วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกHighlightเปิดแผนดูแลโควิด 1 ต.ค. ประกาศพื้นที่ระบาดเป็นจุด ย้ำรักษาฟรีตามสิทธิ์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดแผนดูแลโควิด 1 ต.ค. ประกาศพื้นที่ระบาดเป็นจุด ย้ำรักษาฟรีตามสิทธิ์

สธ.เตรียมพร้อมแผนดูแลโควิด หลัง 1 ต.ค. เน้นตรวจจับในรพ.-เฝ้าระวังกลุ่มก้อน ประกาศพื้นที่ระบาดเป็นจุด ให้กก.โรคติดต่อจว.ดูแล พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เฉพาะ แลเฝ้าระวังสายพันธุ์ เผย ปี 66 โควิดระบาดเป็นฤดูกาลเทียบไข้หวัดใหญ่ ย้ำการรักษาฟรีตามสิทธิ์ ชงแนวทางรักษาใหม่เข้า EOC 28 ต.ค.นี้

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข นำทีมผู้บริหาร ประกอบด้วย นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดสธ.นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมกันแถลงข่าวเตรียมความพร้อม การป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข หลังยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน – ยุบ ศบค. ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย 2565 เป็นต้นไป

นายอนุทิน กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด – 19 ดีขึ้นจนเกือบเป็นปกติ ทั่งยุโรป แอฟริกา และเอเชียเริ่มดำเนินชีวิตและมีกิจกรรมต่างๆ อย่างปกติแล้ว ในส่วนของประเทศไทยก็สามารถบริหารจัดการได้ดี อัตราการป่วยเสียชีวิตลดลง ประชาชนมีภูมิคุ้มกันมากกว่า 92 % จากการฉีดวัคซีน กว่า 143 ล้านโดส ปัจจุบันการติดเชื้อตามธรรมชาติ ติดเชื้อเข้ารพ.ลดลง และส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง คนที่อาการรุนแรงคือกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ดังนั้นแผนการเพื่อรองรับโควิด – 19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 57 จากนี้จะเสนอเข้าครม.เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อ ทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ แต่ละลดมาตรการต่างๆ ลงไปบ้างเพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น และมีความมั่นใจในระบบสุขภาพ

”ยืนยันว่าการรักษายังดูแลฟรีตามสิทธิ ตามขั้นตอน ตามมาตรฐาน ตามดุลยพินิจของแพทย์เต็มที่ ยา วัคซีนก็พร้อม หากมีภาวะฉุกเฉินก็สามารถใช้สิทธิ์ยูเซ็ปเข้ารักษาสถานพยาบาลที่ไหนก็ได้ ทั้งนี้การฉีดวัคซีน 3 เข็มยังไม่เพียงพอ ขอให้ประชาชนมารับวัคซีนเข็ม 4 เป็นอย่างต่ำ ส่วนเข็ม 5 กรณีคนที่ต้องทำงานใกล้คนหมู่มาก ก็ขอให้มาฉีดได้

ด้าน นพ.สุระ กล่าวว่า ความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะสำนักงานปลัดสธ.มีรพ. 900 กว่าแห่ง รพ.สต.9 พันกว่าแห่ง บุคลากร 4 แสนกว่าคน กับขาลงของโรคดังนั้นคิดว่ามีความพร้อมเพียงพอ สำหรับสถานการณ์เตียงมีทั้งหมด 73,000 เตียงโดยประมาณ สามารถขยายได้ถึง 1.4 แสนเตียง ข้อมูล วันที่ 25 ก.ย.มีคนไข้นอนรพ. 4,802 คนคิดเป็น 6% ของเตียงทั้งหมด โดยกว่า 90% อาการไม่รุนแรง ส่วนเตียงผู้มีอาการระดับ 2.2 และ 2.3 มีประมาณ 10% ทั้งนี้มีคนใส่ท่อ 287 ราย ส่วนใหญ่อายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนเรื่องยาขณะที่มียาฟาวิพิราเวียร์ใช้ได้อีก 9 เดือน โมนูลพิราเวียร์ใช้ได้อีก 1 ปี และเรมดิซีเวียร์ใช้ได้อีก 8 เดือน หากสถานการณ์เป็นเช่นปัจจุบันไม่ต้องกังวลมีเตียงและยาเพียงพอ

นพ.โอภาส กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ทั้งผู้ป่วยเข้ารพ.และผู้อาการหนัก รวมถึงผู้เสียชีวิตแต่ต้องพยายามลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ปี 2566 คาดว่าการระบาดจะพบได้ 1-2 ครั้ง เป็นไปตามฤดูการคล้ายไข้หวัดใหญ่ สำหรับระบบที่วางไว้คือ 1.เฝ้าระวังผู้ป่วยในรพ. 2.เฝ้าระวังเป็นกลุ่มก้อน และมีทีมสอบสวนโรค และประกาศ พิจารณาเป็นโรคระบาดเฉพาะพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นคนควบคุม 3.เฝ้าระวังสถานที่เฉพาะ เช่น โรงเรียน สถานดูแลผู้สูงอายุ 4.เฝ้าระวังสายพันธุ์กลายพันธุ์ สำหรับวัคซีนมีในมือและในสัญญาซื้อ 42 ล้านโดส เพียงพอไป 6 เดือน แต่หากต้องใช้เพิ่มก็สามารถจัดหาได้ เบื้องต้นฉีดตามความสมัครใจ ปีละ 1-2 ครั้ง แต่สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง สำหรับการตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยทางเดินหายใจ ปฏิบัติการมาตรการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และเว้นระยะห่าง (DMHT) ส่วนประชาชนทั่วไปแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเข้าพื้นที่แออัด

นพ.ธเรศ กล่าวว่า สัปดาห์ที่แล้วมีการนัดหมายกองทุนที่เกี่ยวข้องมาหารือขอยืนยันว่าการรักษาอย่างเป็นการรักษาฟรีตามสิทธิ์ ครอบคลุมตั้งแต่การวินิจฉัย แลป ยากิน ยาฉีด โดยทั้ง 3 กองทุนได้เตรียมงบประมาณไว้รองรับแล้ว กรณีผู้ป่วยโควิดฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ์ UCEP PLUS สำหรับสถานพยาบาลชั่วคราวจะยุติทั้งหมดในสิ้นก.ย.นี้ แต่หากมีสถานการณ์อะไรก็ประกาศเปิดใหม่ได้ ส่วนแรงงานต่างด้าว กรณีมีประกันสุขภาพก็ให้ใช้สิทธิประกันฯ แต่หากไม่มีประกันฯ ก็จ่ายค่ารักษาเองตามระบบ

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางรักษาโควิดฉบับปรับปรุงล่าสุด ที่จะเสนอเข้า EOC ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ และเริ่มใช้ 1 ต.ค. เป็นต้นไป คือ หากติดเชื้อไม่มีอาการให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และปฏิบัติตามมาตรการ DMHT 5 วัน คนมีอาการแต่ไม่มีปัจจัยร่วมก็รักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตาม DMHT เคร่งครัด 5 วัน หากมีปัจจัยเสี่ยงแพทย์จะประเมินเป็นรายๆ ว่าจะแอดมิดหรือไม่ ส่วนเรื่องการให้ยา หากไม่มีอาการก็จะไม่ให้ยา หากอาการไม่รุนแรง ปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่แนะนำให้อะไร อาจจะพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรหรือฟาวิพิราเวีย แต่ถ้าให้จะต้องทำให้เร็วที่สุดภายใน 3-4 วัน หากอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง พิจารณาให้กินแพ็คโลวิดก่อน หากเข้าโรงพยาบาลก็ให้แรมดิซีเวียร์ ก่อนโมนูลพิราเวียร์ แต่กลุ่มนี้จะไม่ได้รับฟาวิพิราเวียร์ กรณีในเด็กต่ำกว่า 12 ปีให้ดูแลรักษาตามอาการทางอาการ หรืออาจให้ฟาวิพิราเวียร์ 5 วัน กรณีอายุเกิน 12 ปี อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงจะให้เรสดิซีเวียร์ 3 วันแรก หรือ ฟาวิพิราเวียร์ 5 วัน หรือแพคโลวิด 5 วัน หรือ ส่วนคนที่ปอดอักเสบจะให้เรมดิซีเวียร์ 5-10 วัน กรณีไม่มีปัญหาการกินยาหรือดูดซึมอาจฝห้ แพคโลวิด.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img