วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSกำลังไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทอเรียม อนาคตนิวเคลียร์ฟิชชั่น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กำลังไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทอเรียม อนาคตนิวเคลียร์ฟิชชั่น

Thorium – Based Nuclear Power

“.. วัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม Thorium Fuel Cycle มีข้อดีหลายประการที่เหนือชั้น และปลอดภัยกว่าเชื้อเพลิงยูเรเนียม ..”

Thorium – Based Nuclear Power พลังงานนิวเคลียร์จากทอเรียม .. คือ การผลิตกำลังไฟฟ้าจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่อาศัยการแตกตัวของยูเรเนียมไอโซโทป U233 เป็นหลัก ซึ่งผลิตขึ้นจากทอเรียม Th232 ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติ .. วัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม Thorium Fuel Cycle มีข้อดีหลายประการที่เหนือชั้น และปลอดภัยกว่าเชื้อเพลิงยูเรเนียม .. วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ Nuclear Fuel Cycle รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ที่ปริมาณสำรองในธรรมชาติมีมากมายบนผิวเปลือกโลก คุณสมบัติทางกายภาพที่เหนือกว่า กากนิวเคลียร์ที่ลดลงอย่างมาก คือ ข้อได้เปรียบของปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทอเรียม Thorium Reactor ที่โดดเด่น ..

Thorium: An Abundant Metal with Vast Energy Potential could quickly Wean the World off Oil | Credit: Chemistry Learner / Popular Science

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพลังงานทอเรียมมีต้นทุนเริ่มต้นสูง .. ทั้งนี้ การขาดศักยภาพในการสร้างอาวุธฯ ได้กลายเป็นข้อได้เปรียบของทอเรียม Thorium อีกประการหนึ่งด้วย ขณะที่ นักวิจารณ์ชี้ว่า แม้พวกมันจะสะอาด และปลอดภัย แต่การพัฒนาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบผสมโดยทั่วไป รวมถึงเครื่องปฏิกรณ์ทอเรียมแบบฟิชชั่น ยังจะคงทำให้ผู้คนรู้สึกกังวลในเรื่องความปลอดภัยอยู่ต่อไปเป็นเรื่องธรรมดา .. ตั้งแต่ประมาณปี 2541 ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์ เริ่มให้ความสนใจทอเรียมมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการจัดหาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ Fission ที่ปลอดภัยกว่ามาแทนที่เชื้อเพลิงยูเรเนียม U235 และพลูโตเนียม Pu238 เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า และปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทอเรียม Thorium – Based Nuclear Reactor อาจคือคำตอบ ..

บางคนเชื่อว่า ‘ทอเรียม Thorium เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์รุ่นใหม่ที่สะอาด และปลอดภัยกว่า’ .. ตามความคิดเห็นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพโดยรวมของพลังงานจากทอเรียม Thorium แล้วนั้น “อาจหมายถึงการแก้ปัญหาความต้องการพลังงานมากกว่า 1,000 ปี หรือการไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่มีคุณภาพด้วยแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง และเพื่อแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบส่วนใหญ่ของมนุษยชาติ” ..

หลังจากศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ทอเรียม นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ Ralph W. Moir และ Edward Teller เสนอแนะว่า การวิจัยนิวเคลียร์ทอเรียมควรเริ่มต้นใหม่หลังจากปิดตัวไปสามทศวรรษ และควรสร้างปฏิกรณ์ต้นแบบขนาดเล็กขึ้น .. การวิจัย และพัฒนานิวเคลียร์ที่ใช้ทอเรียมในเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปฏิกรณ์ฟลูออไรด์ทอเรียมเหลว LFTR ที่ได้รับการออกแบบในลักษณะ Molten Salt Reactor : MSR หลากหลายขนาด และยังพบอีกว่ามีการเตรียมก่อสร้างปฏิกรณ์ต้นแบบในหลายประเทศเพื่อนำมาใช้งานจริงสำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้า เช่น อินเดีย จีน นอร์เวย์ สหรัฐฯ อิสราเอล และรัสเซีย เป็นต้น ..

ปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมละลายที่ใช้ทอเรียม Thorium Based Molten Salt Reactor : TMSR ..

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลว Molten Salt Reactor : MSR เป็นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่น Nuclear Fission Reactor ประเภทหนึ่ง ซึ่งสารหล่อเย็นของปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลัก และ/หรือ เชื้อเพลิงเป็นส่วนผสมของเกลือหลอมเหลว .. ลักษณะสำคัญของ MSR คือ การทำงานที่หรือใกล้กับความดันบรรยากาศ แทนที่จะเป็น 75 – 150 เท่าของแรงดันบรรยากาศ เช่นเดียวกับ เครื่องปฏิกรณ์ Light – Water Reactor : LWR ที่นิยมมาก่อนหน้านี้ .. ดังนั้น จึงลดโครงสร้างการกักเก็บขนาดใหญ่ และมีราคาแพงที่ใช้สำหรับปฏิกรณ์ Light Water : LWR รวมถึงการแยกไฮโดรเจนออกไปจากกระบวนการ ซึ่งมันเป็นที่มาของความเสี่ยงต่อการจุดระเบิด .. ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการของ MSR คือ พวกมันไม่ผลิตก๊าซที่เป็นอันตราย หรือก๊าซกัมมันตภาพรังสีที่อยู่ภายใต้ความกดดันสูง เนื่องจากพวกมันจะถูกดูดซับโดยธรรมชาติในสารละลายเกลือหลอมเหลว Molten Salt ..

ลักษณะสำคัญเพิ่มเติมของ MSR คือ การให้พลังงานความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า LWR แบบเดิม ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าที่สูงขึ้นบนโครงข่ายระบบสายส่ง สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บพลังงาน การผลิตไฮโดรเจนแบบประหยัดที่คุ้มค่า และบางกรณีสำหรับกระบวนการใช้พลังงานความร้อนในรูปแบบอื่น ๆ ด้วยปัจจัยการผลิตที่สูงกว่า ไม่มีการต้องหยุดพัก .. ความท้าทายในการออกแบบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาการกัดกร่อนของเกลือร้อน และองค์ประกอบทางเคมีที่แขวนอยู่ของเกลือในขณะที่มันอาจถูกแปลงโดยกัมมันตรังสี Radiation ของเครื่องปฏิกรณ์ .. การประมาณราคาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ MSR นั้นไม่แน่นอน แต่คาดหมายว่า เทียบเท่ากับ หรือถูกกว่าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ LWR .. โดยเฉพาะปฏิกรณ์เกลือเสถียร Stable Salt Reactor : SSR ที่มีเชื้อเพลิงกัมมันตภาพรังสีอยู่ในรูปของเกลือหลอมเหลว เกลือภายในหมุดเชื้อเพลิง และวงจรปฐมภูมิที่ไม่มีกัมมันตภาพรังสี ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลง และขจัดปัญหาการกัดกร่อนได้ง่ายขึ้น ..

The First New Thorium Salt Reactor Comes Online after 40 Years | Credit: Zmescience

แม้ว่าจะมีการเสนอการออกแบบหลากหลายรูปแบบ แต่ก็สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของการใช้เกลือหลอมเหลว Role of Molten Salt ได้แก่ เชื้อเพลิงเกลือหลอมเหลว – หมุนเวียน Molten Salt Fuel – Circulating, เชื้อเพลิงเกลือหลอมเหลว – คงที่ Molten Salt fuel – Static และการใช้เกลือหลอมเหลวเป็นสารหล่อเย็นเท่านั้น Molten Salt Coolant Only .. ทั้งนี้ การใช้เกลือหลอมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และเป็นสารหล่อเย็นเป็นทางเลือกในการออกแบบที่เป็นอิสระ .. ตัวอย่างเช่น The Circulating – Fuel – Salt ใน The Molten Salt Reactor Experiment : MSRE หมุนเวียนรุ่นทดลองแบบดั้งเดิม และ Static – Fuel – Salt ในปฏิกรณ์ Stable Salt Reactor : SSR รูปแบบล่าสุด ใช้เกลือหลอมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และเป็นสารหล่อเย็นไปพร้อมด้วย .. สำหรับ Dual Fluid Reactor : DFR ใช้เกลือหลอมเหลวเป็นเชื้อเพลิง แต่ใช้โลหะเป็นสารหล่อเย็น ในขณะที่ ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Fluoride – Salt – Cooled High – Temperature Reactor : FHR ใช้เชื้อเพลิงแข็ง แต่เกลือหลอมเหลวถูกใช้เป็นสารหล่อเย็น เป็นต้น ..

Molten Salt Reactor :MSRs มีข้อดีหลายประการเหนือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รูปแบบดั้งเดิม แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ก็ตาม ..

แนวคิดนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1950 หรือ พ.ศ. 2493 การทดลองปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กบนอากาศยานในช่วงแรกนั้น ได้รับแรงจูงใจหลักจากขนาดที่กะทัดรัดของเทคนิคนี้ ในขณะที่การทดลองเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลว MSRs มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์แนวคิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งใช้วัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม Thorium Fuel Cycle ในเครื่องปฏิกรณ์แบบพันธุ์ผสมที่ปลอดภัยกว่า .. การวิจัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับ ‘การออกแบบปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Generation IV ที่จะใช้ในอนาคต’ เริ่มให้ความสนใจในเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างมากอีกครั้ง ..

สำหรับปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟลูออไรด์ทอเรียมเหลว Liquid Fluoride Thorium Reactor: LFTR นั้น ประยุกต์ใช้วงจรเชื้อเพลิงทอเรียม Thorium Fuel Cycle เชิงพาณิชย์โดยบริษัทเอกชนจาก ญี่ปุ่น รัสเซีย ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ ทั้งนี้ รัฐบาลจีน แสดงความสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างมากด้วย และได้ตั้งเป้าเดินหน้าก่อสร้างปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นที่ใช้ทอเรียม First Waterless Nuclear Reactor Using Thorium เครื่องแรกให้แล้วเสร็จใช้งานได้จริง ภายในสิ้นทศวรรษนี้ หรือภายในปี 2573 ..

ผู้สนับสนุนประเมินว่า ทอเรียม Thorium ปริมาณ 500 เมตริกตัน สามารถจัดหาความต้องการพลังงานไฟฟ้าของสหรัฐฯ ได้เป็นเวลาหนึ่งปี การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ประมาณการว่า หนึ่งในแหล่งแร่ทอเรียมที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักในสหรัฐฯ คือ เขต Lemhi Pass บริเวณชายแดนมอนทานา – ไอดาโฮ Montana – Idaho Border เพียงแห่งเดียว ก็ยังมีปริมาณสำรองทอเรียมในธรรมชาติ อยู่ถึง 64,000 เมตริกตัน .. ทั้งนี้ การสำรวจด้วยข้อมูลเบื้องต้นทั่วโลก พบปริมาณทอเรียมสำรองในธรรมชาติ Reserves of Thorium ที่พร้อมนำมาใช้ และคุ้มค่าการลงทุนอยู่อย่างน้อย 6,390,475 เมตริกตัน ในมากกว่า 36 ประเทศ ..

ตามมาตรฐานทางเทคนิคนั้น เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้เรียกว่า ปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือผสมหลอมเหลว Molten Salt Breeder Reactors : MSBRs หรือ เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมละลายทอเรียม Thorium Molten Salt Reactors :TMSRs .. อย่างไรก็ตาม ชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR ได้รับการส่งเสริมให้เป็นแบรนด์ใหม่ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 นี้เอง โดย Kirk Sorensen ซึ่งเขาเริ่มทำงานกับทอเรียมในขณะที่ทำงานเป็นวิศวกรการบิน และอวกาศที่ NASA ในปี 2553 เขาออกจาก NASA เพื่อไปทำงานเป็นหัวหน้านักวิจัยนิวเคลียร์ที่ Teledyne Brown Engineering ในปี 2554 .. เขาก่อตั้ง Flibe ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่เน้นการพัฒนาปฏิกรณ์ทอเรียมแบบแยกส่วนโดยเฉพาะ จนถึงปัจจุบัน ..

ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟลูออไรด์ทอเรียมเหลว Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR ..

เครื่องปฏิกรณ์ฟลูออไรด์ทอเรียมเหลว Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR เป็นเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวชนิดหนึ่ง .. LFTR ใช้วัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม Thorium Fuel Cycle กับเกลือเหลวที่มีฟลูออไรด์ หลอมเหลว Fluoride – Based, Molten, Liquid Salt สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง .. ในการออกแบบทั่วไป ของเหลวจะถูกสูบระหว่างแกนวิกฤต และตัวแลกเปลี่ยนความร้อนภายนอก ซึ่งความร้อนจะถูกถ่ายเทไปยังเกลือรอง Secondary Salt ที่ไม่มีกัมมันตภาพรังสี จากนั้นเกลือรอง Secondary Salt จะถ่ายเทความร้อนไปยังกังหันไอน้ำ หรือกังหันก๊าซแบบวงจรปิดเพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าต่อไป ..

เครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิงเกลือหลอมเหลว Molten – Salt – Fueled Reactors : MSRs จะจ่ายเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ผสมลงในเกลือหลอมเหลว ไม่ควรสับสนกับการออกแบบที่ใช้เกลือหลอมเหลวสำหรับการทำความเย็นเท่านั้น กับเครื่องปฏิกรณ์อุณหภูมิสูงฟลูออไรด์ Fluoride High – Temperature Reactors : FHRs ซึ่งยังคงใช้เชื้อเพลิงแข็งอยู่ .. เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวในรูปแบบนี้ ใช้เชื้อเพลิงจากเกลือฟลูออไรด์ หรือเกลือคลอไรด์ และวัสดุสิ้นเปลืองประเภท Fissile or Fertile Consumables .. Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR ถูกกำหนดโดยการใช้เกลือเชื้อเพลิงฟลูออไรด์ และการใช้นิวตรอน Thermal Neutron ทำปฏิกิริยากับหรือ ยิงใส่ Thorium – 232 เพื่อทำให้กลายเป็น Uranium – 233 สำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นขั้นต่อไป ..

Future Nuclear Reactor / Fission Energy by Thorium 232 & Liquid – Fluoride Thorium Reactor | Credit: Royal Society of Chemistry / ResearchGate

แนวคิด LFTR ได้รับการทดสอบครั้งแรกจากการทดลองเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลว ในห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊คริดจ์ The Oak Ridge National Laboratory เมื่อปี 1960 หรือ พ.ศ.2503 .. ปัจจุบัน LFTR เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น จีน สหราชอาณาจักร และบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ สาธารณรัฐเช็ก แคนาดา และออสเตรเลีย แสดงเจตจำนงชัดเจนยืนยันที่จะพัฒนา และนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ให้สำเร็จได้ต่อไป ..

LFTR แตกต่างจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าอื่น ๆ ในเกือบทุกด้าน .. พวกมันใช้ทอเรียม Thorium 232 ที่เปลี่ยนเป็นยูเรเนียม Uranium 233 แทนที่จะใช้ยูเรเนียม Uranium 235 โดยตรง .. พวกเขาเติมเชื้อเพลิงด้วยการสูบโดยไม่ต้องปิดเครื่อง สารหล่อเย็นเกลือเหลว Liquid Salt Coolant ลดอุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์ และช่วยให้อุณหภูมิการทำงานในกระบวนผลิตกำลังไฟฟ้าสูงขึ้น .. แรงดันที่ต่ำกว่าอย่างมากส่งผลดีในระบบระบายความร้อนหลัก ลักษณะเด่นเหล่านี้ ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบที่เป็นไปได้มากมาย รวมถึงความท้าทายด้านการออกแบบด้วยรูปแบบที่หลากหลายอีกด้วย ..

จีนเตรียมเปิดใช้งานปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Liquid Thorium เชิงพาณิชย์ ‘สะอาด’ เครื่องแรกของโลก ..

นักวิทยาศาสตร์รัฐบาลจีน เปิดเผยแผนงานก่อสร้างปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Liquid Thorium รุ่นทดลองเครื่องแรกที่ไม่ต้องการน้ำเพื่อระบายความร้อน สำหรับใช้มันเป็นต้นแบบเพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ ..

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบเกลือหลอมเหลว Molten – Salt Nuclear Reactor ซึ่งทำงานด้วยทอเรียมเหลว Liquid Thorium แทนที่ยูเรเนียม Uranium ได้รับการคาดหมายว่า พวกมันจะปลอดภัยกว่าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นรูปแบบดั้งเดิม เนื่องจากเกลือที่หลอมเหลวจะเย็นตัวลง และแข็งตัวอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับอากาศ ด้วยคุณสมบัติที่เป็นฉนวนความร้อนของทอเรียม ดังนั้น การรั่วไหลล้นทะลักที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งการแผ่รังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยรอบ จึงมีโอกาสน้อยลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับการรั่วไหลจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นรูปแบบเดิม ..

ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Liquid Thorium ต้นแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนหน้า โดยการทดสอบครั้งแรกจะเริ่มในเดือนกันยายน ซึ่งจะเป็นการปูทางสำหรับการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพาณิชย์เครื่องแรกที่ปลอดภัยกว่า Generation 3 Reactors ซึ่งมีกำหนดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2573 ..

เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ประเภทนี้ไม่ต้องการน้ำ จึงสามารถทำงานได้ในพื้นที่ทะเลทราย ที่ตั้งของเครื่องปฏิกรณ์เชิงพาณิชย์เครื่องแรก จะอยู่ในเมืองบนทะเลทราย Wuwei และรัฐบาลจีน มีแผนที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมในทะเลทรายที่มีประชากรเบาบาง และที่ราบทางตะวันตกของจีน รวมถึงอีก 30 ประเทศที่เกี่ยวข้องในเส้นทางยุทธศาสตร์ “Belt and Road” .. ทั้งนี้ คาดว่า จะได้เห็นโครงการลงทุนเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ระดับโลกของจีนทั้งนิวเคลียร์ฟิชชั่น Nuclear Fission และนิวเคลียร์ฟิวชั่น Nuclear Fusion ที่มุ่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานใน 70 ประเทศทั่วโลกในอีกไม่นาน ..

China Building World’s First Waterless Nuclear Reactor Using Thorium | Representational Image: AFP

เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนมองว่า การส่งออกพลังงานนิวเคลียร์นั้น ถือเป็นส่วนสำคัญของโครงการ Belt and Road ..

Wang Shoujun สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง China People’s Political Consultative Conference : CPPCC ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลจีน กับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ยืนยันในรายงานบนเว็บไซต์ของ CPPCC ด้วยเช่นกัน ..

ทอเรียม Thorium เป็นโลหะกัมมันตภาพรังสีที่แผ่รังสีเพียง Alpha Particles ซึ่งไม่อาจแม้จะวิ่งทะลุผ่านฝ่ามือไปได้ และมีครึ่งชีวิต Half Life ที่ยาวนาน ได้รับการตั้งชื่อตามเทพเจ้าสายฟ้าแห่งนอร์ส .. พวกมันมีราคาถูกกว่า และมีปริมาณสำรองในธรรมชาติมากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า รวมทั้งมันไม่สามารถนำไปใช้สร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้ง่าย ๆ .. เครื่องปฏิกรณ์ตัวใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ในการทำให้จีนเป็นกลางคาร์บอนภายในปี 2060 หรือ พ.ศ.2603 .. ทีมงานของสถาบันฟิสิกส์ประยุกต์แห่งเซียงไฮ้ Shanghai Institute of Applied Physics ซึ่งพัฒนาเครื่องต้นแบบดังกล่าว ชี้ว่า ปัจจุบันจีนมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก 27% ซึ่งถือเป็นปริมาณมากที่สุดประเทศหนึ่ง และมากกว่าโลกที่พัฒนาแล้วทั้งหมดรวมกัน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานปี 2562 โดย Rhodium Group ของสหรัฐฯ ..

“เครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กมีข้อได้เปรียบที่สำคัญในแง่ของประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความประหยัด” Yan Rui ศาสตราจารย์ฟิสิกส์จาก Shanghai Institute of Applied Physics และเพื่อนร่วมงานเขียนในบทความเกี่ยวกับโครงการที่ตีพิมพ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ในวารสาร Nuclear Techniques “พวกเขาสามารถมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดในอนาคต คาดว่าเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า” ..

ตลาดปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลวทั่วโลก Global Molten Salt Reactor Market ..

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลว Molten Salt Reactor ได้รับการคาดหมายว่าจะมีมูลค่าตลาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากอย่างน้อยในห้าปีจากนี้ไป ..

ขนาดธุรกิจในตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวทั่วโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นแตะระดับ 4.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2571 จาก 1.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 ไม่นับรวมมูลค่าขนาดธุรกิจอุตสาหกรรมปลายทางที่เกี่ยวเนื่อง .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตค่า Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลว Molten Salt Reactor : MSR ทั่วโลกที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 13 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2565 – 2571 .. ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดนี้ คือ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ ทดแทนความต้องการที่เพิ่มขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของจำนวนเครื่องปฏิกรณ์ใหม่ที่สร้างขึ้นต่อปี ..

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลว Molten Salt Reactor : MSR คือ ระบบผลิตกำลังไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิชชั่นเพื่อสร้างความร้อน เชื้อเพลิงสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ประเภทนี้อาจเป็นยูเรเนียม หรือทอเรียม แต่ยังรวมถึงวัสดุอื่น ๆ เช่น พลูโทเนียม Plutonium และธาตุทรานซูรานิก Transuranic Elements เช่น Californium 252 .. เกลือหลอมเหลว Molten Salt มีค่าการนำความร้อนสูงซึ่งสามารถส่งผ่านพลังงานไปทั่วของเหลวได้โดยไม่ต้องใช้กระบวนการนำพาความร้อนรูปแบบอื่นมาเสริม ดังนั้น MSR จึงสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องปฏิกรณ์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำโดยการใช้น้ำหล่อเย็นที่มีแรงดันสูง ..

ทั้งนี้ ปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลว  Molten Salt Reactor ถือเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นประเภทหนึ่ง .. ส่วนใหญ่ใช้เกลือฟลูออไรด์เหลวหลอมเหลว Molten Liquid Fluoride Salt ที่ความดันต่ำเป็นหลัก เกลือสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง และเป็นสารหล่อเย็นได้ .. เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลวหลายประเภท ถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวชนิดที่โดดเด่นที่สุด คือ เครื่องปฏิกรณ์ทอเรียมฟลูออไรด์เหลว Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR และในเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวประเภทนี้ ทอเรียม Thorium และยูเรเนียม Uranium จะละลายในเกลือฟลูออไรด์เพื่อการผลิตไฟฟ้า พวกมันไม่มีความเสี่ยงต่อการระเบิด ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รูปแบบดั้งเดิมอื่น ๆ มีความเสี่ยงดังกล่าว ..

นอกจากนั้น ในกรณีฉุกเฉิน สารละลายเกลือหลอมเหลวสามารถแข็งตัวได้อย่างรวดเร็ว และสามารถลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมแบบเปิด .. ดังนั้น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลว จึงให้ประโยชน์ที่ต่างออกไปเป็นพิเศษเกี่ยวกับ ความปลอดภัย ความเสถียรมั่นคง และการจัดการกากของเสียที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก ..

ในแง่ของประเภทเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นั้น ตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็นทอเรียม ยูเรเนียม และพลูโทเนียม .. ในส่วนของทอเรียม Thorium ได้รับการคาดหมายว่า จะมีส่วนแบ่งการตลาดที่โดดเด่นที่สุดในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. ทอเรียม Thorium 232 มีปริมาณสำรองในธรรมชาติมากกว่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ประเภทอื่น ๆ เช่น ยูเรเนียม หลายเท่า ทำให้ Thorium 232 ซึ่งปลอดภัยกว่ามาก กำลังจะกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักให้กับตลาดปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลว Liquid Fluoride Thorium Reactor ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ..

ในประเด็นอุตสาหกรรมปลายทางนั้น ตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวทั่วโลก สามารถจำแนกได้เป็นพลังงาน เชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การขนส่ง และอื่น ๆ คาดหมายว่า มันจะเป็นส่วนแบ่งที่โดดเด่นของตลาดในช่วงระยะเวลาคาดการณ์เช่นกัน .. เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวมีแนวโน้มใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตกำลังไฟฟ้า และพลังงาน .. การเติบโตของความต้องการพลังงานไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้าทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นความต้องการปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกลือหลอมเหลวหลากหลายขนาดที่ปลอดภัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ..

กรณีตรวจสอบแยกตามภูมิภาคนั้น ตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็นอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียแปซิฟิก ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกา .. ในแง่ของการบริโภค คาดหมายได้ว่า เอเชียแปซิฟิก จะมีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวทั่วโลกเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ตลาดในภูมิภาคนี้ เชื่อว่า จะขยายตัวเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา จีนประกาศแผนพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวมากขึ้นโดยใช้เกลือหลอมเหลวเป็นเชื้อเพลิง รัฐบาลอินเดียกำลังทำงานใน ‘โครงการพลังงานนิวเคลียร์แบบสามขั้นตอน’ ด้วยเช่นกัน คาดว่า จะพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวหลายเครื่องในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. ตลาดในอเมริกาเหนือ และยุโรป คาดว่าจะขยายตัวในระดับปานกลาง .. ตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวในลาตินอเมริกา และตะวันออกกลาง รวมทั้งในแอฟริกา คาดว่า จะขยายตัวในอัตราที่ซบเซาเนื่องจากความต้องการไฟฟ้า และพลังงานที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ..

บริษัทหลายแห่งดำเนินงานในตลาดเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมเหลวทั่วโลก บริษัทที่โดดเด่น ตัวอย่างเช่น Moltex Energy Ltd, ThorCon International & ThorCon USA Inc, Terrestrial Energy Inc, TRANSATOMIC และ Flibe Energy, Inc. เป็นต้น ..

การศึกษาตลาดนี้ เป็นกรอบการคาดการณ์ที่ครอบคลุมของการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการประเมินที่สำคัญของทิศทางผู้บริโภค หรือลูกค้า เส้นทางในปัจจุบัน และที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งกรอบการทำงานเชิงกลยุทธ์ภาครัฐ และเอกชนของประเทศต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาตัดสินตกลงใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในอนาคต ..

สรุปส่งท้าย ..

นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมหลายคน คัดค้านการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานนิวเคลียร์โดยอ้างถึงอันตรายของมัน รวมถึงความยากลำบากในการจัดการกากกัมมันตรังสี แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ยังระบุว่า นิวเคลียร์ปลอดภัยกว่าแหล่งพลังงานส่วนใหญ่อื่น ๆ ในหลายประเด็น มันยังคงมีจำเป็นอย่างยิ่งด้วย หากโลกหวังว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนลงอย่างสิ้นเชิง หรือไปสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero ให้จงได้ ..

ทอเรียม Thorium เป็นธาตุเคมีโลหะที่มีกัมมันตภาพรังสีอย่างอ่อน Weakly Radioactive Metallic Chemical Element ราคาถูก ด้วยสัญลักษณ์ Th มี Atomic Number 90 .. ทอเรียม มีสีเงิน และเป็นสีดำเมื่อสัมผัสกับอากาศ ทำให้เกิดทอเรียมไดออกไซด์ Thorium Dioxide มีความนุ่มปานกลาง อ่อนตัวได้ และมีจุดหลอมเหลวสูง .. ทอเรียมเป็น Electropositive Actinide ด้วยสถานะออกซิเดชัน Oxidation State +4 .. มันค่อนข้างมีปฏิกิริยาไวต่อออกซิเจน และสามารถจุดติดไฟในอากาศได้ ..

ไอโซโทปทอเรียมที่รู้จักทั้งหมดของมันนั้นไม่เสถียร ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ 232Th มีครึ่งชีวิต 14.05 พันล้านปี หรือประมาณเท่ากับอายุของเอกภพ The Universe .. มันสลายตัวช้ามากอย่างยิ่งผ่านกระบวนการปล่อย Alpha Decay และห่วงโซ่การสลายตัวจะไปสิ้นสุดที่ตะกั่ว หรือ 208Pb ที่เสถียรบนโลก .. ทอเรียม และยูเรเนียม เป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีที่มีนัยสำคัญเพียงชนิดเดียวที่ยังคงเกิดขึ้นตามธรรมชาติในปริมาณมาก มันเป็นธาตุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ .. ทอเรียม ได้รับการคาดหมายว่า จะมีมากเป็น 3 เท่าของยูเรเนียมที่ผิวเปลือกโลก .. อย่างไรก็ตาม การสำรวจเบื้องตนทั่วโลก พบปริมาณทอเรียมสำรองในธรรมชาติ Reserves of Thorium ที่พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ และคุ้มค่าการลงทุนอยู่อย่างน้อย 6,390,475 เมตริกตัน ในมากกว่า 36 ประเทศ ..

Rauhaugite from the Fen Field / Thorium is an Element of this Rock | Photo Credit: Gunnvald Solli / Norsk Thorium

ตัวอย่างการใช้ปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าในสหรัฐฯ นั้น การวิจัยชี้ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถให้พลังงานแก่สหรัฐฯ ได้ 80% ด้วยพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบจัดเก็บพลังงาน 12 ชั่วโมง แต่การให้แหล่งพลังงานเหล่านี้ทดแทนแหล่งพลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดนั้น นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพในแง่มุมทางการเงินแล้ว มันอาจกำลังสร้างปัญหาด้านความมั่นคงทางพลังงานอย่างมากด้วย ..

พลังงานนิวเคลียร์ส่งกำลังไฟฟ้าเกือบ 20% ในสหรัฐฯ และประมาณ 50% ของการผลิตกำลังไฟฟ้าในประเทศ ปล่อยมลพิษต่ำทั้งหมดมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯ มีหน่วยพลังงานนิวเคลียร์เกือบ 100 หน่วย ซึ่งทำงานมากกว่า 90% ของเวลาทั้งหมด ทำให้ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีฐานการผลิตกำลังไฟฟ้าที่สะอาด และมั่นคงอย่างยิ่ง ..

แต่การเดินหน้าต่อไป ดูเหมือนว่าพลังงานนิวเคลียร์จะสูญเสียความผยองของมันไป การขึ้นราคา ความล่าช้าของโครงการ การทยอยปิดปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นเก่า และการยกเลิกโครงการได้ก่อให้เกิดความเสียหาย .. รูปแบบการกำหนดราคาในอุตสาหกรรมการผลิตกำลังไฟฟ้าจากปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่ที่ปลอดภัยกว่า ทำให้ต้นทุนเริ่มต้น และราคาพลังงานสูงเกินไป ..

ตัวอย่างหน่วยพลังงานนิวเคลียร์ผลิตกำลังไฟฟ้า Vogtle Unit 3 และ Unit 4 ของ Georgia Power ซึ่งเป็นหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพียงแห่งเดียวของสหรัฐฯ ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ได้ประกาศความล่าช้า และราคาเพิ่มขึ้น การประเมินต้นทุนสิ่งอำนวยความสะดวก 1.117 GW ทั้งสองแห่ง จะต้องใช้เงินอย่างน้อย 30 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงต้นทุนทางการเงิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และต้นทุนการก่อสร้าง 27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ .. อย่างไรก็ตาม คาดหมายว่า ตลาดปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก Small Modular Reactors : SMR รวมทั้ง Nuclear Batteries ในราคาที่เหมาะสม และถูกกว่า กำลังกลายเป็นทางเลือกล่าสุดสำหรับตลาดแหล่งพลังงานรูปแบบแยกย่อยในอนาคตจากนี้ไป ซึ่งปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทอเรียมกับเกลือหลอมเหลว หรือปฏิกรณ์ฟลูออไรด์ทอเรียมเหลว Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกเชิงพาณิชย์ที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน ..

ตัวอย่างในเอเชียแปซิฟิก นอกจากจีนแล้ว .. Thorcon International บริษัทนิวเคลียร์ในสหรัฐฯ และกระทรวงกลาโหมของอินโดนีเซีย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ Memorandum of Understanding : MOU เพื่อศึกษาแนวการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมละลายทอเรียม Thorium Molten Salt Reactor : TMSR สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือการใช้เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนยานพาหนะทางทะเลที่สะอาด และปลอดภัย .. MOU ได้รับการลงนามโดย ดร. Anne Kusmayati หัวหน้าหน่วยงานวิจัย และพัฒนาของกระทรวงกลาโหม และ Bob S Effendi หัวหน้าผู้แทนของ ThorCon International ..

“เครื่องปฏิกรณ์ Thorium Molten Salt Reactor : TMSR ขนาดเล็กที่มีขนาดต่ำกว่า 50 MW สิ่งเหล่านี้ เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ปลอดภัย และพวกมันจะเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของชาติในพื้นที่นอกสุด พรมแดน และภูมิภาคที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดได้” คำแถลงร่วมระหว่างบริษัท ThorCon International และรัฐบาลอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นทิศทางชัดเจนสำหรับอนาคตอันใกล้ของอินโดนีเซีย ..

ข้อได้เปรียบสำคัญของเครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ทอเรียม ได้แก่ มันผลิตกากของเสียน้อยมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ชนิดอื่น ๆ .. มัน คือ หนึ่งในคุณสมบัติหลักของเครื่องปฏิกรณ์ทอเรียมที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากกากนิวเคลียร์จำนวนมหาศาลที่เกิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม ทำให้เกิดการแผ่รังสีสูง เป็นอันตราย และทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้ .. นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีสถานที่จัดเก็บขนาดใหญ่อีกด้วย ทั้งนี้ พบว่าระดับกัมมันตภาพรังสีจากกากของเสียเชื้อเพลิงทอเรียม จะลดลงเรื่อย ๆ ในระยะเวลาที่สั้นกว่ามาก เมื่อเทียบกับกากนิวเคลียร์ที่เกิดจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น ..

นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับการขุดแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ พบว่า การขุดทอเรียมถือว่าปลอดภัยกว่า ง่ายกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ โมนาไซต์แร่ทอเรียม Thorium’s Ore Monazite โดยทั่วไป ประกอบด้วยทอเรียมจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการสกัดของธาตุทอเรียมลดลงด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก ในทางกลับกัน สามารถสกัดยูเรเนียมจำนวนเล็กน้อยจากแหล่งแร่ได้ด้วย และเนื่องจากเหมืองทอเรียมเป็นหลุมเปิด การขุดของทอเรียมขึ้นมาใช้งานจึงปลอดภัยกว่าการขุดหาแร่ยูเรเนียมอย่างมากอีกด้วย ..

หากทอเรียมกลายเป็นที่นิยม ค่าใช้จ่ายในการจัดหาก็จะลดลงมากด้วย เนื่องจากทอเรียมมีอยู่ทั่วไปทุกที่ในเปลือกโลก ทอเรียมมีความเข้มข้นมากกว่ายูเรเนียม U235 ที่แตกตัวได้ 500 เท่า .. ในอดีต ทอเรียมถูกโยนทิ้งอย่างไร้ค่าอันเป็นผลพลอยได้จากการขุดหาโลหะหายาก แต่ในปัจจุบัน ด้วยการสกัดทอเรียมออกมาเพียงไม่มาก ก็เพียงพอแล้วที่จะสามารถใช้มันเป็นเชื้อเพลิงในปฏิกรณ์ LFTR ได้เป็นเวลาหลายพันปี สำหรับโรงงานขนาด 1 GW ค่าวัสดุสำหรับเชื้อเพลิงจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก LFTR ใช้ทอเรียมในสภาพธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการเสริมสมรรถนะเชื้อเพลิงที่มีราคาแพง หรือการผลิตสำหรับแท่งเชื้อเพลิงแข็ง ซึ่งหมายความว่า ต้นทุนเชื้อเพลิงจะต่ำกว่าเครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิงแข็งที่ใช้ยูเรเนียมซึ่งเทียบเคียงได้อย่างมีนัยสำคัญ ..

ปฏิกรณ์นิวเคลียร์จากทอเรียมทำงานได้อย่างดีเยี่ยม กระบวนการทางเคมีฟิสิกส์รูปแบบใหม่จะช่วยให้ LFTR สามารถใช้เชื้อเพลิงเกือบทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิ้งของเสียเพียงเล็กน้อยที่เป็นกากนิวเคลียร์ ซึ่งแตกต่างจากปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วไป .. สุดท้าย โรงไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทอเรียม และเกลือหลอมเหลว จะทำงานที่ประสิทธิภาพประมาณ 45 % จากความร้อนโดยรอบกังหันใบพัดผลิตกำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้น และอาจสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นได้ถึง 50 % หรือมากกว่า ซึ่งหมายความว่า โรงงานไฟฟ้าเชื้อเพลิงทอเรียม จะมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Traditional Light – Water Reactor รูปแบบเดิมอยู่ถึง 20 % ..

เครื่องปฏิกรณ์ทอเรียม Thorium Reactors กลายเป็นอีกวิธีหนึ่งในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่อาจเป็นประโยชน์ต่อโลกอย่างยิ่ง พวกมันมีประสิทธิภาพมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยเงื่อนไขที่เท่าเทียมกัน ปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วไป และไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ รวมทั้งพวกมันสามารถทำงานได้ตลอดทั้งวันทั้งคืนไม่มีหยุดพัก นอกจากการหยุดทำงานเพื่อการซ่อมบำรุงเท่านั้น ..  มัน คือ ผลพลอยได้ที่ทำให้แหล่งพลังงานที่เป็น Liquid Fluoride Thorium Reactor : LFTR ขนาดต่าง ๆ กลายเป็นหนึ่งในทางเลือก และข้อไขสำคัญที่ใช้งานได้จริงสำหรับความต้องการพลังงานของโลกในอนาคตจากนี้ไป ..

คอลัมน์ Energy Key

Byโลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Nuclear Power in a Clean Energy System – Analysis | IEA :-

https://www.iea.org/reports/nuclear-power-in-a-clean-energy-system

Nuclear Power in a Clean Energy System | IEA :-

https://iea.blob.core.windows.net/assets/ad5a93ce-3a7f-461d-a441-8a05b7601887/Nuclear_Power_in_a_Clean_Energy_System.pdf

https://drive.google.com/file/d/1j4poLcuUtOjJRzNnJUlAZmHpbEz8OudT/view?usp=sharing

Thorium As Nuclear Fuel | Whatisnuclear :-

https://whatisnuclear.com/thorium.html

Thorium – World Nuclear Association | World Nuclear Association :-

https://world-nuclear.org/information-library/current-and-future-generation/thorium.aspx

The Thing About Thorium: Why The Better Nuclear Fuel May Not Get A Chance | Forbes :-

https://www.forbes.com/sites/energysource/2012/02/16/the-thing-about-thorium-why-the-better-nuclear-fuel-may-not-get-a-chance/?sh=33fd6add1d80

Thorium Reactor – an overview | ScienceDirect Topics :-

https://www.sciencedirect.com/topics/engineering/thorium-reactor

Use of Thorium in the Generation IV Molten Salt Reactors :-

https://inis.iaea.org/collection/NCLCollectionStore/_Public/45/068/45068136.pdf

IMSR and Thorium Reactor News | Terrestrial Energy :-

https://www.terrestrialenergy.com/updates/

Advantage and Disadvantages of Thorium Reactors :-

https://www.nuclear-power.net/nuclear-power-plant/reactor-types/thorium-reactor/advantage-and-disadvantages-of-thorium-reactors-pros-and-cons/

China Building World’s First Waterless Nuclear Reactor Using Thorium :-

https://www.indiatimes.com/technology/science-and-future/china-waterless-nuclear-reactor-thorium-545635.html

China is Gearing up to Activate the World’s First ‘Clean’ Commercial Nuclear Reactor | Live Science :-

https://www.livescience.com/china-creates-new-thorium-reactor.html

Molten Salt Reactor Market Report | Global Forecast To 2028 :-

https://dataintelo.com/report/molten-salt-reactor-market/

Indonesia signs MOU on Molten Salt Reactor :-

https://www.neimagazine.com/news/newsindonesia-signs-mou-on-molten-salt-reactor-8055819

Will Indonesia become a Nuclear Power? :-

https://www.trtworld.com/magazine/will-indonesia-become-a-nuclear-power-43025

Nuclear Option :-

https://photos.app.goo.gl/sR3LhPKGarPC5CHx6

Thorium Summary | Th 232 Documentary :-

https://goo.gl/photos/MsPgiEMqW9PVpmT49

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img