วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกHighlight‘เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง’ (CGM) เตือนภัย‘ยามหลับ’เพื่อ‘ผู้ป่วยเบาหวาน’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง’ (CGM) เตือนภัย‘ยามหลับ’เพื่อ‘ผู้ป่วยเบาหวาน’

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า ‘อินสุลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจำเป็นต้องมี ทำหน้าที่นำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แต่หากระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ หากปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด

ปัจจุบันสถานพยาบาลในไทยมักมีการนำเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง มาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดกันอย่างแพร่หลาย เพื่อการควบคุมระดับตาลในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า “เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ผู้ป่วยเบาหวานหลายท่านไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มักมีค่าน้ำตาลในเลือดแกว่งขึ้นลง บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยเบาหวาน เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักมีอาการเป็นลม หมดสติ ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะค่าน้ำตาลในเลือดแกว่งขึ้นลงจึงเป็นสิ่งจำเป็นและควรหาวิธีควบคุม”

สำหรับ เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง หรือ CGM (Continuous Glucose Monitoring) นั้น เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลา โดยจะวัดระดับน้ำตาลทุกๆ 3 นาทีตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะติดเครื่องนี้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยเป็นเครื่องติดที่หน้าท้อง มีเซ็นเซอร์เป็นโลหะปลอดภัย ยาวประมาณ 7 มม. สอดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ มีระบบเตือนเมื่อระดับน้ำตาลตก ตัวเครื่องกันน้ำ สามารถอาบน้ำได้สะดวก ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต แพทย์ประจำตัวสามารถเข้าถึงผลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ซึ่งแพทย์จะมีเกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยที่ควรใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง มีดังนี้

·ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งมาก ๆ ได้แก่ ช่วงที่น้ำตาลขึ้นสูงและช่วงที่น้ำตาลตก

·ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยาอินซูลิน 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป

·ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีอาการเตือน หน้ามืด หมดสติ

·ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) สูง แม้จะกินยาสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว

·ผู้ป่วยเบาหวานที่อยากเรียนรู้ระดับน้ำตาลของตนเอง

พญ.ณัฐกานต์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ผู้ป่วยบางท่านมักจะถามหมอว่า ‘ผู้ป่วยเบาหวานที่เจาะน้ำตาลปลายนิ้วอยู่แล้ว ทำไมยังต้องติดเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องอยู่’ นั่นเป็นเพราะการควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นพื้นฐานสำคัญของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ช่วยควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง การติดเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องจะสามารถบอกแนวโน้ม (Trend Arrow) การขึ้นลงของระดับน้ำตาลซึ่งไม่สามารถบอกได้โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว มีข้อดีคือช่วยในการปรับยา อาหารและการออกกำลังกายได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังมี แอพพลิเคชั่นเตือน (Alarm) ให้ดื่มน้ำหวานทันทีที่น้ำตาลเริ่มตก แม้ในขณะนอนหลับอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นยังมี ระบบดูแลและเฝ้าระวัง (Remote Monitoring) จากทีมสหสาขา และใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องวางแผนปรับพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ เพื่อควบคุมค่าระดับน้ำตาลสะสม (Estimated HbA1C หรือ Glucose Management Indicator : GMI) ให้ดีขึ้นได้ใน 2 สัปดาห์”

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง

“การประเมินว่าเบาหวานควบคุมได้ไหมนั้น ปกติเวลามาตรวจตามนัดเราจะเจาะเลือด 2 อย่าง ก็คือ หนึ่ง : งดน้ำงดอาหารเช้าวันที่เจาะเลือด และ สอง : ตรวจวัดค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม 3 เดือน หรือ HbA1C บางครั้ง 2 ค่านี้มันไม่สอดคล้องกัน เช่น คนไข้งดอาหารปกติแต่ว่าน้ำตาลสะสมสูง หรือบางครั้งน้ำตาลยังสะสมสูงอยู่ แต่คนไข้บอกว่าระหว่างวัน น้ำตาลตก มีใจสั่นหวิว หิวเหงื่อแตก แสดงว่าค่าน้ำตาลในเลือดแกว่ง บางครั้งก็ลง บางครั้งก็ขึ้น หรือยิ่งไปกว่านั้น หากคนไข้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำขณะนอนหลับ อาจเกิดอันตราย เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกตัวตื่นมากินน้ำหวานแก้ไขได้ทัน แต่ถ้าหากเราทราบระดับน้ำตาลได้อย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ช่วยให้แข็งแรง และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตคนไข้เบาหวานดีขึ้น” พญ.ณัฐกานต์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img