วันพุธ, เมษายน 24, 2024
หน้าแรกHighlightอย่ามองข้าม “ภาวะหนังตาตก (Ptosis or Drooping Eyelid)”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อย่ามองข้าม “ภาวะหนังตาตก (Ptosis or Drooping Eyelid)”

จักษุแพทย์เตือนภาวะการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบเปลือกตา การหยีตาในตาข้างที่มีค่าสายตาผิดปกติ คิ้วตก ผิวหนังบริเวณหนังตาหย่อน ตาดำที่ลอยหรือต่ำกว่าตาอีกข้างหนึ่ง ทำให้ตำแหน่งของเปลือกตาข้างนั้นดูคล้ายหนังตาตกได้

นพ.ไพโรจน์ สุรัตน์วนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะที่หนังตาบนตกลงต่ำกว่าระดับปกติ โดยปกติขณะลืมตาขอบล่างของเปลือกตาบนจะอยู่ระดับเหนือรูม่านตาเล็กน้อย หรือปิดบังประมาณ 1 ใน 4 ถึง 1 ใน 5 ของตาดำส่วนบนในคนเอเชีย (ในท่ามองตรงและไม่มีการเลิกคิ้วหรือย่นหน้าผาก) อาจพบในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างและอาจไม่เท่ากันในตาทั้งสองข้างได้และในกรณีที่เป็นทั้งสองข้างจะดูคล้ายคนง่วงนอนหรืออ่อนแรงได้อาจมีการแหงนหน้าหรือย่นหน้าผากเวลามอง ในกรณีที่หนังตาตกทั้งสองข้างหรือเลิกคิ้วสูงกว่าในตาข้างที่หนังตาตก เป็นต้น

นพ.อภิชัย สิรกุลจิรา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า หนังตาตกในผู้สูงอายุ มักเป็นสองข้างพอ ๆ กัน และค่อยๆเป็นเพิ่มขึ้นช้า ๆ ตามวัย ในกรณีที่เป็นมากอาจทำให้บดบังการมองเห็นจนอาจเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าสังคมได้ ส่วนใหญ่มักไม่มีความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ยกเปลือกตาหรือเบ้าตาโดยตรง ภายนอกอาจพบลักษณะชั้นของเปลือกตาสูงขึ้นหรือหายไป เนื่องจากการยืดหย่อนของพังผืดกล้ามเนื้อที่ยกเปลือกตาหรือเลื่อนหลุดจากตำแหน่งจุดเกาะที่เปลือกตาเดิม ซึ่งเกิดตามวัยซึ่งมักพบร่วมกับการหย่อนคล้อยของผิวหนังบริเวณเปลือกตา และคิ้วตกร่วมด้วยได้

การรักษาทำได้โดยการผ่าตัดเปลือกตาเพื่อปรับตำแหน่งการยึดเกาะ หรือ เพิ่มแรงยกของพังผืดกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่เลื่อนหลุด และหรือยืดหย่อน และอาจทำร่วมกับการผ่าตัดบางส่วนของผิวหนังเปลือกตาที่หย่อนคล้อยซึ่งยังบดบังการมองเห็นอยู่ออกไปแม้ตำแหน่งของเปลือกตาจะอยู่ในระดับปกติ และหรือการยกกระชับพังผืดชั้นลึกของใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณคิ้ว การเลือกชนิดและตำแหน่งของการผ่าตัดรักษาอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดหลังจากได้ตรวจอย่างละเอียด

นพ.ปรเมศวร์ เลาวณาภิบาล จักษุแพทย์อนุสาขาประสาทจักษุ กล่าวเพิ่มว่า สำหรับสาเหตุอื่น ๆ ของภาวะหนังตาตกที่เป็นในภายหลังที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ได้แก่ ก้อนบริเวณเปลือกตา เปลือกตาบวมอักเสบ การอักเสบในเบ้าตา ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ การบาดเจ็บของเส้นประสาท กล้ามเนื้อ พังผืดของกล้ามเนื้อที่ยกเปลือกตาภายหลังอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด การถูขยี้ตาบ่อย ๆ การใช้คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งเป็นเวลานาน หรือโรคที่พบได้น้อยและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อลีบฝ่อ โรคไมโตรคอนเดรียผิดปกติเป็นต้น รวมทั้งอาจพบเป็นอาการเริ่มต้นของโรคที่พบได้น้อยแต่มีความร้ายแรงได้ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพองกดทับเส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 ภาวะความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น 

ผู้ที่มีหนังตาตกโดยเฉพาะเมื่อเป็นในตาข้างเดียว และมีการเกิดแบบฉับพลัน การดำเนินโรคเร็วและมีอาการร่วมอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเบ้าตา ตามัวลง ภาพดับมืดชั่วขณะ ตาโปน ตาเข เห็นภาพซ้อน ตาแดง สู้แสงไม่ได้ หนังตาตกมีลักษณะไม่คงที่ เป็นต้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน และยังมีโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อตัวเองมีการสร้างแอนติบอดี้ต่อตัวรับสารสื่อประสาทบริเวณรอยต่อของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานของกล้ามเนื้อลดลงเมื่อถูกกระตุ้น

โดยเฉพาะเมื่อกระตุ้นซ้ำๆ หรือใช้งานนานๆ อาการได้แก่ หนังตาตก ข้างเดียว หรือสองข้าง อาจเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ และอาจพบร่วมกับอาการภาพเบลอไม่ชัด ภาพซ้อน กลอกตาติด ตาเขได้และอาการจำเพาะที่สำคัญของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคือ อาการมักไม่คงที่เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาของวัน หรือ ระหว่างวันมักเป็นมากขึ้นหลังการใช้สายตานานๆ และดีขึ้นเมื่อได้พัก เมื่อไม่มีโรคร่วมอื่นมักไม่มีอาการปวด ชา ตาแดง ตามัว เป็นต้น

ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอ่อนแรงบริเวณอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ กลืนลำบาก หายใจเหนื่อย ยกแขนขาไม่ไหว เป็นต้น ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะไม่ควรรีบทำการผ่าตัดแก้ไขเปลือกตาในขณะที่อาการและการดำเนินโรคยังไม่คงที่ โดยอาการอาจดีขึ้นได้โดยการรับประทานยาและไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดเมื่อมาพบแพทย์ในระยะเริ่มต้นของโรคฯ

นอกจากนั้นยังมี ภาวะอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงและอาจเข้าใจผิดว่าเป็นหนังตาตก ได้แก่ ภาวการณ์หดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบเปลือกตาการหยีตาในตาข้างที่มีค่าสายตาผิดปกติ คิ้วตก ผิวหนังบริเวณหนังตาหย่อน ตาดำที่ลอยหรือต่ำกว่าตาอีกข้างหนึ่ง ทำให้ตำแหน่งของเปลือกตาข้างนั้นดูคล้ายหนังตาตกได้ หรือแม้แต่อาจเกิดความผิดปกติของเปลือกตาอีกข้างที่สูงกว่าปกติ ทำให้ตาข้างที่ปกติดูคล้ายหนังตาตกได้ เป็นต้น 

แนวทางการดูแลรักษาก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแก้ไขโดยการผ่าตัดเพื่อยกเปลือกตาขึ้น ควรจะปรึกษาจักษุแพทย์ ได้แก่ผู้ที่มีอาการเตือนดังกล่าวข้างต้น ซึ่งในบางครั้งอาการอื่นๆ อาจมีเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น หรือแม้แต่มีอาการอื่นเป็นนำมาก่อน เช่น ภาพเบลอ ตามัว หรืออาการปวดศีรษะ แต่อาจเข้าใจผิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับหนังตาตกและคิดว่าเกิดจากโรคประจำตัวอื่น เช่น ไมเกรน เป็นต้น จึงควรปรึกษาและได้รับการตรวจโดยละเอียดโดยจักษุแพทย์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img