา 3.งานช่างเทคนิค 175,083 อัตรา 4.งานธุรการ/จัดซื้อ 87,731 อัตรา 5.งานวิศวกร 81,982 อัตรา

คุณแสงเดือน ยังได้เผยผลสำรวจด้านอุปสรรคในการสรรหาบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นขององค์กรทั่วประเทศจำนวน 1,178 คน โดยองค์กรต่าง ๆ บอกว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของการสมัครงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนี้ ได้รับใบสมัครที่มาจากนักศึกษาจบใหม่ หรือผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้น ได้รับใบสมัครงานที่คุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการ และได้รับใบสมัครงานที่มาจากผู้สมัครที่ทำการย้ายสายงานตามลำดับ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังทำให้องค์กรมีการยกเลิกสวัสดิการต่าง ๆ และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังทำให้องค์กรมีการยกเลิกสวัสดิการต่าง ๆ

• ปัญหาที่ HR มักจะพบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ผู้สมัครงานไม่มาสัมภาษณ์งานโดยไม่แจ้งให้ทราบ 72.92% 2.ผู้สมัครงานเรียกเงินเดือนสูงกว่าคุณสมบัติที่ตัวเองมี 42.11% 3.ทักษะของผู้สมัครงานไม่ตรงหรือมีไม่มากเท่าที่ระบุไว้ในประกาศงาน 39.39% 4.ผู้สมัครงานที่ผ่านการคัดเลือกแต่ไม่มาเริ่มงานตามกำหนด 33.11% และ 5.ผู้สมัครงานไม่ศึกษาข้อมูลองค์กร 30.05%

• สิ่งที่ HR ให้ความสำคัญในการพิจารณาใบสมัครงานมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ทักษะของผู้สมัครที่ตรงกับตำแหน่งงาน 2.คุณสมบัติของผู้สมัครที่ตรงกับประกาศงาน 3.ประสบการณ์เดิมจากที่ทำงานเก่า 4.ทักษะอื่น ๆ ที่ส่งเสริมกับตำแหน่งงาน และ 5.ความถูกผิดของการสะกดต่าง ๆ ในใบสมัครงาน

• สิ่งที่ HR ให้ความสำคัญในการพิจารณาใบสมัครงานน้อยที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ศาสนาของผู้สมัคร 2.เพศของผู้สมัคร 3.ตัวตนในโลกออนไลน์ 4.สถาบันที่จบการศึกษา และ 5.ความสวยงามของ Resume

• ทักษะที่ HR มองหานอกจากทักษะเฉพาะทาง 5 อันดับ ได้แก่ 1.ทักษะการรับมือกับปัญหา สามารถปรับตัวเพื่อฟื้นฟูตัวเองเมื่อเจอกับปัญหาหรือความล้มเหลว (Resilience and Adaptability) 2.ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) 3.ทักษะการคิดเชิงเหตุผลและตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน 4.ทักษะในการรับมือและจัดการกับความเครียด เมื่อเจอกับปัญหา หรือความเปลี่ยนแปลง และ 5.ทักษะในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (Active Learning)

ส่วนด้านผลสำรวจเรื่องการหางาน สมัครงานจากคนทำงานทั่วประเทศจำนวน 12,511 คน พบว่า ในครึ่งปีแรกของปี 2565 กลุ่มคนทำงานประจำและสัญญาจ้าง 53.60% จะยังไม่จริงจังกับการหางานใหม่มากแต่เป็นการเปิดโอกาสไว้และถ้ามีงานน่าสนใจกลุ่มจะลองสมัครงานนั้นดู และคนทำงานอีกกว่า 26.76% จะทำการหางานใหม่อย่างจริงจัง กลุ่มที่ไม่ได้หางานใหม่ แต่ถ้าได้รับการเสนองานให้ก็จะพิจารณา 14.58% และกลุ่มที่บอกว่าจะไม่หางานใหม่อย่างแน่นอน 5.05%  ซึ่งปัจจัยที่คนทำงานใช้พิจารณาเลือกย้ายงานหรือทำงานในองค์กรเดิมต่อ ได้แก่ 1.เงินเดือน 2.สวัสดิการ 3.โบนัส 4.ความก้าวหน้าในอาชีพ และ 5.การเดินทางที่สะดวก

ซึ่งคนหางานจะหาข้อมูลก่อนการสมัครงานผ่านช่องทางดังนี้ 1.เว็บไซต์หางาน สมัครงาน 2.เว็บไซต์บริษัท 3.โซเชียลมีเดียขององค์กร และคนทำงานยังเผยสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่อยากสมัครงานกับองค์กรหากมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในขั้นตอนสมัครงาน คือ 1.ต้องมีผู้ค้ำประกัน 2.ค้นหาข้อมูลบริษัทได้น้อย เช่น ค้นหาไม่เจอบน Maps 3.มีการสัมภาษณ์งานมากกว่า 2 รอบขึ้นไป 4.ไม่มีความเคลื่อนไหวบน Social Media ของบริษัท และ 5.ต้องมีบุคคลรับรอง

สำหรับรูปแบบการทำงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 พบว่า 1.คนทำงานไม่ได้ทำงานแบบ Work from Home เลยกว่า 56.65% 2.ทำงานแบบ Work from Home สลับกับการเข้าทำงานที่บริษัท 32.84% 3.ทำงานแบบ Work from Home เป็นส่วนมาก 9.21% 4.ทำงานแบบ Work from Home อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 1.30%

ทางด้านคนทำงานที่ได้ Work from Home ให้ความคิดเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียเกี่ยวกับการทำงานในรูปแบบนี้ว่า ทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน, หลีกเลี่ยงการเมืองในองค์กรได้, มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น, สุขภาพจิตดีขึ้น, สุขภาพกายดีขึ้น ในการทำงานต่อจากนี้คนที่ได้ทำงานแบบ Work from Home คาดหวังที่จะได้ทำงานแบบการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Working) หรือการทำงานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน เพราะสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ สำหรับรูปแบบในการทำงานในอนาคตเป็นสิ่งที่องค์กรควรพิจารณาปรับนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของคนทำงานเพื่อดึงดูดคนเก่งและรักษาพนักงานให้ทำงานด้วยเช่นเดียวกัน

ส่วนทักษะที่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าตัวเองมี ได้แก่ 1.ทักษะการรับมือกับปัญหา สามารถปรับตัวเพื่อฟื้นฟูตัวเองเมื่อเจอกับปัญหาหรือความล้มเหลว (Resilience and Adaptability) 2.ทักษะในการรับมือและจัดการกับความเครียด เมื่อเจอกับปัญหา หรือความเปลี่ยนแปลง 3.ทักษะในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (Active Learning) 4.ความสามารถในการเข้าใจคนอื่น (Empathy) และ 5.การควบคุมตนเองให้ทำตามกฎระเบียบโดยไม่ต้องมีใครบังคับ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img