วันพุธ, เมษายน 24, 2024
หน้าแรกHighlightข้อแตกต่างรถไฟฟ้า 'รฟม. vs กทม.' ถ้าคิดคนละแบบ-ราคาก็คนละแบบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ข้อแตกต่างรถไฟฟ้า ‘รฟม. vs กทม.’ ถ้าคิดคนละแบบ-ราคาก็คนละแบบ

“อดีตบอร์ด รฟม.” ไขคำตอบ อธิบายชัดๆ “ค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว แพงไหม…” ชี้ความต่างระหว่าง “รถไฟฟ้า” ของ “รฟม.” กับ “กทม.” คือเรื่องการลงทุน ย้ำหากอยากได้ราคาเหมือน รฟม. ก็ต้องปรับกระบวนความคิด ถ้ายังคิดคนละแบบ ราคาก็ต้องคนละแบบ

เมื่อวันที่ 23 ม.ค.64 นายไพโรจน์ สัตยสัณฑ์สกุล ที่ปรึกษาบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) ในฐานะ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โพสต์ข้อความแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว อธิบายเรื่อง “ค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว แพงไหม…” มีเนื้อหาน่าสนใจดังนี้…”เพื่อนพ้องน้องพี่ แจ้งมาว่า เคยเป็นกรรมการ รฟม.มาหลายปี ช่วยตอบที …คงต้องอ่านยาวๆล่ะ แต่จะพยายามเล่าแบบง่ายๆ ว่า ใครสนใจเรื่องนี้ต้องฟัง concept ก่อนว่า…

กิจการรถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะ หรือ Public Service พูดง่ายๆ ก็คือ กิจการนี้มีผลประโยชน์ ทั้งทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ การเงินคงไม่ต้องพูดอีก สำหรับทางเศรษฐศาสตร์คือ ชาวบ้านรถไม่ติด ประหยัดเวลา ที่ดินมีค่ามากขึ้น นำเข้าน้ำมันน้อยลง มีผลบวกเศรษฐกิจ

กิจการรถไฟฟ้าเป็นโครงการร่วมทุนรัฐและเอกชน หรือ PPP ร่วมทุนกันแล้ว หลักง่ายๆ ก็ต้องแบ่งผลประโยชน์กัน … ผลประโยชน์ทางการเงิน เอกชนก็รับไป … แต่ต้องพอสมควร ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ รัฐก็รับไป ถ้ารัฐร่วมทุนแบบไม่จ่ายเงิน แล้วเผือกอยากได้ผลประโยชน์ทางการเงินด้วย ความฉิบหายก็จะตกแก่ชาวบ้านตาดำๆ ที่ไปใช้บริการ สุดท้ายแพงไป ชาวบ้านสู้ไม่ไหวก็ตายกันหมด

รถไฟฟ้าของ รฟม. หรือ MRT รัฐลงทุนงานโยธาทั้งหมด เอกชนเดินรถ ผลประโยชน์ก็ลงตัวทั้งการเงินและเศรษฐศาสตร์ ค่ารถไฟฟ้าตลอดสายก็พอดี พอรับได้ ข่าวร้ายไม่มี

รถไฟฟ้าของ กทม. กทม.อยากเป็นเจ้าของโครงการ ไม่มีเงินลงทุนอย่าง รฟม. อยากได้ส่วนแบ่งกำไร ส่วนแบ่งรายได้ … ค่าโดยสารก็แพงกว่า MRT แน่นอน … ไอ้ส่วนแบ่งรายได้นี่ ร้ายน่ะ อาจเป็นภาษีท้องถิ่นโดยอ้อมที่ซ้ำซ้อน ฟ้องร้องทางปกครองก็น่าจะพอได้

สุดท้าย…มีเรื่องซ้ำเติมอีก ต้นทุนค่าโดยสาร ที่สำคัญคือ เงินลงทุนพร้อมดอกเบี้ย ของ MRT ไม่มีต้นทุนตัวนี้

ทางกลับกัน … กทม.ใส่เป็นต้นทุนโครงการเข้าไป ไปโดนอีกเด้ง ตามมาตราฐานทางบัญชี … งานโยธาที่ใช้งานได้จริงเป็น 100 ปี ถูกตัดค่าเสื่อมเป็น ค่าความนิยมตามอายุสัมปทาน 30 ปี … ก็เลยแพงซ้ำซ้อนอีก คราบ

สรุปง่ายๆ … ถ้าอยากได้ราคาเหมือน MRT ก็ปรับกระบวนการความคิดเป็นแบบ MRT เสีย … ชาวบ้านก็จะได้ Through Service ที่ราคาเดียวทั้งระบบ คราบ… คิดคนละแบบ ราคาก็คนละแบบ คราบ 555″

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img