วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกHighlightพิษ'บาทแข็ง-ขาดแคลนตู้-ค่าระวางเรือ' ส่งออกปี 64 คาดโตแค่ 3.0%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พิษ’บาทแข็ง-ขาดแคลนตู้-ค่าระวางเรือ’ ส่งออกปี 64 คาดโตแค่ 3.0%

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” คาดการณ์ ทิศทางการส่งออกปี 2564 ยังเจอโจทย์หลากหลาย คาดโต 3.0% หลังหดตัว -6.0% ในปี 2563

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในต่างประเทศรวมถึงไทยจะยังไม่คลี่คลาย แต่ความหวังในเรื่องวัคซีน มาตรการปิดเมืองที่มีความเข้มงวดน้อยลงเมื่อเทียบกับการระบาดรอบก่อนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ละประเทศที่ออกมาเพิ่มเติมส่งผลให้ส่งออกไทยในเดือนธ.ค.2563 พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 8 เดือน

โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.71 YoY จากเดือนพ.ย. 2563 ที่หดตัวร้อยละ 3.65 YoY นอกจากนี้เมื่อหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ ขยายตัวที่ร้อยละ 5.81 บ่งชี้ว่าในภาพรวมการส่งออกเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น มีรายละเอียด ดังนี้

การส่งออกสินค้าเกษตรฯและอุตสาหกรรมเกษตรในเดือนธ.ค.กลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 YoY จากที่หดตัวร้อยละ 2.4 YoY ในเดือนพ.ย. โดยสินค้าเกษตรหลายตัวยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+63.6% YoY) และยางพารา (+30.0% YoY) ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนหลักจากความต้องการในจีนที่เพิ่มสูงขึ้น หลังเศรษฐกิจจีนเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้โดยในไตรมาส 4 ขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 6.5% YoY

ด้านสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัวเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 6.7 YoY จากที่หดตัวร้อยละ 2.9 YoY ในเดือนพ.ย. โดยสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าประเภทที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิต เช่น เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก (+7.9% YoY จากเดือนพ.ย.ที่ -3.5% YoY) เคมีภัณฑ์ (12.2%YoY จากเดือนพ.ย.ที่ -4.1%YoY) รวมถึงแผงวงจรไฟฟ้า (+7.3% YoY จากเดือนพ.ย.ที่ -8.2% YoY)  กลับมาขยายตัวได้ดี ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก

cr / www.march.co.th/

แม้ว่าในเดือนธ.ค. สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มรุนแรงในหลายประเทศ ส่งผลให้บางประเทศเริ่มกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ข้ามช่วงเทศกาลปีใหม่มา โดยเฉพาะในประเทศแทบยุโรป แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่ได้กระทบต่อภาคส่งออกของไทย โดยตลาดส่งออกหลักของไทยยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น การส่งออกไปญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 14.8 YoY จากร้อยละ 5.4 YoY ในเดือนพ.ย. รวมถึงสหรัฐฯที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.7 YoY จากร้อยละ 15.4 YoY ในเดือนพ.ย. นอกจากนี้การส่งออกไปจีนกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 YoY ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

การส่งออกไทยในเดือนธ.ค.2563 ส่งสัญญาณที่ดีขึ้นได้รับปัจจัยหนุนหลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งออกจะเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัว ภาคการผลิตเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น แต่ทิศทางการส่งของไทยในระยะข้างหน้ายังคงเผชิญความไม่แน่นอนอีกหลายปัจจัยหลังจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในหลายประเทศยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ความไม่แน่นอนในเรื่องวัคซีนยังมีอยู่ ทั้งในเรื่องของการแจกจ่ายวัคซีนร่วมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วัคซีน

ทั้งนี้ ปัจจุบันการแจกจ่ายวัคซีนทั่วโลกยังทำได้เพียงร้อยละ 0.5 ของประชากรโลก บ่งชี้ว่าแม้เริ่มมีการแจกจ่ายและเริ่มการฉีดวัคซีนแล้วในหลายประเทศ แต่การจะแจกจ่ายและการฉีดจนทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่นั้น ยังคงต้องใช้เวลา ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้ายังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 ไปอีกสักระยะ

นอกจากนี้ การส่งออกของไทยยังได้รับปัจจัยกดดันจากการขาดแคลนตู้สินค้า และค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นกดดันต่อการส่งออกของไทยโดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปี 2564 ขณะที่การเข้าไปอยู่ในบัญชี Monitoring List ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ของไทยจะทำให้สถานการณ์การแข็งค่าเงินบาทเป็นโจทย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าและมีความผันผวนมากขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งนี้ ท่ามกลางปัจจัยกดดันที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินทิศทางการส่งออกไทยในปี 2564 ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img