วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกHighlightเผยคนไทยเสียชีวิตด้วย“โรคหัวใจและหลอดเลือด”ชั่วโมงละ 7 ราย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เผยคนไทยเสียชีวิตด้วย“โรคหัวใจและหลอดเลือด”ชั่วโมงละ 7 ราย

“โรคหัวใจและหลอดเลือด” ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น

เนื่องจากการสะสมของไขมัน โปรตีน ที่บริเวณผนังด้านใน ของหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ภาวะอ้วน โดยโรคนี้มักเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับ ความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายการรักษาของแพทย์

FB / กระทรวงสาธารณสุข

นพ.โอภาส กล่าวต่อไปว่า เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดตามคำขวัญรณรงค์วันหัวใจโลก คือ ใช้ใจเชื่อมต่อทุกคน ทุกที่ แนะนำให้ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด 3 ประการ คือ 1.ใช้ใจสร้างความเท่าเทียม (EQUITY) 2.ใช้ใจในการป้องกัน (PREVENTION) 3.ใช้ใจร่วมกับสังคมและชุมชน (COMMUNITY) กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้าถึงทุกที่ ทุกเวลาอย่างรวดเร็ว

โรคหัวใจเป็น 1 ใน 7 โรคไม่ติดต่อ หากเกิดการติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้หัวใจเต้นเร็วจนเสี่ยงเกิดเยื่อบุหลอดเลือด อักเสบ หรือมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูงขึ้นจากระดับออกซิเจนในเลือดที่ลดลง ถ้าติดเชื้ออย่างรุนแรงทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจแย่ลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีอาการหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวได้และอาการที่รุนแรงจำเป็นต้องเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลมากขึ้น มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 20%

ดังนั้น ผู้ป่วยควรระมัดระวังป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เน้นควบคุมอาการให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดปัจจัยเสี่ยง ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เลิกสูบบุหรี่ หรือเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่และลด ละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดและสังเกตอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก หรือมีอาการเต้นของหัวใจผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ และที่สำคัญควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ

การเตรียมความพร้อมของกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ 1.ให้แพทย์ประเมินความพร้อมของร่างกาย ก่อนได้รับการฉีดวัคซีน 2.ควรรับการฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในการสังเกตอาการหรือภาวะไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีน 3.ภายหลังการฉีดวัคซีน 7 วัน หากพบอาการไม่พึงประสงค์ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อย หรือใจสั่น ควรรีบพบแพทย์ สามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมทางสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img