วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกNEWSคลังชงครม. 21 ธ.ค. มอบของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คลังชงครม. 21 ธ.ค. มอบของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน

คลังเตรียมมอบของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ชงครม. 21 ธ.ค.นี้ กระตุ้นใช้จ่ายในประเทศไม่ให้สะดุด หลังเผชิญโควิด 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า  กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ซึ่งเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ โดยมาตรการหลัก คือ ช่วยการบริโภคภายในประเทศให้ไม่เกิดการสะดุด หลังจากรัฐบาลใช้เงินกู้ออกมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 

โดยมาตรการที่ออกมาเน้นกลุ่มผู้มีกำลังซื้อที่อยากออกมาจับจ่ายใช้สอย ผ่านการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะมาแทนโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ได้รับความนิยมมากนัก  

ขณะที่โครงการคนละครึ่ง เฟส 4 จะออกมาหรือไม่นั้น หลังจากคนละครึ่งเฟส 3 จะสิ้นสุดระยะเวลาโครงการสิ้นปี 2564 นั้น จะต้องรอดูอัตราการใช้จ่ายของประชาชนว่าปรับดีขึ้นมากน้อยอย่างไร ซึ่งขณะนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 

ส่วนการแพร่ระบาดโควิดของสายพันธุ์ “โอมิครอน” นั้นที่หลายฝ่ายกังวลนั้น ยังไม่มีผลวิจัยชี้ชัดว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่ปัจจุบันรัฐบาลยังคงเข้มงวดมาตรการสาธารณสุข เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และเชื่อมั่นว่าจะไม่ทำให้กิจกรรมในช่วงปลายปีนี้สะดุด แต่รัฐบาลยังต้องติดตามความรุนแรงของเชื้อไวรัสตัวนี้อย่างใกล้ชิด 

อย่างไรก็ตาม ต้นปี 65 จะมีการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่แน่นอน ซึ่งเป็นการทบทวนผู้ได้รับสิทธิทั้งหมด ทั้งรายเก่าที่เคยได้สิทธิและรายใหม่ที่จะลงทะเบียนเพิ่ม เพื่อดูแลประชาชนระดับฐานราก ขณะที่นโยบายเรื่องส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ก็จะมีความชัดเจนในปีหน้าเช่นเดียวกัน

สำหรับวิกฤตโควิดครั้งนี้ ถือว่าเศรษฐกิจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานอย่างน้อย 3 ปี นับตั้งแต่เกิดวิฤต เนื่อง จากเป็นวิกฤตที่สร้างผลกระทบกับประ ชาชนฐานราก สังคมส่วนรวม ภาคธุรกิจ ซึ่งต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 40 และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี  52 ที่ใช้เวลาเพียง 2 ปี ในการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ 

ส่วนปี 65  จีดีพีขยายตัวได้ 4% และในปี 66 จะมีแรงขับเคลื่อนจากท่องเที่ยวเข้ามาเสริม จะทำให้มีแรงฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ซึ่งแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่าน 4 เครื่องยนต์หลัก คือ  1.ส่งออก  2. เม็ดเงินจากภาครัฐที่จะเข้าสู่ระบบ 1ล้านล้านบาท มาจากเม็ดเงินจากงบประมาณลงทุนของภาครัฐ 6 แสนล้านบาท งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 3 แสนล้านบาท และอีก 1 แสนล้านบาท จะมาจากพ.ร.ก.กู้เงินฉบับเพิ่มเติม ขณะนี้เหลืออยู่ 2แสนล้านบาท

3.การลงทุนภาคเอกชน โดยปี63-64 ที่ผ่านมา ภาคเอกชนมีการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้สูงสุด เป็นอันดับ 1ในอาเซียน และ 4. การบริโภค โดยรัฐเข้าไปสร้างความมั่นใจเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img