วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกHighlight“อาคม”ชี้เป้า“รัฐ-เอกชน” ปลดล็อกปัญหาโลจิสติกส์ ดันส่งออกโต 10%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อาคม”ชี้เป้า“รัฐ-เอกชน” ปลดล็อกปัญหาโลจิสติกส์ ดันส่งออกโต 10%

“อาคม” หนุน รัฐ-เอกชน ร่วมมือ ปลดล็อกปัญหาโลจิสติกส์ เสริมสภาพคล่อง ดันส่งออกโต 10 % ขับเคลื่อนจีดีพีไทย ชี้ท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ด้านผู้ส่งออกแนะเปิดตลาดการค้าใหม่ ใช้เอฟทีเอ หาเส้นทางขนส่งใหม่แทนขนส่งทางเรือ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง”นโยบายทางการเงินการคลังกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2565” ในการประชุมสามัญประจำปี ของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)ว่า คาดการณ์ว่าอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีไทยปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5 % ซึ่งเชื่อว่าหากรัฐบาลและภาคเอกชนร่วมมือกันก็น่าจะ เพิ่มอัตราการเติบโตได้อีกอย่างน้อย 0.1% – 0.3%

ทั้งนี้หอการค้าอังกฤษยังมองว่าเศรษฐกิจของไทยแม้จะเจอปัญหาสงครามรัสเซียและยูเครน ราคาพลังงาน เศรษฐกิจไทยยังโตได้ 4 % โดยในการส่งออก ยังเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2565 โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา การส่งออกขยายตัวกว่า 17 % โดย 2 เดือนที่ผ่านมา การส่งออกก็ขยายตัวได้กว่า 12% ซึ่งหากผลักดันให้ปีนี้สามารถเติบโตให้ได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5% เป็น 10% นั้น ก็จะช่วยในแง่ภาพรวมของเศรษฐกิจ

FB / สถานีข่าวกระทรวงการคลัง

“ การส่งออกทั้งปีขยายตัว 10 % เป็นเรื่องที่ยาก  แต่หากช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องโลจิสติกส์ และสภาพคล่องของผู้ประกอบการได้ ก็น่าจะผลักดันการส่งออกได้มากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่ที่คำสั่งซื้อและตลาดคู่ค้าของไทยขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหน แต่อยากให้ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกันเพิ่มอัตราการเติบโต เพื่อทำให้การส่งออกทั้งปี 65 โตถึง 10% ให้ได้เพื่อสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับนักวิเคราะห์จากภาคสถาบันการเงินที่มองว่าส่งออกไทยปีนี้จะเติบโตแค่ 5% “

ส่วนของการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยอีกตัวหนึ่งก็ยังไม่ฟื้นเต็มที่ ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ 7 ล้านคนแต่ช่วง 3 เดือนนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทามาไทยแล้วเพียง 4 แสนคนดังนั้นถ้าหากตัวเลขอยู่ในระดับนี้ ทั้งปีจะได้ 1.6 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งนโยบายของรัฐบาลหลังจากนี้เมื่อรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น ก็จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากขึ้น แม้หลายประเทศยังคงจำกัดเรื่องของการเดินทาง แต่ขณะนี้ทางฝั่งยุโรปก็ได้ผ่อนปรนในเรื่องของการเดินทางมากขึ้นแล้ว

ขณะที่รายได้จากภาครัฐ ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ งบลงทุน โดยเฉพาะของรัฐวิสาหกิจเองก็ทำได้ดี เมื่อเทียบกับปี 2564 ส่วนการลงทุนของภาคเอกชน แม้หลายส่วนจะมองว่าภาคเอกชนจะมีการชะลอการลงทุนเนื่องจากความไม่มั่นใจสถานการณ์สงครามรัสเซียและยูเครน แต่ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา ภาคเอกชนก็ได้มีการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจหรือลงทุนใหม่แล้ว ผ่านการออกหุ้นกู้ เป็นต้น

ทั้งนี้การส่งออก การท่องเที่ยว การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในด้านของปริมาณของปี 65 แต่อาจมีปัญหาในด้านราคา โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้อนุมัติมาตรการช่วยค่าครองชีพขอประชาชนแล้วเป็นเวลา 3 เดือน แต่ยังต้องดูในส่วนของราคาสินค้า ว่ากระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปกำกับและควบคุมราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน

สำหรับเงินเฟ้อนั้น กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตั้งเป้าหมายกรอบเงินเฟ้อไว้ที่ 1-3% แต่ราคาพลังงานที่สูงขึ้นก็ทำให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่รัฐก็พยายามช่วยเต็มที่ ซึ่งทางหอการค้าอังกฤษก็ยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะไม่สูงมากนัก ยกเว้นหากราคาน้ำมันดิบดูไบมีการปรับราคาไปสูงถึง 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งยังไม่มีมุมมองว่าจะขึ้นไปถึงระดับนั้นได้

อย่างไรก็ตามในอนาคตเราจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกใน 3 เรื่องคือ1. เทคโนโล ยีดิจิตอล ซึ่งต้องนำมาช่วยลดขั้นตอน ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ภาคเอกชนเองก็ต้องนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ด้วย 2.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลก นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือBCG ที่ทุกคนต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับกระแส 3.การเตรียมพร้อมรับกับสังคมผู้สูงอายุ

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สรท. กล่าวว่า การตั้งเป้าหมายส่งออกเติบโต 10% ของรมว.คลัง เป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ส่งออกของไทย เนื่องจาก สรท.คาดว่าส่งออกปีนี้โต 5% เนื่องจากส่งออกของไทยในปีนี้ต้องเผชิญกับความผันผวน ความไม่แน่นอน ที่ซับซ้อนและคลุมเครือตั้งแต่การระบาดใหญ่ของ โควิด-19 และสงครามรัสเซียและยูเครนทำให้สถานการณ์แย่ลงในปีนี้

โดยผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว และต้องทำตลาดออนไลน์มากขึ้น และต้องมีกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น ประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต และโอมาน รวมทั้งการใช้ข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอและมินิเอฟทีเอ เพื่อเป็นแต้มต่อในการส่งออก และยังต้องติดตามความคืบหน้าการเจรจาซีพีทีพีพีด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img