วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกHighlightจี้ “ลุงตู่” อย่าทำคนกรุงเดือดร้อน ขึ้นค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จี้ “ลุงตู่” อย่าทำคนกรุงเดือดร้อน ขึ้นค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว

“อดีตรองผู้ว่าฯกทม.” จี้ “บิ๊กตู่” เบรค กทม.จ่อขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทตลอดสายเดือนก.พ.นี้ วอนอย่าทำคนกรุงเดือดร้อน เร่งครม.ถกด่วน โอนส่วนต่อขยายให้กทม.สร้างเอง ทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลง ที่ควรจะเป็นต้องต่ำกว่า 65 บาท

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร หนึ่งในทีมบริหารกรุงเทพมหานคร ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน กล่าวผ่านรายการ “กวนข่าว กวนคน” ทาง FM 102.5 MHz ถึงกรณีที่กระทรวงคมนาคม เรียกร้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ชะลอการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟฟ้าสายสีเขียว อยู่ที่ 104 บาทตลอดสายว่า เป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงวิกฤติ Covid-19 ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรได้แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการคิดอัตราค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดสาย 65 บาท พร้อมขอให้ กทม.ชี้แจงที่มาของการคำนวณราคาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และอาจจะปรับเป็น 104 บาทเดือนหน้า (เดือนก.พ.)

นายสามารถ กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากการทำสัญญาระหว่างกทม.กับเอกชน ได้ทำเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะช่วงต่อขยาย ทางกทม.ได้ให้สัมปทาน และว่าจ้างกับบริษัทบีทีเอส ก่อสร้างพร้อมดูแลเส้นทางการเดินรถด้วย ซึ่งตัวสัญญาบางช่วง ถึงปี 2572 บางช่วงถึงปี 2585 รวมระยะเวลา 30 ปี จะดำเนินการสิ้นสุดทั้งระบบ จึงทำให้เกิดปัญหา ระหว่างตัวสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้าง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นมีการลงทุนภาครัฐมากกว่าเอกชน ส่วนประเทศไทยเอกชนมาร่วมมาก ทำให้กระทบการกำหนดราคา ภาครัฐไม่สามารถพิจาณาราคาค่าโดยสาร ได้เป็นอิสระ อย่างไรก็ตามเอกชนมองเรื่องกำไรเป็นหลัก

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ถ้าไม่ขยายสัญญาสัมปทาน ค่าโดยสารกระโดดไป 158 บาท ถือว่าแพงมากจริง ๆ แต่ถ้าไม่มีการขยาย รัฐบาลต้องจ่ายหนี้เกือบ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่ง กทม ไม่มีเงิน และถ้ารัฐลงทุนเองทั้งหมดจะเป็นภาระหนัก เพราะการขยายเส้นทางยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ สมมติไม่ขยายสัมปทาน เรารอให้ถึงปี 2572 รัฐบาลไปจ่ายเงินกู้เอง จ่ายดอกเบี้ยเอง เพราะการขยายเส้นทางขาดทุนแน่ ในพื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯเป็นไข่ขาว จะขาดทุนเกือบ 7 หมื่นล้านบาท แต่รัฐสามารถกำหนดค่าโดยสารได้เอง ทั้งนี้ยังมีสัญญาจ้างซ้อนอยู่ถึงปี2585 ถ้าไม่รอเปิดประมูลใหม่ แต่มีปัญหา กทม.ต้องมีเงิน 8 หมื่นล้านบาท โดยคจร.เคยมีมติให้รัฐบาล ช่วยจัดสรรงบให้ กทม. แต่ต่อมากระทรวงการคลัง บอกไม่มีเงิน” นายสามารถ กล่าว

อดีตรองผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า สายสีเขียวที่จะต่อขยายไปถึง จ.ปทุมธานี จ.สมุทรปราการ แบรริ่ง ซึ่งเป็นของรมฟ. หากครม.โอนมาที่กทม. รับโอนหนี้มา ทางกทม.มีภาระหน้าที่มากอยู่แล้ว แต่ละปีจัดเก็บได้มีงบ 7-8 หมื่นล้านบาท ก็ต้องใช้ภาระอื่นอีกมาก สิ่งสำคัญรัฐบาล ต้องช่วยกทม.ลงทุน ถ้าบีทีเอส ลงทุน ค่าโดยสารต้องแพง เป็นปัญหา ที่ต้องหารือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งกทม.อยู่กับ กระทรวงมหาดไทย ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม เห็นชอบการขยายสัมปทาน ตั้งแต่เดือนมี.ค.เดือน มิ.ย.63 ตอนหลังกระทรวงคมนาคม เปลี่ยนใจพร้อมตั้งข้อสังเกตค่าโดยสาร แพงกว่าสายสีน้ำเงิน 42 บาท นั่งได้ 26 กม.และขอให้สายสีเขียว ราคาเดียวกัน

“กทม.จ่ายค่างานโยธาฯ กว่า 5 หมื่นล้านบาท จะลดค่าโดยสารลงได้ ประชาชนก็ไม่เดือดร้อน อย่างประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศจีน รัฐลงทุน และไม่ขาดทุนเพราะมีคนเยอะใช้บริการมากกว่าประเทศไทย ได้คุ้มกว่า ส่วนของไทย เช่น บางใหญ่ ลงทุน กม.ละ 2.8 พันล้านบาท คนใช้ต่อวันไม่เท่าไหร่ เพราะเส้นทางไม่เหมาะสมกับการลงทุน ควรเป็นโมโนเรล ไม่ควรเป็นระบบหนักขนคนจำนวนมากเช่น รถไฟฟ้า รวมทั้งเส้นทางบางซื่อ ไม่ควรไปบางใหญ่ น่าจะไปศูนย์ราขการคนใช้เยอะกว่ามากจะคุ้มค่าการลงทุน”นายสามารถ กล่าว

อดีตรองผู้ว่ากทม. กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะให้ กทม.ไปจัดตั้งกองทุนร่วมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำเงินไปบริหาร จ่ายหนี้ก่อน ซึ่งกรณีกองทุนร่วมฯ 10 ปีแรกจะขาดทุน หลังปี 2572 เป็นบวกได้ ขณะนี้ประเทศไทยมีหลายกองทุน 8-9 กองทุน ทางกทม.ไม่มีทางเลือก เชื่อว่าทำให้ค่าโดยสารถูกลงด้วย ถ้าทุกฝ่ายมีเจตนารมย์ที่ดี ควรมานั่งเจรจาตั้งโต๊ะแก้ไขปัญหาทั้งหมด โดยนายกรัฐมนตรี รีบนำเข้าครม.โดยด่วนที่สุด ก่อนวันที่ 16 ก.พ.ที่จะประกาศใช้ราคาโดยสาร 104 บาท ซึ่งควรต่ำกว่านั้นหาก 65 บาทประชาชนจะไม่เดือดร้อน หรือ อาจตำ่กว่า หากกทม.จ่ายหนี้แทน.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img