วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกNEWS“อุตตม-สนธิรัตน์”รุมจวกรัฐบาลปล่อยประชาชนแบกค่าไฟ-ราคาสินค้าพุ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อุตตม-สนธิรัตน์”รุมจวกรัฐบาลปล่อยประชาชนแบกค่าไฟ-ราคาสินค้าพุ่ง

อุตตม-สนธิรัตน์” จวกรัฐบาลปล่อยประชาชนแบกค่าไฟ ชงนโยบาย 4 โซลาร์รื้อโครงสร้างพลังงาน-อย่าอุ้มกลุ่มทุน ถามลั่นแซะกระทรวงพาณิชย์ทำอะไรอยู่ราคาสินค้าพุ่ง

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่พรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย พร้อมนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค นายสันติ กีระนันทน์ รองหัวหน้าพรรค ร่วมแถลงข่าว “ชำแหละประเด็น ค่าไฟแพง แก๊สแพงใครทำร้ายประชาชน”

นายอุตตม กล่าวว่า วันนี้ความเดือดร้อนกังวลใจของประชาชน อันดับหนึ่ง คือ ค่าครองชีพ ปัจจัยใหญ่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เกี่ยวกับพลังงานทั้งในรูปค่าไฟ ก๊าซ น้ำมัน เกี่ยวกับราคาพลังงานเกิดขึ้นมาก จึงมีคำถามไปถึงผู้เกี่ยวข้อง คือรัฐบาล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โรงกลั่น จะตอบโจทย์ความเดือดร้อนของประชาชนอย่างไร เนื่องจากมาตรการที่ดูแล จะมีผลกับเศรษฐกิจไทย ทั้งในระยะสั้นและต่อไป รวมถึงความมั่นคงพลังงานจะเป็นปัจจัยพัฒนาประเทศ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ล่าสุดธนาคารโลก ระบุว่าสถานการณ์เศรษฐกิจท่าทีไม่ดี มีความเสี่ยงถดถอย ทั้งเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ส่วนประเทศไทย โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย รายงานล่าสุดว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไปตามสภาพของแต่ละประเทศและนโยบายที่ใช้ โดยไทยการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะ 2 ปัจจัย คือเศรษฐกิจโลกกชะลอตัว ถดถอยจะกระทบส่งออกและ 2.คือ ต้นทุนพลังงาน ที่จะกระทบภาคการผลิต เมื่อต้นทุนเพิ่ม กระทบขีดสามารถแข่งขัน และกำลังซื้อลด ยอดขายลงเป็นห่วงโซ่ โดย ปตท.และโรงกลั่นเป็นกลไกที่รัฐมี จึงต้องใช้ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อดูแลประชาชน และเชื่อว่าทำได้

นายอุตตม กล่าวว่า สอท.จะต้องมีความชัดเจนนโยบายพลังงาน และมาตรการที่ชัดเจนเมื่อวิกฤติมากระตุกจึงต้องรื้อโครงสร้างพลังงาน เอาประโยชน์ประชาชนและประเทศเป็นที่ตั้งในภาวะวิกฤต เพราะไปกระทบกับต้นทุนผลิต วันนี้กลัวเงินเฟ้อ ที่เกิดจากต้นทุนคือพลังงาน ดังนั้นจะเงินเฟ้อ คือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และอัตราแลกเปลี่ยน แต่มาพันกับพลังงาน ต้องดูแลให้ครบถ้วน แต่วันนี้หน่วยงานเกี่ยวข้องเพียงพอหรือไม่ และต้องแก้ปัญหา ส่วนการชดเชยเยียวยาต้องทำไปทีละจุด

ทางด้าน นายสนธิรัตน์ กล่าวว่าหัวใจใหญ่ที่สุดคือ ค่าไฟฟ้า ที่ต้องใช้ทุกครัวเรือน ทุกบ้าน แต่วันนี้ประชาชนแบกภาระค่าไฟฟ้าหลังแอ่น โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานระบุจะไม่เห็นค่าไฟต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย เรายอมจำนนกับสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ค่าไฟที่เราแบกอยู่มาจากค่าเอฟที ขณะนี้อยู่ 60-70 สตางค์ แบกค่าประกัน ค่าตอบแทนโรงไฟฟ้า แบกค่าราคาก๊าซ โดยต้นเดือน ก.ย. เราใช้ค่าไฟ 4.72 บาท ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าไฟแพง มาจากเชื้อเพลิง 54.8% ใช้ก๊าซธรรมชาติ กฟผ. ผลิต 31% แต่เอกชน 31.2% กำลังผลิตกำลังเปลี่ยนผ่านไปมือเอกชน วันนี้ปริมาณกำลังผลิตตามสัญญา 51,828 เมกะวัตต์ ตอนนี้มีสัญญาที่ทำไว้กับเอกชน มีไฟฟ้าส่วนเกินครึ่งหนึ่งที่ประชาชนแบกภาระ

ขณะที่เรื่องค่าแก๊สแพง การใช้แก๊สในอ่าวไทยลดลงมาตั้งแต่ปี 60 พอพ้นปี 63 ปริมาณการผลิตลดลง ส่งผลต้นทุนแก๊สเราแพง ไทยเหลือแก๊สใช้เองไม่เกิน 7 ปี ไม่เกิน 10 ปีจากนี้ เราต้องนำเข้า LNG ทั้งหมด ซึ่งการใช้แก๊สในอ่าวไทยลดลงโดยตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาที่สูงจะกินเวลาไปอย่างน้อยเดือน มี.ค.66 ภาระจะไปตกกับประชาชน นโยบายพลังงานและการบริหารจัดการในช่วงที่ผ่านมา คือความผิดพลาดครั้งใหญ่ ตนขอถามว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากเอกชน ใครได้ประโยชน์บ้าง การบริหารด้านความมั่นคงแก๊สในอ่าวไทยและการเปลี่ยนผ่านที่ผ่านมาเราได้เตรียมการรองรับปัญหานี้หรือไม่ หรือเราต้องการส่งเสริมไฟฟ้าเอกชน ธุรกิจ LNG วันนี้ใครได้ประโยชน์สูงสุด เอกชนหรือรัฐ ค่าการกลั่นที่ติดค้างในหัวใจประชาชนที่บอกว่าจะลดได้ให้แต่เงียบ สิ่งที่ สอท.เรียกร้องมาตลอดคือ เมื่อเกิดวิกฤติต้องเอาต้นทุนจริงมาดู ไม่ใช่ใช้กลไกเดิม เมื่อราคามันสูงรัฐต้องหาทางสนับสนุน ทำไมไม่แก้ที่รากปัญหา แต่ปรากฏว่าไม่มีคำตอบ

“เราต้องหาแหล่งพลังงานราคาถูก ไม่ใช่การเซ็นสัญญาระยะยาวที่มีอยู่ ในโลกมีแหล่งพลังงานราคาถูกที่พร้อมขายให้ไทย ไม่เช่นนั้นจะต้องมาชดเชยที่ปลายทาง ทั้งค่าเอฟทีค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน ควักเงินจากประชาชนทั้งสิ้น เราเสนอให้แก้รากของปัญหา เมื่อเราแก้ได้จริง ราคาพลังงานจะลดลง รัฐจะช่วยชดเชยประชาชนลดลง แก๊สในอ่าวไทยวันนี้เอาไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซื้อในราคาแก๊ส ควรต้องขึ้นราคาตรงนี้หรือไม่ แล้วเอากำไรตรงนี้ไปชดเชยประชาชน ไม่ใช่เอาภาษีมาชดเชยประชาชน เปลี่ยนวิธีบริหารเสียรื้อโครงสร้างบริหารงานเสีย วางโครงสร้างบริหารพลังงานใหม่”

วันนี้เราควบคุมปัญหาโลกไม่ได้ แต่เราควบคุมการบริหารจัดการและลดผลกระทบต่อประชาชนได้ หาก สอท.ได้เข้าไปบริหาร เราจะใช้ประชาชนเป็นตัวตั้งในการบริหารจัดการ แล้วขณะนี้รัฐบาลทำอะไรอยู่ น้ำมัน แก๊ส ค่าไฟฟ้าลดไม่ได้เลยหรือ แล้วภายใต้ต้นทุนที่แท้จริงอะไรที่ทับซ้อนอยู่ ได้แกะออกมาหรือไม่ เพราะนี่คือวิกฤติ รัฐและรัฐวิสาหกิจของรัฐต้องหยุดกลไกบริหารแบบเดิมๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประชาชนจะมีส่วนเป็นเจ้าของพลังงาน อีกเรื่องคือ โรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งเป็นการช่วยประชาชนและภาคเกษตร ช่วยให้ประชาชนเป็นเจ้าของพลังงาน ใครแตะเบรกเอาไว้แตะเบรกเพื่ออะไร แล้วในภาวะเช่นนี้สมัยที่เราดูแลกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน เราแก้ปัญหาทันที ตอนโควิด-19 ระบาดเราคืนค่ามิเตอร์ให้ประชาชน และลดค่าไฟให้ทันที่ที่มีการล็อกดาวน์ ต้องคำนึงความเดือดร้อนประชาชน ไม่ได้คิดแบบเดิมๆ ตลอดเวลา

นายสนธิรัตน์ ยังกล่าวด้วยว่าวันนี้แก๊สเราถอยลงทุกวัน นอกจากน้ำมันเรายังจะต้องนำเข้าแก๊สอีกหรือ ไม่ต้องถามว่าแพงทั้งแผ่นดินหรือไม่ อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ส่งสัญญาณแล้วว่าเตรียมตัวรับการขึ้นราคาที่กระทรวงพาณิชย์ไม่มีสิทธิ์จะทำอะไร วันนี้กระทรวงพาณิชย์ทำอะไรอยู่ ต้นทุนขึ้นไปทุกหย่อมหญ้า ทั้งต้นทุนการใช้ชีวิตต้นทุนพลังงานและราคาสินค้าที่พาเหรดขึ้นราคา กระทรวงพาณิชย์ยังทำงานแบบเดิมๆอยู่หรือไม่ หากสอท.ได้เข้าไปบริหารเราจะรื้อโครงสร้างทั้งหมด และขอเสนอนโยบาย 4 โซลาร์ ได้แก่ โซลาร์รูฟท็อป สองโซลาร์ฟาร์มบนมิติโรงไฟฟ้าชุมชน โซลาร์สูบน้ำบาดาลทั่วทั้งประเทศ โซลาร์ลอยน้ำ มันถึงเวลารื้อโครงสร้างพลังงานครั้งใหญ่ ไม่ปล่อยทุนครอบงำ ไม่ปล่อยให้ทำงานแบบใช้โอกาสเกื้อกูล เติบโต แต่ข่มเหงประชาชน

เมื่อถามว่ามีข้อสังเกตว่าการขึ้นค่าไฟในช่วงนี้ เพราะจะนำไปโปะเงินที่ต้องไปชดเชยโควิด-19 นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ถ้าคิดอย่างนี้ลงเหว การเชยชดเป็นหน้าที่ ไม่ใช่ไปขึ้นค่าไฟ แล้วเอาเงินมาชดเชย ดังนั้นเรื่องนี้จะเป็นปัจจัยให้ประชาตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ปัญหานี้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img