วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
หน้าแรกHighlightคลังถังแตกปัดฝุ่นเก็บภาษีลาภลอย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คลังถังแตกปัดฝุ่นเก็บภาษีลาภลอย

“คลัง” สั่ง “สศค.” ศึกษาภาษีลาภลอย หลังที่ผ่านมายกร่างกฎหมายแล้ว แต่ไม่ได้รับการสานต่อ ชี้ที่ดินบริเวณใกล้เคียงโครงการของรัฐ ปรับราคาขึ้น ควรแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐ

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะกลับมาผลักดันกฎหมายภาษีลาภลอย หรือ Windfall Tax อีกครั้ง หลังจากในอดีตที่ผ่านมา ได้มีการยกร่างขึ้นแล้ว และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติร่างกฎหมายไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการสานต่อ ซึ่งได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปศึกษาและพิจารณาใหม่อีกครั้ง

“แนวคิดของร่างกฎหมายดังกล่าว ผมก็มีส่วนในการผลักดันเมื่อหลายปีที่แล้ว ถือว่าเป็นกฎหมายที่มองไปในอนาคต ว่า เมื่อเมืองมีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้า ,ทางด่วน เป็นต้น ทำให้ราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงโครงการของรัฐ ปรับราคาขึ้น ก็ควรแบ่งผลประโยชน์ส่วนหนึ่งมาให้กับรัฐ”

อย่างไรก็ตาม การที่จะนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ จะต้องพิจารณาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอให้พิจารณาภาษีดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงนั้น คนละส่วนกับกระทรวงการคลัง และเป็นเรื่องของกระทรวงพลังงานที่จะต้องพิจารณา โดยเข้าใจว่าฐานอำนาจในการดำเนินการลักษณะเช่นนี้ ก็มีอยู่บ้างแล้ว อาจจะดำเนินการได้เลย ซึ่งกระทรวงพลังงานก็พิจารณาอยู่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ครม.เมื่อเดือนก.ค. 2561 ได้อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (Windfall Tax) โดยกำหนดเพดานภาษีไว้ไม่เกิน 5 %ของมูลค่าที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ตามแนวรถไฟฟ้า,รถไฟความเร็วสูง,สนามบิน,ท่าเรือ หรือโครงการสาธารณูปโภคตามที่กฎหมายกำหนด

โดยวัตถุประสงค์ของร่างกฎหมายนี้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ ที่ส่งผลให้ราคาที่ดินในบริเวณรัศมีโครงการสาธารณูปโภคปรับราคาสูงขึ้น

สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีนี้ จะเป็นทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่มีที่ดินตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กม.จากตัวสถานีขึ้นลง ไม่ว่า จะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง,รถไฟรางคู่,รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน,ท่าเรือ ,สนามบิน โครงการทางด่วนพิเศษ และโครงการอื่นๆที่จะกำหนดในกฎกระทรวง โดยภาษีตัวนี้ จะเก็บเฉพาะ ราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากผลของโครงการสาธารณูปโภค โดยหักตัวมูลค่าอาคารออกไป

ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษี จะแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คือ ช่วงตั้งแต่วันลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคนั้นๆ จนถึงวันตรวจรับมอบโครงการ หรือเรียกว่าเป็นช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค การซื้อขายที่ดินในช่วงนี้ จะถูกจัดเก็บภาษี windfall Tax ในทุกครั้งที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ โดยเก็บภาษีเฉพาะมูลค่าที่ดิน ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยใช้ฐานราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ณ วันที่ได้รับที่ดินแปลงนั้นมา กับราคาประเมินที่ดินในช่วงระหว่างก่อสร้างโครงการนั้น (ช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค)

ช่วงที่สอง คือ ช่วงที่ก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคนั้นแล้วเสร็จ จะเก็บภาษีเพียงครั้งเดียว ( one Time) ไม่ได้เก็บทุกครั้งที่เปลี่ยนมือ โดยเก็บภาษีจากมูลค่าที่ปรับเพิ่มขึ้น เฉพาะที่ดิน หรือห้องชุดเฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น มูลค่าที่ดินที่ต่ำกว่านี้ไม่มีภาระภาษี และยกเว้นที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ดินเกษตรกรรม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img