วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSถึงเวลา 'กระจายอำนาจ' สู่ 'ท้องถิ่น'
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ถึงเวลา ‘กระจายอำนาจ’ สู่ ‘ท้องถิ่น’

สำนักงานสถิติแห่งชาติ…สอบถามความเห็นประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลักของรัฐบาล ในโอกาสบริหารงานครบรอบ 1 ปี โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แจ้งได้ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา

มีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผลความเชื่อมั่นต่อ “รัฐบาลลุงตู่” ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ความพึงพอใจในภาพรวมต่อการดำเนินงานของรัฐบาล พบว่า ประชาชนพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 33.4 ในระดับปากกลาง ร้อยละ 48.00

โดยนโยบายที่ประชาชนพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19, โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี, นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน วิกฤติมีสิทธิทุกที่ และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

เมื่อแยกหัวข้อคำถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขไวรัสโควิด-19 ผลออกมาว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นสูงมากและระดับปานกลาง รวมกันร้อยละ 96.2

เช่นเดียวกันประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 29.8, เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 48.7 เท่ากับภาพรวมมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลสูงมากถึงร้อยละ 78.5

นี่เป็นฐานข้อมูลเชิงวิชาการออกจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ต้องขอถามว่า สวนทางกลับสภาพความเป็นจริงของประเทศที่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะอย่างน้อยผลสำรวจความเหลื่อมล้ำล่าสุด…มันถี่ห่างเพิ่มขึ้น คนรวยอู่ฟู่ขึ้น คนจนกรอบยิ่งขึ้น

และผลสำรวจในหัวข้อถัดไป กะเทาะเปลือกให้เห็นว่า ปมที่ชุมชน หมู่บ้าน ได้รับความเดือนร้อน ได้แก่ คนในชุมชนว่างงาน ไม่มีอาชีพที่มั่นคง ร้อยละ 29.9, สินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 18.7, สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ร้อยละ 18

ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 41.2, ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้มีราคาแพง ร้อยละ 20.4, ปัญหาสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ร้อยละ 19.1, จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแห่งน้ำเพื่อการเกษตร ร้อยละ 11.5, จัดสวัสดิการของรัฐให้เพียงพอและครอบคลุมทุกพื้นที่ ร้อยละ 8.5

สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทิ้งท้าย เสนอแนะเชิงนโยบาย โดย ควรช่วยเหลือกลุ่มคนตกงาน ว่างงาน เน้นดำเนินการเชิงรุกในระดับชุมชน หมู่บ้าน ทั้งจ้างงานชั่วคราว การหาตลาดรองรับสินค้าของชุมชน การจัดอบรมวิชาชีพ การส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพที่มั่นคงและสามารถพึงพาตนเองได้ เน้นกลุ่มอาชีพอิสระที่ไม่มีสวัสดิการด้านแรงงาน เช่น เกษตรกร ผู้มีอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป

ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านค่าครองชีพ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน โดยเฉพาะการควบคุมราคาสินค้านอุปโภค บริโภคและการลดค่าสาธารณูปโภค

ควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการประกอบอาชีพ ทั้งแก้ปัญหาสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ การหาตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ การพยุงราคาสินค้าเกษตร การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรสมัยใหม่

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกือบทั้งหมด หากรัฐกล้าขับเคลื่อนตามแผนและนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาเหล่านี้ย่อมได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรมกว่า เพราะผู้บริหารระดับท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดปัญหาและประชาชน

ถึงเวลารัฐบาลต้องกล้ากระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

เพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้ตามใจปรารถนาของคนในพื้นที่ และพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ

รัฐบาลควรมีอำนาจแค่ “กำกับดูแลองค์กรปกครองท้องถิ่น” เท่าที่เหมาะสม

………………………..

คอลัมน์ : ไขกุญแจ/ไขแหลก

โดย “ราษฎรเต็มขั้น”



- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img