วันอังคาร, เมษายน 16, 2024
หน้าแรกHighlightถอดรหัส...คนเคยเสริมหน้าอก แต่กลับไปทำศัลยกรรมแก้ไขอีก เพราะ???
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ถอดรหัส…คนเคยเสริมหน้าอก แต่กลับไปทำศัลยกรรมแก้ไขอีก เพราะ???

การศัลยกรรมเสริมหน้าอก เป็นที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี ความปลอดภัย ความชำนาญของศัลยแพทย์ตกแต่ง และมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ ส่งผลให้การทำศัลยกรรมหน้าอก ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว และใคร ๆ ก็ตัดสินใจทำ เพื่อความสวยงาม การแต่งกาย บุคลิกที่ดี ส่งผลถึงโอกาสดี ๆ มากกมายทางสังคม

แต่ก็มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ที่ทำศัลยกรรมหน้าอกไปแล้วกลับมาแก้ไขอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุ นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด ได้อธิบายไว้ว่า มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1.หน้าอกแข็ง ซึ่งเมื่อคนไข้ตรวจหรือสัมผัสหน้าอกจะรู้สึกได้ว่าแข็งขึ้น ทั้งนี้เมื่อใส่ถุงซิลิโคนไปนาน ๆ บางท่าน อาจเกิดอาการหน้าอกจะแข็งขึ้นได้ โดยทางการแพทย์เรียกว่า Capsular Contracture ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้มากที่สุด คือ เกิดจากการใส่ถุงซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่เกินโครงสร้างของร่างกาย และเทคนิคการเสริมแบบเหนือกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเช่นนี้ สามารถแก้ไขได้โดย การผ่าตัดเปลี่ยนถุงซิลิโคนให้มีขนาดที่พอเหมาะ ร่วมกับการผ่าตัดเลาะพังผืด (Capsulectomy) และเปลี่ยนเทคนิคการเสริมถุงซิลิโคนให้เป็นแบบใต้กล้ามเนื้อ หรือ Dual Plane ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาหน้าอกแข็งนี้ได้

2.ปัญหาถุงซิลิโคนรั่วซึม หรือแตก (Gel Bleeding/Ruptured Silicone) ปัญหานี้ จะเกิดกับถุงซิลิโคนรุ่นเก่า ผู้ที่เคยเสริมหน้าอกมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีโอกาสรั่วซึมหรือแตกได้สูง คนไข้จึงควรตรวจเช็คหน้าอกเป็นประจำ โดยการตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง ร่วมกับการตรวจ Ultrasound Mammogram หรือ MRI ก็จะช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ได้ และสำหรับผู้ที่มีปัญหาดังกล่าว สามารถผ่าตัดแก้ไขได้โดย การนำถุงซิลิโคนเดิมออกและนำซิลิโคนที่ตกค้างออก (Silicone Removal)  หลังจากนั้นแพทย์จะทำการล้างโพรงที่ใส่ซิลิโคนเดิมให้สะอาด ร่วมกับเลาะพังผืดรอบถุงเต้านมเทียมเดิมออก (Capsulectomy) และทำการใส่ถุงซิลิโคนใหม่ด้วยเทคนิคและวัสดุที่เหมาะสม

3.คนไข้มีความต้องการเปลี่ยนขนาดถุงเต้านม ในบางท่านอาจไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนใด แต่ต้องการเปลี่ยนขนาดถุงซิลิโคนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเล็กลง ตามความประสงค์  ก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ แนะนำให้มาตรวจวิเคราะห์โดยละเอียดกับศัลยแพทย์ก่อน ว่าควรเปลี่ยนเป็นขนาดเท่าใด  และแนะนำให้เปลี่ยนเป็นถุงซิลิโคนรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยสูง มี Safety Profile ที่ดี เนื่องจากถุงซิลิโคนเต้านม ณ ปัจจุบัน (6th Generation Implant) จะมีความเป็นธรรมชาติ ทั้งรูปทรงและเนื้อสัมผัส ทั้งยังมีการรับประกันตลอดชีวิต โอกาสรั่วซึมน้อย เกิดพังผืดน้อยลง และยังไม่พบรายงานการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง Anaplastic Large Cell Lymphoma (ALCL) ซึ่งหากเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนขนาดแล้ว ก็จะได้เปลี่ยนซิลิโคนที่มีคุณภาพดีขึ้นไปในการผ่าตัดครั้งเดียวกัน

นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล

………………………………..

บทความสุขภาพโดย : นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img