วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกHighlightรู้หรือยัง...คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รู้หรือยัง…คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน แนะแนวทางการดูแลสุขภาพที่ดีต่อใจให้คนใกล้ตัวช่วงวาเลนไทน์นี้

ฟิลิปส์ ประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ จึงได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้แก่ประชาชน เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้ป่วยอันดับต้นๆ จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และ จากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นราย โดยอุบัติการณ์ล่าสุดพบว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน

รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์

รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า “โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 18,922 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน โดยโรคหัวใจที่สำคัญมีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาการของโรคหัวใจ มีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการเลยไปจนถึงอาการเหนื่อยหอบง่าย นอนราบแล้วอึดอัดต้องลุกขึ้นมานั่งช่วงกลางคืน เจ็บหน้าอกซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ใจสั่นเต้นเร็ว หรือเป็นลมหมดสติที่ไม่ได้เกิดจากการเป็นลมแดด หรือการยืนนาน หรืออาจถึงกับเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่มีอาการนำมาก่อนเลยก็ได้ อาจเรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง”

การรักษาโรคหัวใจในแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการรักษาโรคหัวใจคือ ต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าเป็นโรคหัวใจประเภทไหน และรุนแรงระดับใด (มาก ปานกลาง น้อย เป็นต้น) และการวินิจฉัยดังกล่าวต้องมีความแม่นยำ เพราะอาจมีผลต่อชีวิตผู้ป่วยและการรักษาได้

“การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการใช้หูฟังฟังเสียงหัวใจของแพทย์เป็นวิธีการนำมาซึ่งการวินิจฉัยโรคหัวใจที่ดี แต่บ่อยครั้งอาจไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมที่ละเอียดมากขึ้น ปัจจุบันมีการตรวจเพิ่มเติมทางด้านหัวใจหลายประเภท และมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมมากกว่าหนึ่งชนิด เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG; การตรวจวิ่งสายพานหรือ Stress Test; การตรวจทางภาพถ่ายรังสีแบบธรรมดา จนถึง เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ CT scan cardiac MRI; การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ  และการตรวจที่จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในการตรวจที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขั้นสูง (Echocardiography)” รศ.พญ.ศริญญา อธิบาย

“อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอและการป้องกันการเกิดโรคหัวใจน่าจะดีกว่าการต้องมาตรวจรักษาอย่างแน่นอน ดังนั้น ประชาชนควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มันจัด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคหัวใจได้” รศ.พญ.ศริญญา กล่าวทิ้งท้าย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img