วันพุธ, เมษายน 24, 2024
หน้าแรกNEWSทะเลไทยไร้ขยะ..ความคิดที่ท้าทาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ทะเลไทยไร้ขยะ..ความคิดที่ท้าทาย

แม้ทุกทุกคนจะมองว่า เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้…แต่ GC กลับมองว่า “ขยะไม่ใช่ผู้ร้าย” ที่จะเดินทางลงทะเลเอง มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่พาขยะลงไป แล้วทำไมเราถึงจะพาขยะออกมาจากท้องทะเลไม่ได้

ถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี 2560 หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ โครงการ ‘Upcycling the Oceans, Thailand ‘ (UTO) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 3 องค์กรได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มูลนิธิอีโคอัลฟ์ ประเทศสเปน และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ที่มุ่งมั่นในการจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย โดยการจัดเก็บและแปรรูปขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าในรูปแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ พร้อมกับการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม

GC เริ่ม โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ครั้งแรกที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เพื่อทำให้ทุกคนและนักท่องเที่ยวรู้ แล้วชวนกันเก็บขยะทั้งบนชายหาดและใต้น้ำ ทั้งนี้ขยะที่พบไม่ได้มีแค่ขวดพลาสติก แต่ยังมียางรถยนต์ เศษแห อวน ฯลฯ จากนั้นได้สานต่อโครงการนี้ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงของประเทศ มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักดำน้ำ ชุมชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวรวมถึงประชาชนทั่วไป

ผู้ร่วมโครงการจะได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมตั้งแต่การเก็บขยะ การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างไลฟ์สไตล์แบบ GC Circular Living เพื่อลดปัญหาขยะในท้องทะเลและชายฝั่ง สำหรับขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลที่เก็บได้จะผ่านบริหารจัดการอย่างถูกวิธี

โดยบางส่วนนั้น GC ได้นำไปผ่านกระบวนการอัพไซคลิง (Upcycling) ในขั้นตอนต่างๆ คือ 1.การเก็บและคัดแยกขยะพลาสติก 2.นำขวดมาตัดเป็นชิ้นแล้วนำไปปั่นเป็นเส้นใย 3.ปั่นเป็นเส้นด้าย 4.นำเส้นด้ายมาทอเป็นผืนผ้า 5.ออกแบบตัดเย็บจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า ได้แก่ เสื้อยืด กระเป๋าเป้ และกระเป๋าถือ Tote bag

ซึ่งนวัตกรรมนี้ช่วยเปลี่ยนขวดพลาสติกใช้แล้วจำนวน 14 ขวดให้เป็นเสื้อยืด 1 ตัว หรือกระเป๋าเป้ 1 ใบ ส่วนถุงพลาสติกจำนวน 43 ถุงก็สามารถแปรรูปเป็นกระเป๋าถือ Tote bag ได้ 1 ใบ และปัจจุบันนี้  GC ยังเดินหน้าแปรรูปพลาสติกเป็นวัตถุดิบและพัฒนาออกแบบเป็นสินค้าแฟชั่นที่มีความหลากหลายและมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์สามารถเลือกซื้อและชมสินค้าได้ที่ GCcircularlivingshop : https://gccircularlivingshop.com/ เป็นร้านค้าขายสินค้าออนไลน์เพื่อสนับสนุนการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน  (Circular Economy)

นับแต่มี โครงการ ‘Upcycling the Oceans, Thailand’ (UTO)  และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องประมาณ 3 ปีแล้ว (มีนาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน) สามารถเก็บขยะพลาสติกประเภท PET สามารถสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนได้มากกว่า 22 ล้านบาท จากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูป (Upcycled Products) ทำให้ขยะไม่เป็นขยะอีกต่อไป และยังสร้างรายได้ในส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากโครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ เช่น การซื้อขยะจากชุมชน และร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่อีกด้วย

โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand นี้ถือเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืนและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทยให้สวยงามได้ตลอดไป นับเป็นผลสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจที่ GC สามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกให้มีคุณค่า มีความหมาย 

อีกทั้งยังเป็นองค์กรต้นแบบในการปลุกกระแสสังคมให้หันมารักษ์ทะเล สร้างการรับรู้ เข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน จนสามารถนำร่องผลักดันโครงการให้ก้าวสู่การดำเนินงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับแรกของโลก (BS 8001:2007) สำเร็จเป็นโครงการแรกของประเทศไทย

เพียงแค่ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของทุกทรัพยากรที่ใช้ เข้าใจว่าทรัพยากรที่เราใช้นั้น มีอย่างจำกัด ใช้แล้วหมดไป ลองนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการใช้อย่างประหยัด ใช้ซ้ำ แปรรูปเพิ่มมูลค่าให้น่าใช้ หมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ รู้จักการแยกทิ้ง และกำจัดอย่างถูกวิธี เพียงเท่านี้ ทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้

GC เชื่อมั่นว่า พลาสติกเองไม่ใช่ปัญหา แต่อยู่ที่การจัดการ เมื่อจัดการขยะพลาสติกได้แบบครบวงจร และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ไปจนถึงปลายทาง ขยะก็ไม่ใช่ตัวสร้างตัวปัญหาขยะอีกต่อไป

#GCCircularLiving

#ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img