วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE“แบน 5 ปี”เปิด“บัญชีม้า”คอลเซ็นเตอร์ ใครใช้ซิมเกิน 5 เบอร์ต้องไปแสดงตัว!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“แบน 5 ปี”เปิด“บัญชีม้า”คอลเซ็นเตอร์ ใครใช้ซิมเกิน 5 เบอร์ต้องไปแสดงตัว!!

เมื่อเร็วๆ นี้ กสทช. ได้มีประกาศเรื่อง การลงทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีใช้บัตรประชาชนใบเดียว ลงทะเบียนซิมการ์ดเป็นจำนวนมากกว่า 5 หมายเลข

พูดง่ายๆ คือ เมื่อใช้หมายเลขที่ 6 จะต้องไปแสดงตนที่ค่ายมือถือแล้ว เพื่อป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวมทั้งใช้หมายเลขโทรศัพท์ไปกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ เช่น โปรโมทเว็บไซต์พนัน

ช่วงต้นเดือนสิงหาคม คณะกรรมาธิการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญผู้แทนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เข้าชี้แจงเหตุผล ถึงประกาศเรื่องดังกล่าว และ กสทช. ใช้หลักเกณฑ์ใด พิจารณาว่า จะต้องมีเลขหมายไม่เกิน 5 หมายเลขต่อหนึ่งผู้ใช้บริการ

ผู้แทนจากสำนักงาน กสทช. ชี้แจงว่า เหตุที่ต้องมีการลงทะเบียน ณ ศูนย์ให้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีผู้ใช้บริการ ประสงค์ลงทะเบียนมากกว่า 5 เลขหมาย (ใช้เบอร์ที่ 6) เนื่องจาก กสทช. เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ ในการลงทะเบียนซิมการ์ดที่ใช้ในมือถือ

นอกจากนี้ จะต้องตรวจสอบการสวมสิทธิ์ และการซื้อซิมการ์ดโดยบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่เจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนจริง รวมถึง การซื้อซิมการ์ดเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการกระทำความผิดต่างๆ โดยเฉพาะ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่โทรมาหลอกลวงประชาชน รวมถึง เว็บพนันต่างๆ ที่ใช้ซิมการ์ดไปลงทะเบียนเฟซบุ๊ก โปรโมทเพจอวตารดึงดูดนักพนันด้วย

โดยที่ประชุม กมธ.สื่อสาร ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการกำหนดจำนวนเลขหมาย ที่สมควรให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของประชาชน และสามารถป้องกันการกระทำผิดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้อย่างแท้จริง กสทช.ควรประเมินผลดำเนินการมาตรการดังกล่าว เพื่อปรับเปลี่ยนมาตรการลงทะเบียนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ

สำหรับปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สร้างความเสียหายกับประชาชนอย่างใหญ่หลวง คนเฒ่าคนแก่ ประชาชนทั่วไป อาจตกเป็นเหยื่อได้ เพราะขบวนการคนร้าย ปรับกลวิธีในการหลอกลวงในทุกๆ วัน

ที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ทั้ง กระทรวงดีอีเอส กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง มีการประชุมเพื่อหารือปรับปรุงข้อกฎหมาย วิธีการป้องกันและปราบปรามขบวนการคนร้าย อาศัยตั้งแต่ระดับท้องถิ่น เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อบจ.ช่วยกัน

โดยเฉพาะหลักเกณฑ์การอายัด “บัญชีม้า” ที่ ขบวนการคอลเซ็นเตอร์ จ้างคนทั่วไปเปิดในราคา 500-1,000 บาท เพื่อให้เหยื่อโอนเงินเข้ามายังบัญชีเหล่านี้ สร้างปัญหาในการสืบสวนจับกุมของเจ้าหน้าที่มาก เพราะมีหลักเกณฑ์การอายัด ที่ต้องรอกระบวนการแก้ไขกฎหมายอยู่ในขณะนี้

ทางผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า ได้มีข้อเสนอให้หน่วยงานที่กำกับดูแล การดำเนินงานของธนาคาร พิจารณาใช้อำนาจตามกฎหมาย กำหนดหลักเกณฑ์ให้อำนาจธนาคาร หรือรับรองการดำเนินการของธนาคาร

ในขณะที่ผู้แทนของกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า เมื่อพิจารณากฎหมายที่อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงแล้ว ไม่พบกฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงหรือประกาศ เพื่อให้ธนาคารมีอำนาจอายัดบัญชีม้าได้

ด้านผู้แทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ชี้แจงว่า ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กำหนดมาตรการให้เจ้าหน้าที่ธนาคาร มีอำนาจระงับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงินเอาไว้ชั่วคราวได้

โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนการพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะของบัญชีที่เข้าข่ายว่าเป็นบัญชีม้า ต้องมีการพิจารณาร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และควรเพิ่มโทษป้องปรามไม่ให้บุคคลกระทำผิดซ้ำ เช่น การกำหนดห้ามเปิดบัญชีใน 5 ปี รวมถึงการทำธุรกรรม ใต้การกำกับดูแลของ ปปง. เป็นต้น

ด้านตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดนิยาม ลักษณะของบัญชีม้าที่ใช้กระทำผิดให้ชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างบัญชีที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารหลายแห่ง มีเงินเข้า-ออก ไม่สอดคล้องกับรายได้และอาชีพที่แจ้งไว้ และมีการโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ไปหลายบัญชีในช่วงเวลาสั้นๆ

ตำรวจยังเสนอว่า หากธนาคารตรวจพบบัญชีลักษณะดังกล่าว ให้รายงานฐานข้อมูลไปยัง ปปง. เมื่อเจ้าหน้าที่จะเปิดบัญชีเงินฝากให้กับลูกค้า สามารถตรวจสอบความเสี่ยงจากฐานข้อมูลนี้ได้ และ ปปง.ควรกำหนดนโยบายให้ธนาคารมีอำนาจอายัดบัญชีความเสี่ยงสูงไว้ได้ชั่วคราว จนกว่าเจ้าของบัญชีจะมาแสดงตนและชี้แจงกับธนาคารให้สิ้นสงสัย

แต่ปัญหาเรื่องการอายัดบัญชีเสี่ยงสูงนั้น ทางผู้แทนของสมาคมธนาคารไทย ได้แสดงความกังวลว่า การใช้ดุลยพินิจหรือให้อำนาจตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ธนาคาร พิจารณาว่าบัญชีใดเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดมูลฐานหรือการฟอกเงินนั้น การตัดสินใจดังกล่าว ควรเป็นอำนาจของบุคคลที่มีความรู้ด้านกฎหมายด้วยเช่นกัน

………………………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img