วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกHighlight''สมหมาย''ชี้ศก.ไทยยุคโควิดใน'ภาวะหลุมรายได้สุดลึกกับรัฐบาลสุดป้อแป้'
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”สมหมาย”ชี้ศก.ไทยยุคโควิดใน’ภาวะหลุมรายได้สุดลึกกับรัฐบาลสุดป้อแป้’

”อดีตรมว.คลัง’’มองสถานการณ์โควิด 19 กระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรง เกิดหลุมรายได้ใหญ่และลึก ขณะที่รัฐบาลป้อแป้ แนะต้องหาเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 18 ส.ค.64 นายสมหมาย ภาษี อดีตรมว.คลัง โพสต์เหซบุ๊ก Sommai Phasee – – สมหมาย ภาษี เรื่อง  “หลุมรายได้สุดลึกกับรัฐบาลสุดป้อแป้” โดยระบุว่า  ได้ฟังคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พูดในหัวข้อ “จับอาการเศรษฐกิจ สร้างทางออกวิกฤตไทย” ในงาน Meet the Press เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้ชี้ให้เห็นว่าไทยถูกกระทบจากโควิด 19 หนักกว่าใครในภูมิภาค และจะฟื้นตัวช้ากว่าเขาด้วย เพราะไทยพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในเอเชีย คือร้อยละ 11.5 ของ GDP ต้องใช้เวลาอีก 3 ปี จากนี้กว่าจะฟื้นกลับสู่ระดับก่อนโควิด ขณะที่ในเอเชียโดยรวมตอนนี้เขาได้ฟื้นเหนือระดับก่อนโควิดแล้ว อนิจจา ประเทศไทย !

ผมขอสรุปสาระให้ฟังอย่างสั้นๆดังนี้ว่า ผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยที่รุนแรงมาก คือ เกิดหลุมรายได้ขนาดใหญ่และลึกในช่วงปี 2563 – 64 ประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท การจ้างงานถูกกระทบรุนแรงมาก มีผู้ว่างงานหรือเสมือนว่างงานถึง 3.4 ล้านคน บวกกับผู้ว่างงานระยะยาว 1.7 แสนคน บวกกับผู้ว่างงานที่ยังไม่เคยเข้าตลาดแรงงาน 2.9 แสนคน รวมแล้วเป็น 3.86 ล้านคน ผู้ว่างงานนี้ส่วนหนึ่ง 1.6 ล้านคน ได้ย้ายกลับไปภูมิลำเนาที่ไม่รู้จะหางานใดทำ โอ้โฮ มากอย่างไม่เคยเห็น

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ภาครัฐก็ได้ใช้เงินเยียวยาให้คนยากจน คนแก่ คนพิการ ไปมากพอควร มิฉะนั้น จะยิ่งร้ายไปกว่าที่เห็น อีกอย่างแม้การส่งออกจะดีขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่สามารถมาเติมหลุมรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำได้

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธปท.

ท่านผู้ว่า ธปท. ได้พูดถึงเหตุและผลอย่างละเอียดยิบ ท่านได้สรุปแนวทางที่จะต้องรีบเข้าไปช่วยเหลือเพื่อพยุงเศรษฐกิจอย่างรีบด่วน เพราะเม็ดเงินที่มีอยู่ของภาครัฐในขณะนี้ไม่เพียงพอที่จะไปกลบหลุมรายได้ให้ตื้นขึ้นพอที่จะรับได้ จึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นทางการคลัง เพื่อช่วยให้รายได้และฐานะทางการเงินของประชาชนและ SMEs กลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ ธปท. ได้วิเคราะห์ด้านความเสี่ยงทั้งหมดที่เราควรมองและที่บริษัทจัดอันดับเครดิตจะมอง ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อภาระหนี้สาธารณะที่ต้องเพิ่มสูงขึ้นจาก 60 % ของ GDP เป็น 70 % เป็นสิ่งที่พอรับได้เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่จะได้ และได้วิเคราะห์ผลได้และเสียของมาตรการเดิมที่ทำมาแล้วเกือบสองปี ซึ่งกล่าวได้ว่าครบถ้วนมากจริงๆ

แล้วท่านผู้ว่า ธปท. ก็ได้สรุปว่า “ในเบื้องต้น เม็ดเงินจากภาครัฐที่เติมเข้าไปในระบบควรมีอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของ GDP” ให้ชัดๆ สรุปได้ว่า ท่านเห็นว่าควรใช้มาตรการด้านการคลังมากกว่าด้านการเงินซึ่งเป็นมาตรการของธปท. และมาตรการด้านการคลังอีก 1 ล้านล้านบาทนี้ ไม่มีทางเลือกต้องมาจากการกู้เงินเพิ่มของรัฐบาล คือ พูดง่ายๆรัฐบาลต้องออกพระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก. เงินกู้ชุดใหญ่ออกมาอีกครั้งหนึ่ง

พูดกันตรงๆนะครับ ผมเองเห็นด้วยกับข้อเสนอของท่านผู้ว่า ธปท. ที่กล่าวข้างต้นเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นแหละ คือต้องหาเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท ส่วนอีกครึ่งที่ผมไม่เห็นด้วยมี 2 เหตุผล ดังนี้ครับ

ประการที่ 1 เห็นว่า ธปท. เอาตัวรอดมากไปหน่อยสำหรับสถานการณ์วิกฤตที่เห็นจะๆอยู่ตรงหน้า ด้วยสถานะทางการเงินระหว่างประเทศที่มั่นคงมาก มั่นคงขนาด ธปท. ยอมให้นักลงทุนไทยใหญ่ๆขนเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากมายได้มานานแล้ว แต่ ธปท. ยังตั้งการ์ดสูงดูคนยากคนจนทั้งประเทศดิ้นรนอยู่ได้อย่างไร ที่ ธปท. ช่วยฟื้นฟูมาแล้ว เช่น มาตรการทางการเงินที่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ SMEs 2 ปีแรก และอื่นๆประดาที่ได้จัดไป กล่าวได้ว่า ธปท. แทบไม่ต้องควักกระเป๋าออกมาเลย ตรงกันข้าม รัฐบาลยังต้องจัดเงินไปอุดหนุนดอกเบี้ยส่วนที่ลดให้ SMEs จากงบประมาณทั้งนั้น ซึ่งต้องถือว่ารัฐบาลได้เอามาตรการทางการคลังไปช่วยมาตรการทางการเงินของ ธปท. อีกต่างหาก

สถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้ายจนเกิด “หลุมรายได้” ที่ใหญ่และลึกสุดๆ และยังได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย ทั้งๆที่ ธปท. รู้ดีว่าวิกฤตหนนี้ไทยได้รับผลกระทบหนักกว่าเพื่อนในภูมิภาค ซ้ำยังจะฟื้นตัวช้ากว่าเขามากด้วย จะเป็นเพราะรัฐบาลเราบริหารจัดการเชื่องช้าและซื่อบื้อก็ตาม แต่ ธปท. ที่เป็นสถาบันอิสระกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศกลับทำตัวอยู่ในกระดอง เดินชูคอตามแนวของเพื่อนที่ฟื้นตัวเร็วกว่าเราทุกย่างก้าวได้อย่างไร จะรอให้เกิดปัญหากระทบเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Reserves) แบบวิกฤตต้มยำกุ้งก่อนแล้วค่อยยื่นมือเข้ามาช่วยหรือไงครับ ผมอยากเห็น ธปท. สมัยท่านผู้ว่าป๋วย อึ๊งภากรณ์มากเลยครับ

ประการที่ 2 ในสถานการณ์การเมืองของไทยขณะนี้ คนไทยทุกคนต่างก็รู้ดีว่า เราไม่อาจพึ่งพานักการเมืองไทยในยามวิกฤตหนักได้เหมือนประเทศอื่น ดูประเทศมาเลเซียก็แล้วกัน นายกรัฐมนตรีเขาได้ลาออกไปแล้ว ยิ่งของไทย

ตอนนี้รัฐบาลของเราป้อแป้เหลือกำลัง ที่ผ่านมาร่วม 2 ปี ทั้งๆที่รู้และก็ได้กู้เงินแบบพิเศษมาใช้ 2 ครั้งแล้ว

รัฐบาลเคยทำมาตรการหลักที่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างชัดเจนบ้างไหม ทำโครงการกระตุ้นจริงๆเป็นบ้างไหม ไม่ใช่ทำแต่โครงการกระตุ้นการบริโภคลมๆแล้งๆ เพื่อความเป็นอยู่แบบชิวๆ ในภาวะวิกฤต ส่วนการจัดเงินไปช่วยคนจนด้านสวัสดิการสังคมและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคร้ายนั้น ประเทศไหนเขาก็ต้องทำกัน

บอกได้เลยว่า ถ้าขืนเอามาตรการด้านการคลังด้วยการกู้เงินมาอีก 1 ล้านล้านบาท ให้รัฐบาลที่กำลังป้อแป้นี้ใช้ มันก็จะเสียของ ไว้รอรัฐบาลใหม่เถอะครับ.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img