วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกHighlight''ปตท.สผ.''ลุ้นลงนามเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณระยะที่ 2 ได้ใน1-2 เดือน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”ปตท.สผ.”ลุ้นลงนามเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณระยะที่ 2 ได้ใน1-2 เดือน

ปตท.สผ. คาดลงนามเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณระยะที่2 กับเชฟรอนภายใน 1-2 เดือน หวังติดตั้ง 8 แท่นผลิตได้ก่อนช่วงมรสุมต.ค.นี้ คาดใช้เงิน 200 ล้านเหรียญฯ รับเข้าพื้นที่ล่าช้าทำก๊าซฯหาย 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พร้อมผลิตก๊าซฯ จากแหล่งบงกช และอาทิตย์ทดแทน 

นางสาวเมธ์ลดา ชยวัฒนางกูร ผู้จัดการอาวุโสในฐานะผู้จัดการโครงการแปลงสำรวจหมายเลข G1/61 (แหล่งเอราวัณ)  บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ชี้แจงรายละเอียดการเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณผ่านทางออนไลน์ ว่า การเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณเพื่อดำเนินการผลิตปิโตรเลียมต่อจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผู้รับสัมปทานรายเดิมนั้นทางปตท.ผส.คาดหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงและลงนามสัญญาเข้าพื้นที่ในระยะที่ 2 ได้ภายใน 1-2 เดือน หลังจากที่ได้ลงนามสัญญาเข้าพื้นที่ระยะที่ 1 ไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ซึ่งเป็นการเข้าไปสำรวจพื้นที่ และดำเนินการก่อสร้างแท่นจำนวน 8 แท่นผลิตปิโตรเลียมแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2562

ปัจจุบันได้มีการเจรจากับเชฟรอนฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อลงนามสัญญาเข้าพื้นที่ในระยะที่ 2 และเข้าไปดำเนินการติดตั้งแท่นผลิต จากเดิมทาง ปตท.สผ. กำหนดเข้าพื้นที่ติดตั้งแท่นผลิตในไตรมาส 1/2564 แต่การเจรจาในช่วงที่ผ่านมาไม่เกิดผลสำเร็จจึงส่งผลให้ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตามหากสามารถลงนามเข้าพื้นที่ระยะที่ 2 ได้ภายใน 1-2 เดือน ปตท.สผ.ก็จะเร่งดำเนินการติดตั้ง 8 แท่นผลิตปิโตรเลียมทันทีก่อนเข้าสู่ช่วงมรสุมในเดือนตุลาคมนี้ แต่ถ้าหากไม่สามารถลงนามสัญญาเข้าพื้นที่ระยะที่ 2 ได้ก่อนช่วงมรสุมก็ต้องไปดำเนินการติดตั้งแท่นผลิตในช่วงหลังมรสุม คือ ช่วงประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนในปี 2565

โดยการดำเนินการติดตั้งแท่นผลิตจำนวน 8 แท่นนั้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งในจะดำเนินติดตั้งแท่นผลิตเพิ่มมากกว่า 8 แท่นหรือไม่นั้นในขณะนี้ปตท.สผ.อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งการติดตั้งแท่นผลิตนั้นจะต้องดำเนินการติดตั้งเพิ่มต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซฯ ได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้เร็วขึ้น โดยในเบื้องต้นประเมินจะใช้ระยะเวลา 1 ปีครึ่งก็จะสามารถรักษาปริมาณการผลิตก๊าซฯได้ในระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหลังจากดำเนินการผลิตไปแล้วถึงจะประเมินได้ว่าจะสามารถผลิตก๊าซฯ ได้มากกว่า800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือไม่

อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มดำเนินการติดตั้งแท่นผลิตแล้วเสร็จขั้นตอนต่อไปก็ต้องดำเนินการเจาะหลุมบนแท่น โดยต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปีถึงจะเริ่มทดสอบการผลิต และเริ่มการผลิตได้ ซึ่งหากทางปตท.สผ.สามารถเข้าไปติดตั้งแท่นผลิตได้ก่อนจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในวันที่ 23 เมษายน 2565 ก็จะช่วยให้เริ่มดำเนินการผลิตได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้การเข้าพื้นที่ล่าช้ากว่าแผนนั้นการเริ่มต้นผลิตก๊าซธรรมชาติในปีแรกเบื้องต้นประเมินว่าจะมีความสามารถในการผลิตก๊าซฯ ได้ในระดับ 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งผลให้ก๊าซฯ จะหายไปประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากเงื่อนไขสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ขั้นต่ำที่กำหนดไว้อยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้การผลิตไม่เป็นไปตามสัญญา

อย่างไรก็ตามในส่วนของก๊าซฯ ที่หายไปนั้นในเบื้องต้นทางปตท.สผ.คาดว่าจะเร่งผลิตก๊าซฯ จากแหล่งบงกช และแหล่งอาทิตย์มาชดเชยในปริมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และที่เหลือเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เข้ามาชดเชยประมาณ  โดยปัจจุบันในแหล่งบงกชนั้นมีอัตราการผลิตขั้นต่ำอยู่ในระดับ 870 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีอัตราการผลิตสูงสุดที่ 940 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนแหล่งอาทิตย์ มีอัตราการผลิตที่ 220 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img