วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกNEWS“กกพ.”เลื่อนแถลงข่าวปรับขึ้นค่าไฟครั้งที่ 2
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กกพ.”เลื่อนแถลงข่าวปรับขึ้นค่าไฟครั้งที่ 2

“กกพ.” เลื่อนแถลงข่าวปรับขึ้นค่าไฟฟ้าเป็นรอบเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 เป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไฟเขียวขึ้นค่าไฟ 4.72 บาทต่อหน่วย เหตุรัฐให้ไปหามาตรการเยียวยาเพิ่มเติม ขณะที่กฟผ.แบกรับภาระต้นทุน 1.7 แสนล้านบาท

รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงานแจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เลื่อนแถลงข่าวการชี้แจงตอบข้อซักถามค่าไฟฟ้าผันแปร รอบเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 โดยเป็นการแจ้งก่อนเวลาแถลงจริงเล็กน้อย ซึ่งการเลื่อนแถลงข่าวดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 หลังจากเดิมกำหนดแถลงข่าวตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.พราะมีกระแสข่าวความไม่พอใจของรัฐบาลในการบริหารค่าไฟของ กกพ.เตรียมขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ (ก.ย.-ธ.ค.65) เป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์ต่อหน่วย

จากปัจจุบัน (พ.ค.-ส.ค.65) ค่าเอฟทีอยู่ที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน 3.79 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมที่ประชาชนต้องจ่าย 4.72 บาทต่อหน่วย ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงและเงินบาทอ่อนค่า

แม้แนวทางนี้ถือเป็นอัตราต่ำสุดเพราะยังไม่มีการคืนหนี้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกรับต้นทุนเชื้อเพลิงมาตั้งแต่ปี 2564 และการรับภาระงวดใหม่นี้จะทำให้กฟผ.แบกรับภาระประมาณถึง 1.7 แสนล้านบาท

โดยกกพ.ได้แจ้งมติการประชุมเคาะเอฟทีเมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ให้ 3 การไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ตามขั้นตอนทางกฎหมายที่ต้องแจ้งก่อนวันปรับเอฟทีจริงเป็นเวลา 30 วันเนื่องจากรัฐบาลอยากให้กกพ.ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและให้มาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า การยกเลิกการแถลงข่าวอย่างกะทันหัน ทั้งที่มีการเตรียมพร้อมไว้ทุกอย่างแล้ว เนื่องจากช่วงเช้าของวันที่ 5 ส.ค. ทาง กกพ.ได้รับคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูงในทำเนียบรัฐบาล ให้เลื่อนการแถลงข่าวออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าทาง กกพ.จะหามาตรการเยียวยาการปรับขึ้นค่าไฟในครั้งนี้ก่อน จากที่ผ่านมาทางผู้บริหารระดับสูงในทำเนียบรัฐบาล พยายามให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าไฟ หรือให้ลดอัตราการปรับขึ้น ซึ่งมีการประชุมร่วมกันตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ทาง กกพ. ยืนยันชัดเจนว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากจะเป็นภาระหนักให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ต้องแบกหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท จะส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต

ทั้งนี้ในทางกฎหมายของ กกพ. ณ ปัจจุบันนี้การปรับขึ้นค่าไฟงวดใหม่ 68.66 สตางค์ต่อหน่วย มีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. ตามที่ กกพ.ได้แจ้งไปยัง 3 การไฟฟ้าแล้ว แต่อาจจะมีมาตรการเยียวยาออกมาช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มๆ ยกเว้นทาง กกพ.จะถูกบีบหนักจากผู้บริหารระดับสูงในทำเนียบรัฐบาล ให้เลื่อน หรือให้ลด ต้องมีการประกาศกลับมติใหม่อีกครั้ง ซึ่งยังไม่เคยเกิดขึ้นในการประกาศการพิจารณาค่าเอฟทีของ กกพ. จึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้วกรณีนี้จะจบลงอย่างไร

สำหรับโจทย์ที่รัฐบาลต้องการมี 2 แนวทางคือ 1.อยากให้กกพ.พิจารณาแนวทางต่ออายุมาตรการดูแลผู้ใช้ไฟที่ไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มเปราะบางถึงสิ้นปี โดยผู้ใช้ไฟฟ้าดังกล่าวที่จ่ายค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าจากการลดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่ 0.2338 บาทต่อหน่วย (จ่ายเท่าอัตราเดิมของเดือนมกราคม-สิงหาคม 2565) ซึ่งเดิมมาตรการที่ดำเนินอยู่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ แต่ครั้งนี้ไม่มีเม็ดเงินให้ กกพ.จึงไม่สามารถดำเนินการให้ได้

2.หากไม่สามารถดำเนินการได้เพราะไม่มีงบประมาณ อยากขอให้กกพ.พิจารณาแนวทางพิจารณาสูตรคิดคำนวณค่าไฟใหม่ ภายใต้เกณฑ์ใครใช้ไฟน้อยให้ค่าไฟอัตราต่ำ ใครใช้ไฟมากให้จ่ายค่าไฟสูง แต่กกพ.ยังไม่สามารถทำได้ทันที เพราะต้องใช้เวลาดำเนินการหากจะปรับสูตร อาจต้องเปิดรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสีย และอาจต้องเสนอเข้าคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จึงไม่สามารถปรับสูตรให้ได้ทันที

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img