วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกHighlightส่งออกร่วง! ฉุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ดิ่งต่ำสุดในรอบ 34 เดือน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่งออกร่วง! ฉุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ดิ่งต่ำสุดในรอบ 34 เดือน

‘สศอ.’ เผยดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. ดิ่งสุดรอบ 34 เดือน หลังส่งออกของไทยชะลอตัว ต้นทุนพุ่ง ทั้งค่าพลังงาน-วัตถุดิบ-ดอกเบี้ยขาขึ้น ชี้สัญญาณพ.ค.ยังคงเฝ้าระวัง

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเม.ย.66 อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัว 8.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันนับตั้งแต่ต.ค.65 และเป็นค่าดัชนีฯที่ต่ำสุดในรอบ 34 เดือนนับตั้งแต่ก.ค.63

ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) เม.ย. 53.82% ส่งผลให้ MPI 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.66) อยู่ระดับ 96.87 หดตัว 4.7% สศอ.จึงปรับประมาณการตัวเลข MPI และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภาคอุตสาหกรรมปี 2566 จากเดิมอยู่ในกรอบโต 1.5-2.5 % เหลือขยายตัวเพียง 0.0-1% จากปีก่อน

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่ทำให้ค่า MPI เดือนเม.ย.66 ลดลงเนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาว ซึ่งเป็นปกติที่ค่าดัชนีฯจะลดลงรวมถึง CapU แต่สัญญาณรุนแรงมากขึ้นมาจากภาวะการส่งออกของไทยที่ชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลกต่อเนื่องทำให้ 4 เดือนแรกของปีนี้ MPI ยังคงลดลงสอดรับกับทิศทางการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อในหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยลดลง

“ภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัวและปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้าในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าและต้นทุนทางการเงินจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้ปรับลดลง และมีผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ในเดือนพ.ค.66 คาดการว่าMPIน่าจะขยับขึ้นเล็กน้อย”นางวรวรรณ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปี 2566 ยังคงส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคและการท่องเที่ยว อีกทั้งการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องจับตาดูการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผลผลิตการเกษตร อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อ MPI เม.ย.66 ได้แก่ อุตฯน้ำตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.15% จากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.87 ตามปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเพิ่มขึ้น มอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.58% เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มากขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น เป็นต้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img